หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

พุทธศาสนาและหนทางพ้นทุกข์

บุญของการรักษาศีล
บุญของการรักษาศีลในชาตินี้ คือ ทำให้ผู้รักษาศีลมีความโชคดี ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จได้เร็ว หน้าที่การงานจะได้เลื่อนขั้นเร็ว เป็นที่รักใคร่เมตตาแก่ผู้พบเห็น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โรคน้อย หากผู้มีศีลนั้นได้ทำทานอย่างสม่ำเสมอก็จะได้รับผลบุญของทานเร็วกว่าปรกติ เช่น ปรกติเมื่อเราได้ทำทานแล้ว ผลของทานบางส่วนก็จะกลับมาในชาตินี้ โดยใช้เวลาประมาณสิบกว่าปี แต่ถ้ารักษาศีลด้วยแล้วจะทำให้ผลของทานกลับมาหาเราเร็วขึ้น คือ อาจแค่เพียง 5-6 ปี ก็เป็นได้ นอกจากนี้ เมื่อเกิดชาติหน้าก็มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ได้อีก และมีรูปร่างผิวพรรณดีเหมือนอย่างดาราที่มีรูปเป็นทรัพย์นั่นเอง

เอกุโปสถิกาเถรีอปทานที่ ๑
ผลของการรักษาอุโบสถศีล

ในพระนครพันธุมดี มีพระบรมกษัตริย์ทรงพระนามว่า พันธุมา ในวันเพ็ญท้าวเธอทรงรักษาอุโบสถศีล สมัยนั้น ดิฉันเป็นนางกุมภทาสี ในพระนครพันธุมดีนั้น เห็นเสนาพร้อมด้วยพระมหากษัตริย์ จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า แม้พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงละราชกิจมารักษาอุโบสถศีล กรรมนั้นต้องมีผลแน่นอน หมู่มหาชนจึงพากันเบิกบานใจ ดิฉันพิจารณาเห็นทุคติและความเป็นคนอยากไร้โดยแยบคาย ทำให้จิตใจร่าเริงแล้ว รักษาอุโบสถศีล
ดิฉันรักษาอุโบสถศีล ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น ดิฉันได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่บุญกรรมสร้างให้ดิฉันอย่างสวยงามในดาวดึงส์นั้น สูงโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วยเรือนยอดมีที่นั่งใหญ่โต ประดับแล้วอย่างดี นางอัปสรแสนนางต่างบำรุงบำเรอดิฉันอยู่ทุกเมื่อ ดิฉันงามเกินนางเทพอัปสรอื่นๆ ในกาลทั้งปวง
ดิฉันได้เป็นพระอัครมเหสีของท้าวสักรินทเทวราช ๖๔ พระองค์ ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์ ดิฉันเป็นผู้มีผิวพรรณปานดังทองคำ ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งหลาย ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐในที่ทุกสถาน นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
ดิฉันย่อมได้ยานช้าง ยานม้า และยานรถ แม้ทุกอย่างมากมาย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล ภาชนะสำเร็จด้วยทอง เงิน แก้วผลึก และแก้วปทุมราช ดิฉันได้ทุกอย่าง ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย และผ้าที่มีราคาสูงๆ ดิฉันก็ได้ทุกสิ่ง ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ ดิฉันได้ทุกอย่าง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
เครื่องหอมชนิดดี ดอกไม้ จุรณสำหรับลูบไล้ ดิฉันก็ได้ทุกประการ นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล เรือนยอดปราสาท มณฑป เรือนโล้น และถ้ำ ดิฉันก็ได้ถ้วนทุกสิ่ง นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
พอดิฉันอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ได้บรรลุอรหัตเมื่อยังไม่ทันจะถึงครึ่งเดือน ดิฉันมีอาสวะสิ้นไปหมดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ ดิฉันได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นดิฉันไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งอุโบสถศีล
ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.
ทราบว่า...ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


คำสมาทานศีลอุโบสถ
ศีลอุโบสถต้องกล่าวอธิษฐานรับมา
ขั้นตอนที่ ๑ กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์
(เบญจางคประดิษฐ์)
ขั้นตอนที่ ๒ บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา : .
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ : ( กราบ )
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม : ( กราบ )
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ : ( กราบ )
ขั้นตอนที่ ๓ อาราธนาศีลอุโบสถ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
( กรณีว่าคนเดียวให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง, เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ )
ขั้นตอนที่ ๔ นมัสการพระพุทธเจ้า ( นั่งพับเพียบ )
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ขั้นตอนที่ ๕ ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ขั้นตอนที่ ๖ สมาทานศีลอุโบสถ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะพรหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะคี ตะวาทิ ตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ทาระณะ-
มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ขั้นตอนที่ ๗ อธิษฐานรักษาศีลอุโบสถ
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ
รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
( ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการ ดังได้สมาทานมาแล้วนี้ จะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้
ทำลาย ตลอดวันหนึ่ง คืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้ )
ขั้นตอนที่ ๘ สรุปศีลอุโบสถ
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อัชเชกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะวะเสนะ
สาธุกัง รักขิตัพพานิ
รับ อามะภันเต รับ สาธุ
ขั้นตอนที่ ๙ กราบลาพระ
กราบพระพุทธ กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
www.palungjit.com
อานิสงส์ของการรักษาศีลอุโบสถเพียงครั้งเดียว
อานิสงส์ของศีล(ครูบาศีวิชัย)
กรรมวิบากและอานิสงส์ของศีล5

ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายซึ่งกาลนานเทอญ
สาธุ
พุทธศาสนาและหนทางพ้นทุกข์

อานิสงส์การทอดกฐินและการทอดผ้าป่า โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำผู้ถามการทอดผ้าป่า กับการทอดกฐิน อย่างไหนได้อานิสงส์มากกน้อยกว่ากันคะ.........?หลวงพ่อความจริงผ้าป่า กับกฐิน เป็น สังฆทาน ด้วยกันทั้งคู่นะ แต่ทว่าอานิสงส์โดยเฉพาะกฐิน ได้มากกว่าเพราะกฐินมีเวลาจำกัด จะทอดตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ แต่อานิสงส์ได้ทั้งสองฝ่าย คือผู้ทอดก็ได้ พระผู้รับก็ได้ พระผู้รับมีอำนาจคุ้มครองพระวินัยได้หลายสิกขาบท ทำให้สบายขึ้นการทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านเคยเทศน์คือ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมมุตตระ ท่านเคยเทศน์วาระหนึ่งสมัยที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็นมหาทุกขตะคำว่ามหาทุกขตะนี้จนมาก เป็นทาสของท่านคหบดี ท่านเอาเสื้อผ้าเก่า ๆ ของตนนำไปแลกกับด้ายหนึ่งกลุ่ม เข็มหนึ่งเล่ม เอามาร่วมในการทอดกฐินกับเจ้านาย เพื่อปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า การทอดกฐินครั้งหนึ่ง จะปรารถนาพุทธภูมิ ก็ได้ จะปรารถนาเป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอรหันต์ก็ได้ แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใดอานิสงส์จะให้ผลท่านผู้นั้นเมื่อตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดา แล้วลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ๕๐๐ ชาติเมื่อบุญน้อยลงมาจะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ เป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็น คหบดี ๕๐๐ ชาติ แต่คนที่ทอดผ้ากฐิน หรือว่าร่วมในการทอดผ้ากฐินครั้งหนึ่งก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันจะหมดก็ปรากฏว่าท่านเจ้าของทานไปนิพพานก่อนผ้าป่า ก็เป็นสังฆทาน แต่อานิสงส์จะน้อยไปนิดหนึ่งแต่ทั้งสองอย่างก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่เป็นสังฆทานเฉพาะกิจ กับสังฆทานไม่เฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าป่า ผู้ให้ก็ได้อานิสงส์ ผู้รับมีอานิสงส์แต่เพียงแค่ใช้ เป็นอันว่าทั้งสองอย่างนี้ถือว่าอานิสงส์การทอดกฐินมากกว่าผ้าป่า แต่ว่าการทอดกฐินปีหนึ่งครั้งเดียว ผ้าป่าทอดได้หลายครั้ง อานิสงส์ผ้าป่าย่อมได้มากกว่านะผู้ถามองค์กฐิน ที่แท้จริง เป็นอย่างไรคะ........?หลวงพ่อองค์กฐิน จริง ๆ คือผ้าไตร นอกนั้นเป็นบริวาร เวลา กรานกฐินจริง ๆ เรากรานได้แต่ผ้าการถวายก็ไม่ยาก เรามีผ้าจีวรผืนหนึ่งหรือว่าสบงผืนหนึ่ง หรือว่าสังฆาฏิผืนหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ จะถวายทั้งไตรก็ได้ ถวายมากก็ได้ ถวายน้อยก็ได้ อานิสงส์เหมือนกัน โดยเฉพาะที่วัดนี่ (วัดท่าซุง) จัดเป็นกฐินสามัคคี เป็นเจ้าภาพร่วมกันทุกคนได้อานิสงส์เท่ากันหมด

ร่วมทำบุญทอดกฐิน
ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ณ วัดสองพี่น้อง 18/08/2009
เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐิน วัดท่าซุง ปี 2552 (วัดหลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ)

แบ่งบุญ
ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์
ด้วยบุญบารมีที่ข้าพเจ้าสร้าง และด้วยอฐิษฐานบารมี
บุญอันใดที่ข้าพเจ้าได้เคยทำมาแล้วนี้ ตั้งแต่ชาติใดก็ตาม
ขอแบ่งให้กับทุกท่านที่ได้อ่านเมล์นี้ด้วยเทอญ
สาธุ
เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์วิชาคอมพิวเตอร์จัดได้ว่าเป็นวิชาการที่ค่อนข้างใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่น ๆ ที่ปรากฎในหลักสูตรการเรียนการสอนในแทบทุกระดับชั้น ดังนั้นวิชาคอมพิวเตอร์จึงเป็นวิชาที่ยังขาดกระบวนวิธีในการสอนเป็นการเฉพาะ ในขณะที่วิชาอื่น ๆ จะมีวิธีสอนเฉพาะของตนเอง เช่น วิธีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิธีการสอนวิชาภาษาไทย หรือวิธีการสอนวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีผู้พัฒนาทรัยากรช่วยสอนวิชาคอมพิวเตอร์ออกมามากมาย อาทิเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น แต่ถึงกระนั้น กระบวนการสอนที่เป็นวิธีการ (Activity) ก็ยังไม่ค่อยมีใครพัฒนาขึ้นมา จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสอนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะพบว่ามีเว็บเพจที่พูดถึงวิธีสอนวิชาคอมพิวเตอร์น้อยมาก ผู้เขียนจึงเห็นว่าพวกเรา(ครูสอนคอมพิวเตอร์) ทั้งหลายน่าจะมาช่วยกันนำเสนอแนวคิดและเทคนิควิธีสอนจากประสบการณ์ของตนเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งพัฒนาการในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยต่อไป
การสอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

1. การสอนวิชาเชิงทฤษฎีคอมพิวเตอร์ เช่น วิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์ วิชาระบบฐานข้อมูล หรือ วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
 2. การสอนวิชาการเขียนโปรแกรม เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ หรือการสร้างโปรแกรมด้วยเครื่องมือกึ่งสำเร็จรูป ( Middle Ware) ทั้งหลาย เช่น โปรแกรม Visual Basic , Delphi หรือAuthorware เป็นต้น 3. การสอนวิชาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น วิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ หรือวิชาการใช้โปรแกรมวาดและตบแต่งรูปภาพ เป็นต้น ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเทคนิควิธีสอนวิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่
3 โดยจะเน้นเฉพาะเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
จากการที่ผู้เขียนได้พิจารณาการสอนของตนเอง และเพื่อนครูด้วยกัน มักพบว่า ครูจะมีวิธีนำเข้าสู่บทเรียน (การเริ่มต้นฝึกใช้โปรแกรม) อยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

1. เริ่มสอนโดยการแนะนำให้นักเรียนรู้จักหน้าตาและเมนู รวมทั้งแนะนำเครื่องมือ (Toolbar) ต่าง ๆ บนโปรแกรมที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอให้ครบถ้วนก่อนแล้วจึงเริ่มต้นสอนขั้นต่อไป ซึ่งผู้เขียนขอเรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนแบบแนะนำ (Introduction method)
ส่วนวิธีที่ 2 คือ ครูเริ่มสอนโดยการให้ผู้เรียนลองพิมพ์ข้อความสั้น ๆ ซัก 1 ประโยค ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เรียนมักชอบพิมพ์ชื่อของตนเองก่อน แล้วจึงสอนให้ผู้เรียนลองใช้คำสั่งในเมนูและเครื่องมือในแถบเครื่องมือมาบูรณาการ ปรับแต่งข้อความที่ตนเองพิมพ์ลงไปให้สวยงามถูกใจ ผู้เขียนเรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนแบบสร้างผลผลิต (Production Method)
จากประสบการณ์การสอนของผู้เขียน พบว่าวิธีที่ 2 (Production Method) จะเป็นวิธีที่กระตุ้นและเร่งเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดีกว่าวิธีที่ 1 (Introduction Method) ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการสอนแบบสร้างผลผลิตนั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้และฝึกฝนในสิ่งที่มีความหมาย (Meaningfull Learning) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ข้อความที่อ่านออกมีความหมาย และสามารถใช้คำสั่งตบแต่งปรับปรุงข้อความนั้นได้ตามที่ต้องการเมื่อเริ่มหัดใช้โปรแกรม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยทางการศึกษาหลาย ๆ เรื่องที่กล่าวถึงวิธีสอนที่มีความหมาย จะได้ผลสัมฤทธิ์สูงกว่าวิธีสอนที่ไม่มีความหมาย และด้วยการถูกกระตุ้นอย่างมีความหมายเช่นนี้ จึงทำให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไปอีก ซึ่งทำให้ชั้นเรียนวิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ ส่วนวิธีนำเข้าสู่บทเรียนแบบแนะนำนั้น ผู้เขียนพบว่ามักจะทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย เนื่องจากต้องนั่งดูและฟังเฉย ๆ จนกว่าครูจะแนะนำส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมได้หมด นอกจากจะเป็นการเสียเวลาเปล่าแล้ว ยังทำให้ชั้นเรียนเกิดสภาวะเฉื่อยชา และบั่นทอนความสนใจของนักเรียนลงไปในที่สุด
เทคนิควิธีการสอนที่นำเสนอในบทความนี้ ผู้เขียนหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ครูคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย แต่เหนือสิ่งอื่นได้ ผู้เขียนคาดหวังไว้ว่า อยากเห็นครูคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ออกมามีส่วนร่วมใน การพัฒนางานคอมพิวเตอร์ศึกษาของไทย ให้เจริญรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถไต่ระดับขึ้นมาเป็นแถวหน้าของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกต่อไป…