หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

7 กระบวนท่า ทำซะ ! ก่อน Google จะเมิน (เว็บ) คุณ

7 กระบวนท่า ทำซะ ! 
ก่อน Google จะเมิน (เว็บ) คุณ

บางท่านอาจสงสัย ไหงเราถึงให้แค่ 7 กระบวนท่า ทั้งที่วิธีการทำ SEO มีตั้งมากมายหลายกระบุง เอ๊ะ! มันจะมั่วอ๊ะปล่าวหว่า ???
สำหรับข้อมูลที่เรานำเสนอจากนี้ไปจะเป็นการค้นคว้า ปฏิบัติ ขอยืมจากเว็บที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการทำ Search Engine Optimization ทั้งไทยและเทศ และตัวผู้เขียนเองก็ลงมือทำเอง
มานานแล้ว ก็เห็นว่าได้ผล จึงทำการ สรุป
เป็นกระบวนยุทธ์ที่เข้าใจได้ไม่ยากมอบให้สำหรับมือใหม่ ในการโปรโมทเว็บโดยเฉพาะ แต่มือโปรฯ จะอ่านก็ไม่ว่าอะไร
สำหรับชื่อกระบวนท่าทั้ง 7 นี้จะประกอบด้วย
    • กระบวนท่าที่ 1 : 
    • รู้เขา รู้เรา รบมิรู้พ่าย
    •  (website Analysis and SEO Plan)
    • จะว่าด้วยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์เว็บไซต์ทั้งของเราและของคู่แข่ง รวมทั้งวางแผนด้านการทำ organic search optimization สำหรับ Google เพื่อไม่ให้ตกอันดับในหน้าแรกของผลการค้นหา

    • กระบวนท่าที่ 2 :
    •  เลือก Keyword ผิดคิดจนตัวตาย(Keyword Selection)
    • จะว่าด้วยเรื่องการเลือก keyword ซึ่งจะช่วยให้ท่านเลือก keyword ที่จะใช้ทำ SEO ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

    • กระบวนท่าที่ 3 : 
    • หน้าตาแบบนี้หนูชอบ(On-page Optimization: copywriting & web design)
    • บอกเล่าถึง เนื้อหาบนเว็บและหน้าตาของเว็บเพจที่ google ชอบและไม่ชอบ เหมือนกับสุภาษิตที่ว่า "คบคนให้ดูหน้า ล่าตำแหน่งให้ดูเนื้อ(หา)" จะปรับแต่งเว็บทั้งทีก็ให้ต้องใจหนู Google เค้าหน่อย 

    • กระบวนท่าที่ 4 : คบเพื่อนดีไว้ไม่เสียหลาย (Off-page Optimization หรือ Link Building)
    • ว่าด้วยเรื่องคบเว็บพันธมิตร เพื่อเพิ่ม link popularity ที่มีความสำคัญต่อการติดอันดับของเว็บคุณอย่างมาก

    • กระบวนท่าที่ 5 :
    •  โกงเค้าเราเจ็บเอง
    •  (SEO Spamming Avoidance) 
    • หากคุณคิดจะใช้วิชามารทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจเพื่อให้ติดอันดับ ลองพิจารณากระบวนท่านี้ดูหน่อยเป็นไง เพราะวิชามารที่คุณทำ อาจทำให้คุณกระอัก ธาตุไฟเข้าแทรก บางที อาจต้องรักษาเป็นเดือน ๆ ๆ ๆ..

    • กระบวนท่าที่ 6 :
    •  ติดแล้วต้องหมั่น track
    •  (tracking your website) 
    • ลงทุนฝึกวิชาทั้งที ก็ต้องการเห็นผลลัพท์ว่าให้คนเข้าเว็บเรามากขึ้น รู้จักเว็บเรามากขึ้น ใช่จะทำแล้วทิ้ง กระบวนนี้จะสรุปวิธีการเช็คว่า ทำไปแล้วผลดีไม่ดี 
    • ได้ผลตามต้องการมั้ย 
    • มีคนเข้าเว็บมากขึ้นมั้ย

    • กระบวนท่าที่ 7 :
    •  หมั่นคอย ดูแล และรักษาอันดับ
    • (Maintain ranking)
    • ทุกวินาที มีเว็บไซต์มากมายอยากเป็นเจ้ายุทธภพเช่นคุณ เผลอนิดเดียว

    • คุณมีสิทธิตกบัลลังก์ได้


      • ฉะนั้น กระบวนท่านี้สมควรอ่านอย่างยิ่ง

5 วิธีถนอมธัมบ์ไดร์ฟสุดรัก

5 วิธีถนอมธัมบ์ไดร์ฟสุดรัก
ผมเพิ่งได้ธัมบ์ไดรฟ์ตัวใหม่มาใช้ครับ ด้วยความที่ความจุของมันตั้ง 16GB ผมจึงอยากจะรู้วิธีที่จะรักษามันไว้กับผมนานๆ ผมก็เลยนำบทความแนะนำวิธีดูแลธัมบ์ไดรฟ์ที่หาได้จากเว็บไซต์คอมพิวเตอร์ทูเดย์มาให้อ่านกัน

คอมพิวเตอร์ทูเดย์ระบุว่าภัยที่เกิดขึ้นกับธัมบ์ไดร์ฟโดยรวมๆคือ ธัมบ์ไดร์ฟสูญหาย ธัมบ์ไดร์ฟเสียหายเพราะโดนไวรัส การถูกดูข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อมูลในธัมบ์ไดร์ฟสูญหาย วิธีแก้ไขคือ

1. เก็บไว้ใกล้ตัว-ไม่ต้องกลัวหาย

นับวันธัมบ์ไดรฟ์จะมีขนาดเล็กลง หายง่ายมาก (ถูกขโมยก็ง่ายด้วย) มีไม่น้อยที่มักจะหลงลืมไว้ตามที่ต่างๆ เวลาหยิบออกมาวาง หรือแม้แต่ติดไปกับเครื่องคอมพ์ชาวบ้านเพราะลืมขอคืน บางคนชอบคล้องไว้กับกุญแจ ซึ่งเป็นของที่ชอบทำหายอันดับต้นๆ

วิธีน่าสนใจที่สุดคือ เลือกรุ่นที่มีสายคล้องคอไว้ แม้จะดูไม่สวยงามเท่าไร แต่มันลดโอกาสทำหาย และถูกขโมยได้เกือบ 100% อีกนิดนึง ควรเลือกรุ่นที่สายต่ออยู่กับตัวธัมบ์ไดรฟ์ หลีกเลี่ยงการเลือกใช้รุ่นที่สายคล้องคอผูกกับฝาครอบนะครับ

2. ระวังไวรัส

ต้องถือเป็นข้อควรระวังในการใช้งานธัมบ์ไดรฟ์อันดับต้นๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้วธัมบ์ไดรฟ์จะมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งนั่นหมายความว่า ไวรัสสามารถใช้ธัมบ์ไดรฟ์เป็นสื่อพาหะสำหรับการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเวลาใช้งานธัมบ์ไดรฟ์ คุณควรแน่ใจก่อนว่า เป็นการถ่ายโอนเฉพาะไฟล์ข้อมูลเท่านั้น (ไม่ได้ติดไวรัสมาด้วย)

ประเด็นที่สำคัญก็คือ ควรแน่ใจว่าคุณกำลังเชื่อมต่อธัมบ์ไดรฟ์กับคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ได้รับการอัพเดตสม่ำเสมอ และในกรณีที่คอมพ์ของคุณรันแอนตี้ไวรัส เวลาต่อกับธัมบ์ไดรฟ์ ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเครื่องคอมพ์จะสแกนธัมบ์ไดรฟ์ให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจธัมบ์ไดรฟ์ที่รับมา ก็ไม่ควรเชื่อมต่อเข้ากับคอมพ์ของคุณเด็ดขาด

3. เข้ารหัสข้อมูล เพื่อรักษาความลับ

ถ้าหากธัมบ์ไดรฟ์ของคุณหาย นั่นหมายความข้อมูลของคุณตกไปอยู่ในมือของผู้ที่พบมันด้วย และถ้าหากคนผู้นั้นบังเอิญเป็นคู่แข่งคุณโดยตรง อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณใช้ธัมบ์ไดรฟ์เก็บข้อมูลสำคัญ การเข้ารัหสข้อมูลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้

การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) จะทำให้ข้อมูลเปิดอ่านไม่รู้เรื่องจนกว่าจะได้รับพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง ซึ่งควรเลือกเข้ารหัสที่ระดับ 128 บิต เพื่อความปลอดภัย ธัมบ์ไดรฟ์รุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อมกับคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลมาด้วย แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจนะครับว่า ซอฟต์แวร์ที่ให้มาไม่ใช่รุ่นทดลอง เพราะไม่เช่นนั้น คุณอาจจะต้องจ่ายตังค์ค่าซอฟต์แวร์ในภายหลัง

4. สำรองข้อมูลให้เป็นนิสัย

ไม่ปฏิเสธครับว่า เวลาธัมบ์ไดรฟ์หาย เราคงรู้สึกไม่ดีแน่นอน แม้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นจะได้รับการปกป้องด้วยการเข้ารหัสไว้แล้วก็ตาม แหม...ก็มันต้องเสียเงินอีกแล้วน่ะสิ แต่มันคงรู้สึกเจ็บใจเป็นสองเท่า หากข้อมูลที่อยู่ในนั้นเราไม่เคยได้ทำแบคอัพสำรองเอาไว้เลย

ดังนั้น วิธีที่สุดคือ แนะนำให้คุณสำรองธัมบ์ไดรฟ์ไว้สักสองสามก็อปปี้ เพราะนอกจากพวกมันจะหายง่ายแล้ว ยังเสียง่ายอีกด้วย เนื่องจากธัมบ์ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะใช้กรอบเป็นพลาสติก ซึ่งแตกหักได้ง่าย

ผมเองขอแถมข้อที่ 5 ไว้อีกข้อนะครับ เป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการถอดธัมบ์ไดร์ฟออกจากเครื่องอย่างถูกต้อง

เรื่องของเรื่องคือ ก่อนที่คุณจะดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากพอร์ตยูเอสบีบนคอมพิวเตอร์ ให้คุณปิดโปรแกรมทุกตัวที่มีการเข้าถึงไฟล์ต่างๆบนธัมบ์ไดรฟ์เสียก่อน จากนั้นคลิกไอคอน Safely Remove Hardware (ที่มีลูกศรสีเขียวปรากฎอยู่ในมุมล่างขวาบนทาสก์บาร์) แล้วคลิกเลือกธัมบ์ไดรฟ์ที่ปรากฏอยู่ในรายการ

เมื่อคลิกเลือกยูเอสบีไดรฟ์ที่ต้องการเอาออกแล้ว (รูปบน) จะได้รับข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Safe To Remove Hardware” (รูปล่าง) แปลว่า สามารถดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากระบบได้อย่างปลอดภัย

หลายเสียงยืนยันครับว่า หากถอดธัมบ์ไดร์ฟจากเครื่องปุบปับโดยไม่มีการทำตามขั้นตอนนี้ ธัมบ์ไดร์ฟเจ๊งมานักต่อนักแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบปลายภาค ปวส ปี1

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553
ปวส.1
ข้อสอบ โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์

1. ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อใด
ก. ตัวเลข                   ข. สิ่งที่นำมาใช้ในการคำนวณ
ค. สิ่งที่ไม่ได้นำมาใช้ในการคำนวณ
ง. ข้อ ข และ ค ถูก

2.ข้อใดถูกต้อง
ก. ข้อมูลเหมือนกับสารสนเทศ
ข. ข้อมูลไม่เหมือนกับสารสนเทศ
ค. ข้อมูลไม่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
ง. ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศ

3.สารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก. ข้อมูลความรู้ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว
ข. ข้อมูลคะแนน
ค. ข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์
ง. ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง

4. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของสารสนเทศ
ก. ความถูกต้อง            ข. ความรวดเร็ว
ค. ความสมบูรณ์         ง. ถูกทุกข้อ
5. ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันที่ใด
ก. ความเป็นจริงของข้อมูล           ข. สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ค. มีการรับรองข้อมูลที่ถูกต้อง     ง. มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

6. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของสารสนเทศ
ก. ข้อมูล ตัวเลข เสียง และภาพ      ข. เครื่องคิดเลข
ค. การจัดเก็บ บันทึกข้อมูล             ง. คอมพิวเตอร์

7. ข้อใดเป็นประโยชน์สารสนเทศที่สำคัญที่สุด
ก. คุ้มค่า หาง่าย สะดวก              ข. สีสันสวยงาม เรียบร้อย
ค. ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน  ง. เป็นสัญลักษณ์และเป็นรหัสสั้น ๆ

8. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือข้อใด
ก. การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ      ข. การจัดหาข้อมูล
ค. การประมวลผลข้อมูล         ง. การเพิ่มข้อมูลตามต้องการ

9. ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลสารสนเทศ
ก. เครื่องคอมพิวเตอร์              ข. รายงานพยากรณ์อากาศ
ค. สถิตินักเรียนประจำวันของโรงเรียน
ง. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน


10. การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีกี่ขั้นตอน
ก. 3       ข. 4       ค. 5           ง. 6

11. อุปกรณ์ใดอยู่ในขั้นตอนของ Output
ก. สแกนเนอร์         ข. จอภาพ
ค. เมาส์                   ง. แป้นพิมพ์

12. ขั้นตอนใดที่ถือเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์
ก. ประมวลผล          ข. นำเสนอผลลัพธ์
ค. เก็บข้อมูล             ง. รับคำสั่ง

13. ถ้าขาดส่วนใด คอมพิวเตอร์จะทำงาน ไม่ได้
ก. หน่วยประมวลผล             ข. หน่วยนำเสนอผลลัพธ์
ค. หน่วยรับข้อมูล                  ง. ถูกทุกข้อ

14. ส่วนประกอบใดไม่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตัว
ก. CPU                     ข. Printer
ค. Sound Card         ง. Driver

15. ส่วนประกอบใดที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้ส่งตามสายโทรศัพท์
ก. เมาส์                     ข. เครื่องพิมพ์
ค. สแกนเนอร์            ง. โมเด็ม

16. หน้าที่ของสแกนเนอร์ คืออะไร
ก. แปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ส่งไปตามสายโทรศัพท์
ข. แสดงผลข้อมูลออกทางกระดาษ
ค. นำเข้าข้อมูลประเภทรูปภาพเข้าไปในเครื่อง
ง. พิมพ์คำสั่งหรือป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

17. จอภาพ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. ดิสเพลย์           ข. สกรีน
ค. มอนิเตอร์        ง. ถูกทุกข้อ

18. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดจัดเป็นหัวใจของเครื่อง
ก. Monitor       ข. CPU         ค. Keyboard            ง. Mouse

19. ข้อใดให้คำจัดความของฮาร์ดแวร์ได้สมบูรณ์ที่สุด
ก. หน่วยรับข้อมูล         ข. ตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง
ค. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้
ง. อุปกรณ์ทุกชนิดที่อยู่ในกล่องคอมพิวเตอร์

20. หน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลางคืออะไร
ก. เป็นหน่วยความจำหลัก
         ข. เป็นหน่วยแสดงผลข้อมูล
ค. เป็นหน่วยสั่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
ง. เป็นหน่วยนำเข้าข้อมูล


21. ข้อใดไม่ใช่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software)
ก. Dos        ข. Lotus       ค. Unix           ง. Window 98

22. ข้อดีของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวเครื่องแบบแนวนอนคืออะไร
ก. ประหยัดเนื้อที่             ข. สะดวกในการเคลื่อนย้าย
ค. ราคาประหยัด              ง. ตัดพ่วงได้สะดวก
23. ข้อจำกัดสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาคืออะไร
ก. มีขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับกับการพกพา
ข. ไม่ค่อยมีการรับประกันคุณภาพจากผู้ผลิต
ค. ราคายังสูงกว่าปกติอยู่มาก
ง. หาอุปกรณ์ซ่อมแซมและดูแลบำรุงได้ยาก
24. การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก. ราคา                    ข. ความคุ้มค่าในการใช้งาน
ค. ความถูกใจ           ง. ความเหมาะสมกับงานที่ใช้
25. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่อะไร
ก. อ่านข้อมูลจากดิสเกตต์           ข. ประมวลผลข้อมูล
ค. อ่านข้อมูลจากซีดีรอม             ง. จำข้อมูลไว้ชั่วคราว
26. อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิดต้องวางอยู่อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง เราเรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่าอะไร
ก. ฮาร์ดไดร์ฟ                              ข. หน่วยประมวลผลกลาง
ค. ซ่อมเสียงอุปกรณ์เพิ่มเติม       ง. เมนบอร์ด
27. ถ้าต้องการจะนำเอาการ์ดเสียงมาใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องเพิ่มเข้าไปในส่วนใด
ก. การ์ดขยาย                  ข. ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม
ค. ช่องไดร์ฟ                   ง. ช่องซีดีรอมไดร์ฟ
28. RAM ย่อมาจากคำเต็มว่าอะไร
ก. Read Analog Memory           ข. Random Access Mainboard
ค. Random Access Memory       ง. Random Access Motion
29. ดีแรม คืออะไร
ก. การ์ดแสดงผลที่มีความจำชั่วคราว
    ข. การ์ดแสดงผลที่มีความจำถาวร
ค. การ์ดแสดงผลที่มีความเร็วต่ำ            ง. การ์ดแสดงผลที่มีความเร็วสูง
30. จอภาพแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2        ข. 3      ค. 4     ง. 5

ข้อสอบปลายภาค ปวส ปี2

ข้อสอบ
จงอธิบายความหมายต่อไปนี้
1. ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
2. ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ
3. สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ
4. ประเภทของการประกอบธุรกิจ
5.เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
6.ใครคือผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีในธุรกิจแต่ละประเภท
7. Joseph L. Massie ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า
8.หน้าที่และขั้นตอนของการจัดการทั่วไปประกอบด้วย
9.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง
10.ประเภทของการประกันภัย
11.สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) คืออะไรประกอบด้วยอะไรบ้าง
12.ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า ประกอบด้วยอะไรบ้าง
13.นักเรียนได้ความรู้อะไรจากวิชานี้บ้าง
14.นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปทำอะไรได้บ้าง

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่9

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับสภาวะแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ


1. ความหมายของสภาวะสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

สภาวะแวดล้อมขององค์การธุรกิจ (Organizational Environment) หมายถึงสิ่งที่ส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ สิ่งแวดล้อมอาจช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการประกอบธุรกิจ

ผู้บริหารองค์การจึงต้องมีการวางแผน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

2.ปัจจัยและประเภทของสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

ปัจจัยและประเภทของสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ แบ่งออกได้ ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลภายในองค์การธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารองค์การต้องควบคุมให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อธุรกิจ

สิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจ ประกอบด้วย

1.1 เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้น (Owners and Shareholders)การประกอบกิจการขนาดเล็ก เจ้าของกิจการ คือผู้ที่ลงทุน ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ เจ้าของกิจการจึงมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจเมื่อกิจการได้ขยายใหญ่ ขึ้นความต้องการให้การจัดหาทุนมีเพิ่มขึ้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดหาทุนโดยการออกจำหน่ายหุ้นบุคคลที่ซื้อหุ้นของบริษัท เรียกว่า ผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนจากบริษัทในรูปของเงินปันผล และผู้ถือหุ้นมีอำนาจในการเลือกคณะกรรมการเพื่อบริหารงานของบริษัท ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

1.2 คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงาน ได้แก่ ทำหน้าที่ในการวางแผน ตัดสินใจ และบริหารงานขององค์การธุรกิจ โดยคณะกรรมการ

บริหารอาจเป็นพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาขององค์การธุรกิจ เรียกว่า กรรมการบริหารภายใน (Inside Directors) หรืออาจเป็นคณะกรรมการที่ไม่ใช่เป็นพนักงานเต็มเวลาขององค์การธุรกิจ แต่ได้รับเลือกเข้ามาเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานขององค์การธุรกิจ เรียกว่า กรรมการบริหารภายนอก (Outside Directors)

1.3 พนักงานหรือลูกจ้าง (Employees) คือ กลุ่มบุคคลที่ผู้บริหารองค์การได้ทำการคัดเลือกมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์การเพื่อให้องค์การประสบผลสำเร็จดังเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งการปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้าง จะมีผลกระทบต่อลูกค้าขององค์การ โดยตรงถ้าการปฏิบัติงานของพนักงานก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้านั่นหมายถึงรายได้หรือผลกำไรต่อองค์การธุรกิจ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าลูกค้าไม่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การธุรกิจก็อาจประสความล้มเหลวได้ ดังนั้น พนักงานหรือลูกจ้างจึงเป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

1.4 วัฒนธรรมขององค์การ (Organizational Culture) คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สมาชิกในองค์การถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันวัฒนธรรมขององค์การจึงเป็นสิ่งที่ ผู้บริหารองค์การต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการวางแผน การบริหารงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในองค์การเป็นอย่างดี ถ้าวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าวัฒนธรรมขององค์การใดเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรือไม่มีประโยชน์ต่อองค์การผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้แก่องค์การเพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติ แล้วเกิดผลดี และดำรงอยู่กับองค์การต่อไป

2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลภายนอกต่อองค์การทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 สิ่งแวดล้อมทั่วไป (Feneral Environment) คือ สิ่งแวดล้อมทั่วไปภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การในระยะยาว ได้แก่

1) อิทธิพลด้านกฎหมายและการเมือง (Politicolegal Forces) คือ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ภาษีอากร นโยบายของรัฐบาลซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลในการกำหนดกิจกรรมขององค์การผู้บริหารองค์การจึงจำเป็นต้องติดตามและทำความเข้าใจกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อจะได้ดำเนินการธุรกิจได้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ เช่นรัฐบาลมีนโยบาลให้การสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงออกกฎหมายยกเว้นภาษีมูลค่าเพ่มสำหรับการขายผลผลิตทางการเกษตรเป็นต้น

2) อิทธิพลด้านเทคโนโลยี (Technological Forces) คือ ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการคิดค้นเพื่อให้กระบวนการผลิตสินค้า หรือบริการได้เปรียบคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันในปัจจุบันวิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารองค์การจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญศึกษาหาความรู้ในด้านนี้เพื่อจะได้นำมาพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจให้ก้าวหน้าทันสมัยยิ่งขึ้น เช่น การบันทึกบัญชี แต่เดิมใช้พนักงานทำหน้าที่ในการบันทึกบัญชี เริ่มตั้งแต่สมุดรายวันทั่วไป ผ่านรายการไปสมุดแยกประเภททั่วไป หายอดคงเหลือ ทำงบทดลอง แต่ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พนักงานสามารถบันทึกรายการค้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดทำงบทดลองหรืองบการเงินได้ทันที หรือแสดงยอดสินค้าคงเหลือได้โดยโปรแกรมสำเร็จรูปเทคโนโลยีเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ

3) อิทธิพลด้านเศรษฐกิจ (Economic Forces) ผู้บริหารองค์การจำเป็นต้องศึกษาและให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา รายได้ประชาชาติ อัตราดอกเบี้ย อัตราการว่างงาน แนวโน้มของผู้บริโภค เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ธุรกิจอสังหริมทรัพย์มียอดขายสูงเป็นอย่างมาก แต่ตั้งแต่กลางปี 2540 เศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะถดถอยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบความล้มเหลวเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจึงต้องชะลอการดำเนินธุรกิจประเภทนี้ไว้ก่อน

4) อิทธิพลด้านสังคมวัฒนธรรม (Sociocultural Forces) คือ ทัศนคติ ค่านิยมลักษณะด้านประชากร และความต้องการขั้นพื้นฐานของสังคมที่องค์การธุรกิจไปดำเนินการอยู่ผู้บริหารองค์การธุรกิจจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Needs) หรือความอยากได้ (Wants) ของสังคมนั้น เพราะทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมของสังคมเป็นส่งกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของประชาชนในสังคมนั้น การศึกษาในเรื่องนี้ประกอบด้วยเรื่องศาสนา เพศ อายุ จำนวนประชากร อัตราการเจริญเติบโตของประชากร

5) อิทธิพลระหว่างประเทศ (International Forces) คือ อิทธิพลจากบริษัทใหญ่ที่ อยู่ภายนอกประเทศ การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศหรือธุรกิจข้ามชาติ ควรคำนึงถึงคู่แข่งขันในประเทศนั้น และคู่แข่งขันระดับโลกซึ่งมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

2.2 ส่งแวดล้อมด้านการงาน (Task Environment) คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มี อิทธิพลโดยตรงต่อองค์การซึ่งทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้

1) ลูกค้า (Customers) เป็นสิ่งแวดล้อมด้านการงานที่สำคัญ เพราะลูกค้าขององค์การธุรกิจเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการมีผลโดยตรงที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวผู้บริหารองค์การธุรกิจจึงมักกำหนดเป้าหมายของธุรกิจ โดยการสร้างและรักษาลูกค้าคือต้องศึกษาและทำการวิจัยลูกค้าท้งในด้านพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า ซึ่งองค์การธุรกิจสามารถได้รับข้อมูลจากลูกค้าได้หลายทาง เช่น ได้ รับข้อมูลจากลูกค้า ผ่านพนักงานขององค์การธุรกิจ ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งไปให้ลูกค้าหรือได้รับข้อมูลจากการทำวิจัยธุรกิจ

2) คู่แข่งขัน (Competitors) คือ องค์การธุรกิจอื่นที่ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับองค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องศึกษาและติดตามการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของคู่แข่งขันตลอดเวลา เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางตลาด หรือลูกค้าของธุรกิจไว้ โดยสิ่งที่ต้องติดตามและศึกษา ได้แก่ กลยุทธ์ที่คู่แข่งขันใช้ในการดำเนินการ เช่น การให้บริการแก่ลูกค้า การตั้งราคาสินค้าหรือบริการการส่งเสริมการขาย วิธีที่สามารถรวบรวมข้อมูลของคู่แข่งขัน ได้แก่ การตรวจสอบจากรายงานประจำปีของคู่ แข่งขัน การโฆษณา การร่วมประชุมกับองค์การธุรกิจในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาองค์การธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้

3) ผู้จัดหา (Suppliers) คือ บุคคลหรือองค์การที่มีหน้าที่ในการจัดหาสิ่งจำเป็นต่าง ๆให้องค์การธุรกิจ ได้แก่

(1) จัดหาวัตถุดิบให้องค์การธุรกิจใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ วัตถุดิบเป็ส่งสำคัญในการผลิต ถ้าองค์การธุรกิจขาดวัตถุดิบหรือได้รับวัตถุดิบล่าช้า หรือได้รับวัตถุดิบคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตทำให้การผลิตหยุดชะงักหรือผลิตแล้วสินค้าที่ออกมาไม่ได้มาตรฐาน องค์การธุรกิจจึงต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อให้การดำเนินธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

(2) จัดหาแหล่งเงินทุน ในการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ แหล่งที่องค์การธุกิจสามารถจัดหาเงินทุนได้แก่ ผู้ถือหุ้น โดยการนำหุ้นมาจำหน่าย หรือกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินและผู้ร่วมลงทุน ในการจัดหาเงินทุนองค์การธุรกิจจะต้องคำนึงถึงต้นทุนของเงินทุน เช่น การนำหุ้นออกจำหน่าย

ต้นทุนของเงินทุน คือเงินปันผล การกู้ยืมต้นทุนของเงินทุนคือดอกเบี้ย ซึ่งองค์การธุรกิจจะต้องนำเงินที่จัดหาได้จากแหล่งเงินทุนไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มกับต้นทุนของเงินที่ลงทุนไป

(3) จัดหาทรัพยากรบุคคล แหล่งที่องค์การธุรกิจสามารถจัดหาทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บริษัทนายหน้าจัดหางาน สถาบันการศึกษา ตลาดแรงงานทั้งของเอกชนและรัฐบาลซึ่งทรัพยากรบุคคลที่องค์การธุรกิจจัดสรรหา จะต้องมีความรู้ ความชำนาญ ตรงกับความต้องการขององค์การธุรกิจ คือการจัดคนให้ตรงกับลักษณะของงาน

(4) จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การธุรกิจสามารถจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การธุรกิจจากนักวิจัยธุรกิจสถิติต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์

4) ผู้ออกกฎระเบียบ (Requlators) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหรือกลุ่มบุคคลผู้มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะที่มีอิทธิพลในการออกกฎระเบียบเพื่อให้องค์การธุรกิจดำเนินการภายใต้กฎระเบียบที่วางไว้ เช่น ในต่างประเทศบางประเทศมีอุตสาหกรรมการผลิตเอกันหนาวซึ่งทำจากขนสัตว์ ต่อมามีกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เกิดขึ้น และร่วมกันต่อต้านการทำขนสัตว์มาทำเสื้อกันหนาว ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือในประเทศไทยได้มีกลุ่มบุคคลและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมได้ก่อตั้งเป็นคณะกรรมการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว

(Board of Environment Promotion of Tourism Activities (BEPTA) ขึ้นและได้จัดทำโครงการใบไม้เขียว (Green Leaf Program) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งBEPTA จะมอบบัตรเกียรติคุณใบไม้เขียวให้แก่ธุรกิจที่ผ่านการตรวจสอบ

5) ตลาดแรงงาน เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านการงานขององค์การธุรกิจ เนื่องด้วยการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ มีความต้องการพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญตรงกับลักษณะงาน โดยการสรรหา คัดเลือก เมื่อบรรจุเข้าเป็นพนักงานขององค์การธุรกิจแล้ว องค์การธุรกิจจะต้องจัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเพื่อให้พนักงานมีความสุข ความสะดวกสบายในการทำงานมีการจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานและอยู่กับองค์การให้นานที่สุด



















3. สาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ เนื่องด้วยสาเหตุ 2 ประการคือ

1. สิ่งแวดล้อมมีความไม่แน่นอน เพราะสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางธุรกิจก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมแบบง่ายไม่ซับซ้อนแต่ธุรกิจบางประเภทก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อน เช่นธุรกิจคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ

2. ผู้บริหารองค์การและสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยที่ผู้บริหารองค์การเป็นผู้นำสิ่งแวดล้มมาเป็นทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ วัตถุดิบ เงินทุน ทรัพยากรมนุษย์ และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตการที่องค์การธุรกิจจะดำรงอยู่ได้ ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม



4. วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ

วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ มี 3 วิธี ดังนี้

1. การใช้อิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารองค์การใช้วิธีปรับปรุงการทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ได้แก่

1.1 การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ในปัจจุบันองค์การธุรกิจใช้การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีอิทธิพลต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรา ดังนั้น องค์การธุรกิจ

ใดที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ที่ประหยัดการใช้น้ำ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

1.2 กิจกรรมด้านการเมืองและกฎหมาย ผู้บริหารองค์การธุรกิจควรมีการรวมตัวกัน โดยอาจจัดตั้งเป็นชมรมหรือสมาคม เพื่อมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับหน่วยงานของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพราะในบางครั้งอาจมี

กฎระเบียบ ข้อบังคับที่มีผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินการขององค์การธุรกิจมากเกินไป สมาคมที่รวมตัวกันโดยผู้บริหารขององค์การธุรกิจ สามารถส่งตัวแทนไปเจรจาต่อรองได้

1.3 การร่วมค้า คือ การรวมตัวกันขององค์การะรกิจที่ดำเนินกิจการประเภทเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการใช้ความสามารถหรือเทคโนโลยีร่วมกัน ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเป็นการลดความกดดันจากคู่แข่งขัน

2. การปรับองค์การตามสิ่งแวดล้อม คือการที่ผู้บริหารองค์การดำเนินการปรับกิจกรรม และสภาพขององค์การ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ

2.1 การพยากรณ์ โดยผู้บริหารองค์การพยายามลดความไม่แน่นอนของสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพื่อให้ความเสี่ยงขององค์การธุรกิจลดลงซึ่งการพยากรณ์ผู้บริหารองค์การจะต้องทำการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลจาก

หลายด้าน ทั้งข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์การและข้อมูลปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งของคู่แข่งขัน และของภาครัฐบาลเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ

2.2 การปรับโครงสร้างขององค์การธุรกิจ โครงสร้างขององค์การ คือการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์การหรือสายบังคับบัญชาในองค์การ เมื่อสิ่งแวดล้อมขององค์การเปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างขององค์การก็ต้องมีการปรับ

ตัวเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการความลูกค้าหรือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์

2.3 การจัดเตรียมสำรองทรัพยากร ผู้บริหารงานองค์การธุรกิจจะต้องมีการจัดเตรียมสำรองทรัพยากรต่ง ๆ เอลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนทรัพยากรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการขาดแคลนทรัพยากรจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักการผลิต

หรือการดำเนินงานของธุรกิจได้ ทรัพยากรที่องค์การควรมีการจัดหาสำรองไว้ ได้แก่

เงินสด วัตถุดิบ สินค้าคงเหลือ แต่ในการจัดสำรองทรัพยากรนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือต้นทุนของเงินทุนด้วย เช่น การจัดสำรองวัตถุดิบ ถ้าสำรองไว้มากเกินไปความเสี่ยงในการขาดแคลนวัตถุดิบจะต่ำ แต่เงินที่ต้องใช้ในการจัดหาวัตถุดิบมาสำรอง

ไว้เป็นจำนวนมาก จะเกิดภาวะเงินทุนจนถ้าเงินทุนนั้นจัดหามาโดยการกู้ยืมต้นทุนของเงินทุนที่ต้องเสียคือดอกเบี้ยก็จะสูงตามไปด้วย จึงควรมีการวางแผนจัดหาสำรองทรัพยากรไว้ในจำนวนที่เหมาะสม

3. การเปลี่ยนแปลงขอบเขตขององค์การ คือ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากจนกระทั่งองค์การธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้บริหารองค์การธุรกิจอาจปรับเปลี่ยนโดยการเปลี่ยนการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสินค้าหรือบริการ

ใหม่ไม่เหมือนเดิมหรือย้ายองค์การธุรกิจไปจัดตั้งในสถานที่หรือประเทศอื่นเป็นการเปลี่ยนขอบเขตหรืออาณาจักรขององค์การธุรกิจการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบันนอกจากต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอกของธุรกิจดังที่ กล่าวมาแล้วนั้นธุรกิจยังต้องคำนึง "สิ่งแวดล้อม" ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้นคือ ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม (Environment Pollution) ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เพื่อให้การดำเนินการของธุรกิจก่อให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด



5. การจัดมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

อนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 คือ มาตรฐานสากลที่องค์การธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อจัดระบบการจัดการขององค์การธุรกิจให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดโดยการดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO 14000 โครงสร้างมาตรฐานของ

สิ่งแวดล้อมที่กำหนด 3 มาตรฐาน คือ

1. มาตรฐานระบบการบริหาร ประกอบด้วยอนุกรมมาตรฐาน 2 ส่วน คือ

1.1 ISO 14001 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.2 ISO 14004 เป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับหลักการและเทคนิค

มาตรฐานทั้ง 2 ประเภท เป็นมาตรฐานที่ควมคุมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ ในด้านการวางแผน การดำเนินการและการปรับปรุงแก้ไข

2. มาตรฐานการตรวจสอบและการวัดผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 มาตรฐานการตรวจสอบ มีอนุกรมมาตรฐานดังนี้

1) ISO 14010 เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการตรวจสอบ

2) ISO 14011 เป็นการกำหนดวิธีการในการตรวจสอบและการวัดผล

3) ISO 14012 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ทำการตรวจประเมินผล

2.2 มาตรฐานการวัดผลในการปฏิบัติการควบคุมมลพิษมีอนุกรมมาตรฐานคือ ISO 14031 เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการวัดผล การปฏิบัติและการควบคุมมลพิษ

3. มาตรฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

3.1 มาตรฐานฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม ฉลากมาตรฐานที่ประเทศไทยใช้และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ฉลากเบอร์ 5 สำหรับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ ฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษ มีอนุกรมมาตรฐาน ดังนี้

1) ISO 14020 เป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

2) ISO 14021 เป็นนิยามฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมที่องค์การธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการผลิตรับรองตนเอง

3) ISO 14022 เป็นมาตรฐานสำหรรับฉลากหรือสัญลักษณ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่องค์การธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการผลิตใช้รับรองตนเอง



4) ISO 14023 เป็นข้อกำหนดที่ผู้ผลิตต้องติดไว้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและการรับรองฉลากผลิตภัณฑ์ที่หน่วยงานเป็นผู้รับรอง

5) ISO 14024 เป็นหลักการ ข้อกำหนด วิธีปฏิบัติและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานเป็นผู้รับรอง

3.2 มาตรฐานการประเมินวงจรวิธีของผลิตภัณฑ์ เป็นมาตรฐานการประเมินผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบในการผลิตจนกระทั่งผลิตภัณฑ์นั้นเลิกใช้ ว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร มีอนุกรมมาตรฐาน ดังนี้

1) ISO 1404 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบกำหนดเพื่อใช้ในการดำเนินการ

2) ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์

3) ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

4) ISO 14043 เป็นการแปลผลที่ได้จากการประเมินผลข้อมูล สำหรับมาตรฐานที่ใช้ในการให้ประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์การธุรกิจ คือ ISO 14001



6. หลักการในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วยหลักการ 5 ประการ ได้แก่

1. กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดนโยบายดังกล่าว เพื่อเป็นทิศทางในการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งนโยบายนี้กำหนดโดยผู้บริหารองค์การการจัดทำนโยบายต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงความมุ่งมั่น

ต่อการป้องกันมลพิษการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง การจัดการกรอบสำหรรับการดำเนินงาน นโยบายนี้จะต้องให้พนักงานทุกคนขององค์การทราบ และมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน และนำไปปฏิบัติจริง

2. การวางแผนงาน เพื่อให้นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสัมฤทธิ์ผล ประกอบด้วยการกำหนดลักษณะปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการกำหนดกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำองค์การธุรกิจเข้าสู่อนุกรมมาตรฐาน

ISO 14000 กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดวัตถุประสงค์ ด้านสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน มีเป้าหมายที่สามารถประเมินผลได้ กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจัดสิ่งแวดล้อม

3. การนำแผนงานไปปฏิบัติ โดยกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลที่จะมาดำเนินการโดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบ จัดการฝึกอบรมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีจิตสำนึกถึงความสำคัญของ

สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ จัดระบบการควบคุมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องวางแผนกรณีฉุกเฉินจากการปฏิบัติการ

4. การตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ในการนำแผนงานไปปฏิบัติ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องคอยติดตามการปฏิบัติงานที่เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวัดผลการปฏิบัติในส่วนนั้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

5. การทบทวนการจัดการ ผู้บริหารองค์การจะต้องทบทวนเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพดีที่สุด









7. ประโยชน์ที่องค์การธุรกิจได้รับจากการจัดการสิ่งแวดล้อม

การที่องค์การธุรกิจได้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมตามอนุกรมมาตรฐานISO 14000 นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าองค์การธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่องค์การธุรกิจไปดำเนินการอยู่แล้ว ประโยชน์ที่องค์การธุรกิจได้รับนอกเหนือจาก

นี้อีกคือ

1. ประโยชน์ทางการค้า องค์การธุรกิจที่ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแลด้อม (ISO 14001) จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกไปสู่ตลาดโลกได้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับ

ของประชาคมโลกทำให้เกิดตลาดใหม่ได้

2. สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การธุรกิจ การที่นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ทำให้ลูกค้า ประชาชน หน่วยงานรัฐบาล ให้การยอมรับองค์การธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

3. ประหยัดต้นทุนในระยะยาว ในการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ในระยะแรก อาจต้องมีการลงทุนเพื่อให้ระบบดำเนินไปอย่างมีขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการของเสียเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ แต่ในระยะยาวองค์การธุรกิจจะเกิดการประหยัดในส่วนดังกล่าว คือ ไม่ต้องนำของเสียที่ไม่ได้ใช้ไปกำจัด และประหยัดการซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น



8. ผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตบางประเภท ก่อให้เกิดก๊าซบางชนิดที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)ก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะหรือกระจกหรือก๊าซเรือนกระจกมีดังนี้

1. ก๊าซมีเทน (Metane) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากการเน่าเปื่อยของพืช หรือจากมูลสัตว์

2. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในการใช้ยานพาหนะ หรือการใช้เครื่องจักรในกิจการประเภทอุตสาหกรรม

3. ก๊าซโอโซน (Ozone) เป็นก๊าซที่อยู่ในบรรยากาศของโลก โอโซนในบรรยากาศชั้นล่างจะดูดความร้อนจากพื้นผิวโลก ทำให้เกิดความร้อน

4. สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) เป็นก๊าซที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสารที่ใช้ในอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความเย็น ไม่มีพิษ ไม่ติดไฟ แต่จะเป็นสารซึ่งดูดความร้อนได้ดี ทำให้ดูดความร้อนจากพื้นโลกเก็บสะสมไว้

5. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาป่าก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวข้างต้นจะดูดซับความร้อน และลอยขึ้นไปในบรรยากาศปกคลุมโลกทำให้บรรยากาศปกคลุมโลกทำให้บรรยากาศ

ของโลกร้อนขึ้น ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ เอลนิโญ (EI Nino) คือเกิดอากาศแปรปรวนสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง น้ำแข็งในขั้วโลกละลายทำให้น้ำท่วม อุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นทำให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก นอกจากเกิดปรากฎการณ์ เอลนีโนแล้ว ก๊าซเรือน

กระจกยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์ ลานินญา (La Nina) ในบริเวณตะวันออกของเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดอากาศเย็นกว่าปกติ และเกิดพายุฝนทำให้เกิดน้ำท่วมปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้จัดประชุม และได้จัดให้มีการร่วมกันเป็นสมาชิกในการทำอนุสัญญา เพื่อลดปรากฎการณ์เรือนกระจก โดยกลุ่มประเทศ

สมาชิกได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาต่าง ๆ ดังนี้

- ปี 2528 ได้มีการจัดทำอนุสัญญาที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันในการค้นคว้า วิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของชั้นโอโซน เรียกว่า อนุสัญญาเวียนนาเพื่อการปกป้องบรรยากาศชั้นโอโซน

- ปี 2530 ได้มีการประชุม เพื่อจำกัดปริมาณของการผลิตสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเพื่อใช้ในกิจการอุตสาหกรรม ณ ประเทศแคนนาดา

- ปี 2535 ได้มีการประชุมพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ และการตัดไม้ทำลายป่าที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น โดยมีการทำอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อให้ประเทศที่ลงนามสัตยาบันในอนุสัญญา ต้องจัดทำบัญชีแสดงการผลิต หรือการลดปริมาณ

ก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ระดับของก๊าซอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลก

- ปี 2540 ได้มีการประชุมพิจารณาเพื่อให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 5.2 % ภายใน ปี 2551 - 2555 ซึ่งได้มีการลงนามโดยประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศผู้นำ โดยมีการดำเนินการก่อน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

เพื่อเป็นแนวทางและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินงานให้แก่สมาชิกประเทศอื่น ๆ ต่อไปนอกจากองค์การธุรกิจจะต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อส่งแวดล้อมดังกล่าวแล้วองค์การธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเนื่องด้วยเพราะองค์การธุรกิจ

เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม และมีรายได้จากสมาชิกในสังคม



9. ทัศนะหรือแบบที่เกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์การธุรกิจเพื่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

ทัศนะหรือแบบที่เกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์การธุรกิจเพื่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม มี 2 แบบที่ตรงกันข้าม ดังนี้

1. ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบเศรษฐกิจ ผู้บริหารองค์การที่มีทัศนะแบบนี้จะมีความสนใจเชิงเศรษฐกิจ คือ มุ่งหวังให้ธุรกิจ ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นที่ ต้องการแก่ลูกค้าโดยหวังผลกำไร และรับผิดชอบต่อสังคมโดยการเสียภาษี สร้างงาน

ให้เกิดการจ้างงานซึ่งผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการจะได้รับผลประโชน์สูงสุด โดยการตัดสินใจอาศัยเกณฑ์ของตลาด ข้อมูลภายในองค์การ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบเศรษฐกิจสังคม ผู้บริหารองค์การที่มีทัศนะแบบนี้จะให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่มีต่อสังคมมิได้มุ่งหวังแต่เพียงกำไรเพียงอย่างเดียวโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิต ให้ความสนใจต่อสังคม และการอนุรักษ์ธรรมชาติ

องค์การธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการรับผิดชอบต่อสังคมได้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงขององค์การจะต้องให้การสนับสนุนในหลักการ หลังจากนั้นจึงมีการวางแผนโครงการเพื่อการปฏิบัติ และมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดไว้รวมทั้งมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อสังคมในด้านใด เช่น ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตความปลอดภัย ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์



10. สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ

สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สังคมภายในธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.1 เจ้าขององค์การธุรกิจ คือ ผู้ลงทุนในองค์การธุรกิจ คือ ผู้ลงทุนในองค์การธุรกิจ ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียวผู้ลงทุนคือเจ้าของกิจการ ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วน ผู้ลงทุนคือผู้เป็นหุ้นส่วน ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทบริษัทจำกัดผู้ลงทุนคือผู้ถือหุ้น การดำเนินธุรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลดังกล่าว โดยให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมไม่ว่าจะผลกำไร เงินปันผลเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจในการร่วมลงทุน

1.2 ผู้บริหารองค์การ ในกรณีองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าขององค์การธุรกิจมีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกมาบริหารองค์การ เจ้าขององค์การธุรกิจต้องรับผิดชอบบุคคลเหล่านี้ โดยให้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ให้ความมั่นคงในการ

ประกอบอาชีพ มีโอกาสก้าวหน้า

1.3 พนักงานองค์การธุรกิจจำเป็ต้องจ้างบุคคมาทำงานในการดำเนินงานขององค์การ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องให้ความรับผิดชอบต่อพนักงาน เรื่องเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการในการทำงาน ได้แก่ ความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การทำงานใน

โรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย อันอาจเกิดขึ้นได้การปฏิบัติงานเพื่อให้ พนักงานมีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมก่อให้เกิดความสะดวกสบายและมีความสุขในการทำงาน มีการจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการประกัน

ชีวิต จัดสวัสดิการด้านสันทนาการ ได้แก่การจัดงานรื่นเริงในวันเทศกาลต่าง ๆ เพื่อให้ พนักงานได้มีกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคี ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มพนักงานขององค์การ ให้บริการอาหารกลางวัน จัดให้บริการรถรับ-ส่งพนักงาน

2. สังคมภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ผู้บริโภค คือ กลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการขององค์การธุรกิจ บุคคลเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้องค์การธุรกิจประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวก็ได้องค์การธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคในเรื่องคุณภาพของสินค้า โดยเริ่มจากการสรรหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่นอุตสาหกรรมผลิตอาหารวัตถุดิบที่ใช้จะต้องสะอาด ไม่เจือสารที่มีพิษ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับผลร้ายจากการบริโภค นอกจากเรื่องของวัตถุดิบการบรรจุผลิตภัณฑ์ต้องให้ปริมาณของผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้บนฉลาก วัสดุที่ใช้ในการบรรจุต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของสังคม เช่น ไม่ใช้วัสดุประเภทโฟม หรือพลาสติกที่ยากต่อการทำลาย ไม่ใช้ วัสดุที่บรรจุผลิตภัณฑ์แล้วทำให้เกิดเสื่อมคุณภาพ ในการโฆษณาองค์การธุรกิจจะต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริงแก่ผู้บริโภค ไม่โฆษณาเกินความจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงความยุติธรรมต่อผู้บริโภค องค์การธุรกิจไม่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ในการตั้งราคาให้สูงทำให้ผู้บริโภคเกิดการเสียเปรียบ

2.2 หน่วยงานของรัฐ องค์การธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐในด้านที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับเพื่อให้องค์การธุรกิจปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น องค์การธุรกิจจึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การไม่หลีกเลี่ยงภาษีให้ความร่วมมือกับรัฐในด้านต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2.3 ทรัพยากรธรรมชาติ องค์การธุรกิจจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติไม่ปฏิบัติการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่เผาป่าเพื่อต้องการพื้นที่ว่างในการประกอบธุรกิจไม่ทำการประมงจับสัตว์น้ำในป่าชายเลนเพราะจะทำให้ป่าชายเลนเสียหาย

ดินชายตลิ่งพัง

2.4 ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของสังคม การประกอบองค์การธุรกิจโดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรม มักจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ มลพิษน้ำเสีย มลพิษในอากาศ มลพิษเสียงดัง องค์การธุรกิจจะต้องหาวิธีการในการป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพราะในปัจจุบันประชาชนผู้บริโภคและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างมาก องค์การธุรกิจที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้จึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เป็นสำคัญ โดยการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาทำให้เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเศรษฐกิจ คือ งานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการใช้บริโภคสินค้าต่าง ๆ ของผู้บริโภคซึ่งส่งผลต่อความเจริญเติบโตของสังคม ดังนั้นหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก จึงเป็นหน้าที่ขององค์การธุรกิจ ถ้าองค์การธุรกิจมีความรับผิดชอบและประสบความสำเร็จในการประกอบการ ก็จะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมหรือประเทศชาติ ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์การธุรกิจประสบความล้มเหลวในการประกอบการก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำไปด้วย ดังนั้น เศรษฐกิจของประเทศจึงต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์การธุรกิจ







11. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า ประกอบด้วย

1. เงินทุน เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้ธุรกิจสามารถเริ่มดำเนินงานได้ ถ้ามี ปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอ การดำเนินธุรกิจก็จะเกิดการหยุดชะงักซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นประเทศที่มีเงินทุนมากอย่างเพียงพอ ทำให้เศรษฐกิจ

ของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว

2. วัตถุดิบ เป็นปัจจัยที่นำมาใช้ในการแปรสภาพเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ ประเทศที่มีวัตถุดิบเองในประเทศจะได้เปรียบกว่าประเทศที่ต้องสั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและอาจเกิดปัญหาในด้านการขนส่งหากประเทศที่มีวัตถุดิบประสบปัญหาบางประการ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลางมีวัตถุดิบคือน้ำมัน การประกอบองค์การธุรกิจที่มีความต้องการน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตจะประสบปัญหาในช่วงเกิดสงครามในประเทศแถบตะวันออกกลางหรือใน

ช่วงที่ประเทศผู้ค้าน้ำมันร่วมมือกันขึ้นราคาน้ำมัน

3. ทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ ดังนั้นองค์การธุรกิจจะต้องทำการคัดเลือกคนที่มีความสามารถตรงกับความต้องการของสายงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตผลิตภัณฑ์

4. การจัดหา คือ การนำปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นทั้ง 3 ประการมาดำเนินการเพื่อให้มีคุณภาพสูงสุด โดยวางแผนการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ คือ การประกอบการธุรกิจนั่นเองจากปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าดังกล่าว ข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังค่อนข้างขาดแคลนปัจจัยสำคัญหลายประการจึงเป็นสาเหตุทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร



12. ปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจที่ประเทศไทยยังขาดแคลน

ปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ได้แก่

1. เงินทุน เนื่องด้วยในภาวะเศรษฐกิจถอถอยเช่นในปัจจุบัน (ปี 2542) บุคคลที่มีเงินหรือทรัพย์สินแต่ไม่นำทรัพย์สินมาลงทุนเพราะความเสี่ยงในการลงทุนขณะนี้ สูงมากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ เพราะธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้เงินที่

รับฝากไว้มีจำนวนมากเกินความต้องการของธนาคาร ธนาคารจึงต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงมา เงินทุนจากต่างประเทศ ก็ไม่นิยมมาลงทุนในประเทศไทย เพราะนโยบายของรัฐไม่ค่อยแน่นอน เช่น การลงทุนบางประเภทได้รับอนุมัติตามขั้นตอนของรัฐถูกต้องแล้วแต่เมื่อมีกลุ่มบุคคลรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลก็จะให้หยุดการดำเนินการ เพื่อทำการหาข้อมูลมาพิจารณา ทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินธุรกิจ

2. พลังงาน ในการดำเนินการธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม หรือากรขนส่งจำเป็นต้องใช้พลังงานในการผลิต พลังงานที่สำคัญที่สุดคือน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นพลังงานที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ในแต่ละปีประเทศไทยเสียเงินเป็นจำนวนมาก

เพื่อซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศผู้ค้าน้ำมันรวมตัวกันขึ้นค่าน้ำมัน ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในทุกด้าน ไม่เฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการขนส่งเท่านั้นค่าครองชีพของประชาชนก็สูงขึ้นด้วย

เพราะเกิดภาวะการปรับขึ้นราคาของสินค้า

3. ผู้ประกอบการขาดความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะการประกอบการองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเรื่องมาทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจ้างชาวต่างประเทศ

4. การส่งออกมีมูลค่าต่ำ เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์ส่งออกของประเทศไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตผลทางการเกษตร แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสูงกว่า

มูลค่าการส่งออก


แบบฝึกหัด ยังไม่ได้ อัฟโหลดนะลืมครับคืนนี้จะ อัฟโหลดให้ ขอบคุณที่โทรบอก