หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ยกเลิกระบบซี

ยกเลิกระบบซี (C : Common Level)
เสี้ยวหนึ่งของการปฏิรูปราชการ (กวนน้ำให้ใส)วันก่อน "รัฐบาลขิงแก่" ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าประกอบด้วยบุคลากรที่ส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการ ระดับสูง หรือเรียกว่า "ขุนนางราชการ" เพิ่งจะมีมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติร่างกฎหมายที่จะมีผลเปลี่ยนแปลง รูปแบและวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ร่าง พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประเด็นที่ฮือฮากันก็คือ จะมีการยกเลิกระดับตำแหน่งที่เรียกว่า ซี ก่อนจะไปว่ากันถึงตรงนั้น ควรทราบเสียก่อนว่า การจัดระบบระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น มี พัฒนาการมาอย่างไร ระบบราชการไทย มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ หลังจากที่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงวางรากฐานระบบราชการ ให้มีความทันสมัย มีกฎหมายรองรับ โดยในปี พ.ศ. 2471 มีการจัดระบบระเบียบของข้าราชการที่ให้ยึดหลัก ความรู้ความสามารถ ความเสมอภาค และความเป็นกลางของข้าราชการ ต่อมา ในปี พ.ศ.2497 ได้นำ "ระบบชั้นยศ" มาใช้ ประกอบด้วย ชั้นจัตวา ตรี โท เอก ขึ้นไปจนชั้น พิเศษ โดยจะติด "ยศ" ไว้กับตัวข้าราชการและมอบหมายให้ทำหน้าที่ตามดำรงตำแหน่งนั้น ในภายหลัง ปี พ.ศ.2518 ถึงได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยนำ "ระบบจำแนกตำแหน่ง"(Position Classification System) มา ใช้ ภายใต้หลักการ "ใช้คนให้ตรงกับงาน" และ "งานเท่ากันเงินเท่ากัน" หรือ Put The Right Man On The Right Job และ Equal Pay For Equal Work แล้วจึงมีการจัดโครงสร้างของตำแหน่งตามระดับมาตรฐาน กลาง (Common Level) เป็น ๑๑ ระดับ ซึ่งนิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า " ซี " ซี 1 คือข้าราชการพลเรือนระดับต้น ไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง ซี 11 คือข้าราชการระดับสูงสุด ระดับ ปลัดประทรวง เป็นต้น ดังนี้แล้ว หากจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในสมัยนี้ ก็น่าจะต้องทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ ดีกว่าเดิม โดยควรจะมุ่งเน้นในด้านคุณธรรม คุณภาพของงาน ความรู้ความสามารถ โอกาสก้าวหน้าทางการ งาน การกระจายอำนาจ และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของข้าราชการ อย่าลืมว่า การยกเลิกระบบซี เพื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดระบบ บริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนเท่านั้น และการจัดระบบบริหารงานข้าราชการ ก็เป็นเพียง ส่วนหนึ่งของการปฏิรูปราชการเท่านั้น 1) การยกเลิกระบบ ซี ในครั้งนี้ เป็นเพียงการปรับปรุงระบบ ประเภทตำแหน่ง และค่าตอบแทนของ ข้าราชการ โดยจัดทำมาตรฐานกำหนดระดับตำแหน่ง แยกตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง ซึ่งกำหนดไว้ 4 ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป ซึ่งแต่ละประเภทจะมีระดับตำแหน่งที่ แยกออกจากกันอีกที กล่าวคือ ตำแหน่งประเภทบริหาร และประเภทอำนวยการ จะแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น และ ระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการ จะแบ่งย่อยเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับ ชำนาญการพิเศษ ระดับผู้เชี่ยวชาญ และระดับผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนตำแหน่งประเภททั่วไป จะแบ่งย่อยเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับ อาวุโส และระดับทักษะพิเศษ พูดง่ายๆ ว่า ยังคงมีระดับขั้นอยู่ แต่น้อยขั้นลงกว่าเดิม การกำหนดประเภทของตำแหน่งและระดับตำแหน่งแบบใหม่นี้ คาดหวังว่า จะส่งผลให้ ข้าราชการสามารถก้าวหน้าในระดับสูงขึ้นไปได้ง่ายในสายงานของตน โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนข้าม ประเภท ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าราชการในลักษณะที่ว่า ยิ่งทำ ยิ่งเก่ง และเมื่อเก่งแล้ว มี ตำแหน่งมารองรับในสายงานของตน ประเด็นนี้ จะเป็นจริงได้แค่ไหน หรือเป็นจริงแล้วจะเป็นผลดีหรือไม่ ก็ยังน่าถกเถียงกันอยู่ เพราะในขณะที่มีข้อดีตรงทำให้ข้าราชการได้พัฒนาความสามารถในประเภทงานของตน โดย ไม่ต้องเสียสมาธิ หรือวอกแวกไปกับงานประเภทอื่น ซึ่งย่อมจะเพิ่มความชำนาญในประเภทงานของ ตน เกิดการพัฒนาในทางวิชาชีพของตนยิ่งขึ้น เรียกว่า "รู้ลึก" ก็จริง ส่วนจะ "รู้รอบ" หรือไม่ และจะมีผลเสียอย่างไร ก็ต้องคิดกันดู 2) เรื่องค่าตอบแทนของข้าราชการ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดค่าตอบแทนตามบัญชีเงินเดือนเดียวกันทุก ประเภทกลุ่มงาน ตั้งแต่ ซี 1 - ซี 11 ทำให้ไม่มีความยืดหยุ่นในการบริหารกำลังคน และยังเน้นคุณวุฒิ การศึกษาและความอาวุโส มากกว่าขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ปัญหานี้ ต้องนับว่าเป็นจุดอ่อนร้ายแรง ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการ ทำงานของข้าราชการ ทำลายไฟในการทำงานของคนรุ่นใหม่ และยังนำไปสู่ภาวะสมองไหลออกจาก ระบบราชการ ในร่างกฎหมายใหม่ ได้กำหนดบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งไว้หลากหลาย แตกต่าง กันตามประเภทตำแหน่งและระดับ ซึ่งโดยรวมกล่าวได้ว่า ข้าราชการทั้งระบบ จะได้เงินเดือนสูงขึ้น น่าสังเกตว่า เงินเดือนในระดับสูงสุดของตำแหน่งงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่ง ประเภทบริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป จะระดับเงินเดือนที่ไม่ต่างกันมากนัก คือ 63,920 บาท 57,470 บาท 61,860 บาท และ 57,470 บาท ตามลำดับ สะท้อนว่า ต้องการสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการสามารถเติบโตในประเภทตำแหน่งงานของ ตน โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนประเภทตำแหน่งงาน
3) ในร่างกฎหมายฉบับนี้ จะมีการกระจายอำนาจการบริหารบุคคล การสรรหา การบรรจุ และแต่งตั้ง ไปให้ปลัดกระทรวง และอธิบดี รับผิดชอบมากขึ้น พร้อมทั้งเปิดช่องให้มีการสรรหาใน "ระบบเปิด"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น