หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบปลายภาค ปวส ปี1

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553
ปวส.1
ข้อสอบ โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์

1. ข้อมูล(Data) หมายถึงข้อใด
ก. ตัวเลข                   ข. สิ่งที่นำมาใช้ในการคำนวณ
ค. สิ่งที่ไม่ได้นำมาใช้ในการคำนวณ
ง. ข้อ ข และ ค ถูก

2.ข้อใดถูกต้อง
ก. ข้อมูลเหมือนกับสารสนเทศ
ข. ข้อมูลไม่เหมือนกับสารสนเทศ
ค. ข้อมูลไม่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
ง. ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศ

3.สารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก. ข้อมูลความรู้ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว
ข. ข้อมูลคะแนน
ค. ข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์
ง. ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง

4. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของสารสนเทศ
ก. ความถูกต้อง            ข. ความรวดเร็ว
ค. ความสมบูรณ์         ง. ถูกทุกข้อ
5. ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันที่ใด
ก. ความเป็นจริงของข้อมูล           ข. สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ค. มีการรับรองข้อมูลที่ถูกต้อง     ง. มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

6. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของสารสนเทศ
ก. ข้อมูล ตัวเลข เสียง และภาพ      ข. เครื่องคิดเลข
ค. การจัดเก็บ บันทึกข้อมูล             ง. คอมพิวเตอร์

7. ข้อใดเป็นประโยชน์สารสนเทศที่สำคัญที่สุด
ก. คุ้มค่า หาง่าย สะดวก              ข. สีสันสวยงาม เรียบร้อย
ค. ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน  ง. เป็นสัญลักษณ์และเป็นรหัสสั้น ๆ

8. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือข้อใด
ก. การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ      ข. การจัดหาข้อมูล
ค. การประมวลผลข้อมูล         ง. การเพิ่มข้อมูลตามต้องการ

9. ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลสารสนเทศ
ก. เครื่องคอมพิวเตอร์              ข. รายงานพยากรณ์อากาศ
ค. สถิตินักเรียนประจำวันของโรงเรียน
ง. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน


10. การทำงานของคอมพิวเตอร์ มีกี่ขั้นตอน
ก. 3       ข. 4       ค. 5           ง. 6

11. อุปกรณ์ใดอยู่ในขั้นตอนของ Output
ก. สแกนเนอร์         ข. จอภาพ
ค. เมาส์                   ง. แป้นพิมพ์

12. ขั้นตอนใดที่ถือเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์
ก. ประมวลผล          ข. นำเสนอผลลัพธ์
ค. เก็บข้อมูล             ง. รับคำสั่ง

13. ถ้าขาดส่วนใด คอมพิวเตอร์จะทำงาน ไม่ได้
ก. หน่วยประมวลผล             ข. หน่วยนำเสนอผลลัพธ์
ค. หน่วยรับข้อมูล                  ง. ถูกทุกข้อ

14. ส่วนประกอบใดไม่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตัว
ก. CPU                     ข. Printer
ค. Sound Card         ง. Driver

15. ส่วนประกอบใดที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้ส่งตามสายโทรศัพท์
ก. เมาส์                     ข. เครื่องพิมพ์
ค. สแกนเนอร์            ง. โมเด็ม

16. หน้าที่ของสแกนเนอร์ คืออะไร
ก. แปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ส่งไปตามสายโทรศัพท์
ข. แสดงผลข้อมูลออกทางกระดาษ
ค. นำเข้าข้อมูลประเภทรูปภาพเข้าไปในเครื่อง
ง. พิมพ์คำสั่งหรือป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

17. จอภาพ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. ดิสเพลย์           ข. สกรีน
ค. มอนิเตอร์        ง. ถูกทุกข้อ

18. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดจัดเป็นหัวใจของเครื่อง
ก. Monitor       ข. CPU         ค. Keyboard            ง. Mouse

19. ข้อใดให้คำจัดความของฮาร์ดแวร์ได้สมบูรณ์ที่สุด
ก. หน่วยรับข้อมูล         ข. ตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง
ค. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้
ง. อุปกรณ์ทุกชนิดที่อยู่ในกล่องคอมพิวเตอร์

20. หน้าที่ของหน่วยประมวลผลกลางคืออะไร
ก. เป็นหน่วยความจำหลัก
         ข. เป็นหน่วยแสดงผลข้อมูล
ค. เป็นหน่วยสั่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
ง. เป็นหน่วยนำเข้าข้อมูล


21. ข้อใดไม่ใช่ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software)
ก. Dos        ข. Lotus       ค. Unix           ง. Window 98

22. ข้อดีของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวเครื่องแบบแนวนอนคืออะไร
ก. ประหยัดเนื้อที่             ข. สะดวกในการเคลื่อนย้าย
ค. ราคาประหยัด              ง. ตัดพ่วงได้สะดวก
23. ข้อจำกัดสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาคืออะไร
ก. มีขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับกับการพกพา
ข. ไม่ค่อยมีการรับประกันคุณภาพจากผู้ผลิต
ค. ราคายังสูงกว่าปกติอยู่มาก
ง. หาอุปกรณ์ซ่อมแซมและดูแลบำรุงได้ยาก
24. การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ควรคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ก. ราคา                    ข. ความคุ้มค่าในการใช้งาน
ค. ความถูกใจ           ง. ความเหมาะสมกับงานที่ใช้
25. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ทำหน้าที่อะไร
ก. อ่านข้อมูลจากดิสเกตต์           ข. ประมวลผลข้อมูล
ค. อ่านข้อมูลจากซีดีรอม             ง. จำข้อมูลไว้ชั่วคราว
26. อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิดต้องวางอยู่อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง เราเรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่าอะไร
ก. ฮาร์ดไดร์ฟ                              ข. หน่วยประมวลผลกลาง
ค. ซ่อมเสียงอุปกรณ์เพิ่มเติม       ง. เมนบอร์ด
27. ถ้าต้องการจะนำเอาการ์ดเสียงมาใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องเพิ่มเข้าไปในส่วนใด
ก. การ์ดขยาย                  ข. ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม
ค. ช่องไดร์ฟ                   ง. ช่องซีดีรอมไดร์ฟ
28. RAM ย่อมาจากคำเต็มว่าอะไร
ก. Read Analog Memory           ข. Random Access Mainboard
ค. Random Access Memory       ง. Random Access Motion
29. ดีแรม คืออะไร
ก. การ์ดแสดงผลที่มีความจำชั่วคราว
    ข. การ์ดแสดงผลที่มีความจำถาวร
ค. การ์ดแสดงผลที่มีความเร็วต่ำ            ง. การ์ดแสดงผลที่มีความเร็วสูง
30. จอภาพแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2        ข. 3      ค. 4     ง. 5

ข้อสอบปลายภาค ปวส ปี2

ข้อสอบ
จงอธิบายความหมายต่อไปนี้
1. ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
2. ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ
3. สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ
4. ประเภทของการประกอบธุรกิจ
5.เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
6.ใครคือผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีในธุรกิจแต่ละประเภท
7. Joseph L. Massie ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า
8.หน้าที่และขั้นตอนของการจัดการทั่วไปประกอบด้วย
9.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง
10.ประเภทของการประกันภัย
11.สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) คืออะไรประกอบด้วยอะไรบ้าง
12.ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า ประกอบด้วยอะไรบ้าง
13.นักเรียนได้ความรู้อะไรจากวิชานี้บ้าง
14.นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปทำอะไรได้บ้าง

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่9

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับสภาวะแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ


1. ความหมายของสภาวะสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

สภาวะแวดล้อมขององค์การธุรกิจ (Organizational Environment) หมายถึงสิ่งที่ส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ สิ่งแวดล้อมอาจช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการประกอบธุรกิจ

ผู้บริหารองค์การจึงต้องมีการวางแผน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

2.ปัจจัยและประเภทของสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

ปัจจัยและประเภทของสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ แบ่งออกได้ ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลภายในองค์การธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารองค์การต้องควบคุมให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อธุรกิจ

สิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจ ประกอบด้วย

1.1 เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้น (Owners and Shareholders)การประกอบกิจการขนาดเล็ก เจ้าของกิจการ คือผู้ที่ลงทุน ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ เจ้าของกิจการจึงมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจเมื่อกิจการได้ขยายใหญ่ ขึ้นความต้องการให้การจัดหาทุนมีเพิ่มขึ้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดหาทุนโดยการออกจำหน่ายหุ้นบุคคลที่ซื้อหุ้นของบริษัท เรียกว่า ผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนจากบริษัทในรูปของเงินปันผล และผู้ถือหุ้นมีอำนาจในการเลือกคณะกรรมการเพื่อบริหารงานของบริษัท ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

1.2 คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงาน ได้แก่ ทำหน้าที่ในการวางแผน ตัดสินใจ และบริหารงานขององค์การธุรกิจ โดยคณะกรรมการ

บริหารอาจเป็นพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาขององค์การธุรกิจ เรียกว่า กรรมการบริหารภายใน (Inside Directors) หรืออาจเป็นคณะกรรมการที่ไม่ใช่เป็นพนักงานเต็มเวลาขององค์การธุรกิจ แต่ได้รับเลือกเข้ามาเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานขององค์การธุรกิจ เรียกว่า กรรมการบริหารภายนอก (Outside Directors)

1.3 พนักงานหรือลูกจ้าง (Employees) คือ กลุ่มบุคคลที่ผู้บริหารองค์การได้ทำการคัดเลือกมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์การเพื่อให้องค์การประสบผลสำเร็จดังเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งการปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้าง จะมีผลกระทบต่อลูกค้าขององค์การ โดยตรงถ้าการปฏิบัติงานของพนักงานก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้านั่นหมายถึงรายได้หรือผลกำไรต่อองค์การธุรกิจ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าลูกค้าไม่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การธุรกิจก็อาจประสความล้มเหลวได้ ดังนั้น พนักงานหรือลูกจ้างจึงเป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

1.4 วัฒนธรรมขององค์การ (Organizational Culture) คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สมาชิกในองค์การถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันวัฒนธรรมขององค์การจึงเป็นสิ่งที่ ผู้บริหารองค์การต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการวางแผน การบริหารงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในองค์การเป็นอย่างดี ถ้าวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าวัฒนธรรมขององค์การใดเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรือไม่มีประโยชน์ต่อองค์การผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้แก่องค์การเพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติ แล้วเกิดผลดี และดำรงอยู่กับองค์การต่อไป

2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลภายนอกต่อองค์การทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 สิ่งแวดล้อมทั่วไป (Feneral Environment) คือ สิ่งแวดล้อมทั่วไปภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การในระยะยาว ได้แก่

1) อิทธิพลด้านกฎหมายและการเมือง (Politicolegal Forces) คือ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ภาษีอากร นโยบายของรัฐบาลซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลในการกำหนดกิจกรรมขององค์การผู้บริหารองค์การจึงจำเป็นต้องติดตามและทำความเข้าใจกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อจะได้ดำเนินการธุรกิจได้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ เช่นรัฐบาลมีนโยบาลให้การสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงออกกฎหมายยกเว้นภาษีมูลค่าเพ่มสำหรับการขายผลผลิตทางการเกษตรเป็นต้น

2) อิทธิพลด้านเทคโนโลยี (Technological Forces) คือ ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการคิดค้นเพื่อให้กระบวนการผลิตสินค้า หรือบริการได้เปรียบคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันในปัจจุบันวิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารองค์การจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญศึกษาหาความรู้ในด้านนี้เพื่อจะได้นำมาพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจให้ก้าวหน้าทันสมัยยิ่งขึ้น เช่น การบันทึกบัญชี แต่เดิมใช้พนักงานทำหน้าที่ในการบันทึกบัญชี เริ่มตั้งแต่สมุดรายวันทั่วไป ผ่านรายการไปสมุดแยกประเภททั่วไป หายอดคงเหลือ ทำงบทดลอง แต่ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พนักงานสามารถบันทึกรายการค้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดทำงบทดลองหรืองบการเงินได้ทันที หรือแสดงยอดสินค้าคงเหลือได้โดยโปรแกรมสำเร็จรูปเทคโนโลยีเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ

3) อิทธิพลด้านเศรษฐกิจ (Economic Forces) ผู้บริหารองค์การจำเป็นต้องศึกษาและให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา รายได้ประชาชาติ อัตราดอกเบี้ย อัตราการว่างงาน แนวโน้มของผู้บริโภค เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ธุรกิจอสังหริมทรัพย์มียอดขายสูงเป็นอย่างมาก แต่ตั้งแต่กลางปี 2540 เศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะถดถอยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบความล้มเหลวเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจึงต้องชะลอการดำเนินธุรกิจประเภทนี้ไว้ก่อน

4) อิทธิพลด้านสังคมวัฒนธรรม (Sociocultural Forces) คือ ทัศนคติ ค่านิยมลักษณะด้านประชากร และความต้องการขั้นพื้นฐานของสังคมที่องค์การธุรกิจไปดำเนินการอยู่ผู้บริหารองค์การธุรกิจจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Needs) หรือความอยากได้ (Wants) ของสังคมนั้น เพราะทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมของสังคมเป็นส่งกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของประชาชนในสังคมนั้น การศึกษาในเรื่องนี้ประกอบด้วยเรื่องศาสนา เพศ อายุ จำนวนประชากร อัตราการเจริญเติบโตของประชากร

5) อิทธิพลระหว่างประเทศ (International Forces) คือ อิทธิพลจากบริษัทใหญ่ที่ อยู่ภายนอกประเทศ การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศหรือธุรกิจข้ามชาติ ควรคำนึงถึงคู่แข่งขันในประเทศนั้น และคู่แข่งขันระดับโลกซึ่งมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

2.2 ส่งแวดล้อมด้านการงาน (Task Environment) คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มี อิทธิพลโดยตรงต่อองค์การซึ่งทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้

1) ลูกค้า (Customers) เป็นสิ่งแวดล้อมด้านการงานที่สำคัญ เพราะลูกค้าขององค์การธุรกิจเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการมีผลโดยตรงที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวผู้บริหารองค์การธุรกิจจึงมักกำหนดเป้าหมายของธุรกิจ โดยการสร้างและรักษาลูกค้าคือต้องศึกษาและทำการวิจัยลูกค้าท้งในด้านพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า ซึ่งองค์การธุรกิจสามารถได้รับข้อมูลจากลูกค้าได้หลายทาง เช่น ได้ รับข้อมูลจากลูกค้า ผ่านพนักงานขององค์การธุรกิจ ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งไปให้ลูกค้าหรือได้รับข้อมูลจากการทำวิจัยธุรกิจ

2) คู่แข่งขัน (Competitors) คือ องค์การธุรกิจอื่นที่ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับองค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องศึกษาและติดตามการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของคู่แข่งขันตลอดเวลา เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางตลาด หรือลูกค้าของธุรกิจไว้ โดยสิ่งที่ต้องติดตามและศึกษา ได้แก่ กลยุทธ์ที่คู่แข่งขันใช้ในการดำเนินการ เช่น การให้บริการแก่ลูกค้า การตั้งราคาสินค้าหรือบริการการส่งเสริมการขาย วิธีที่สามารถรวบรวมข้อมูลของคู่แข่งขัน ได้แก่ การตรวจสอบจากรายงานประจำปีของคู่ แข่งขัน การโฆษณา การร่วมประชุมกับองค์การธุรกิจในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาองค์การธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้

3) ผู้จัดหา (Suppliers) คือ บุคคลหรือองค์การที่มีหน้าที่ในการจัดหาสิ่งจำเป็นต่าง ๆให้องค์การธุรกิจ ได้แก่

(1) จัดหาวัตถุดิบให้องค์การธุรกิจใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ วัตถุดิบเป็ส่งสำคัญในการผลิต ถ้าองค์การธุรกิจขาดวัตถุดิบหรือได้รับวัตถุดิบล่าช้า หรือได้รับวัตถุดิบคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตทำให้การผลิตหยุดชะงักหรือผลิตแล้วสินค้าที่ออกมาไม่ได้มาตรฐาน องค์การธุรกิจจึงต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อให้การดำเนินธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

(2) จัดหาแหล่งเงินทุน ในการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ แหล่งที่องค์การธุกิจสามารถจัดหาเงินทุนได้แก่ ผู้ถือหุ้น โดยการนำหุ้นมาจำหน่าย หรือกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินและผู้ร่วมลงทุน ในการจัดหาเงินทุนองค์การธุรกิจจะต้องคำนึงถึงต้นทุนของเงินทุน เช่น การนำหุ้นออกจำหน่าย

ต้นทุนของเงินทุน คือเงินปันผล การกู้ยืมต้นทุนของเงินทุนคือดอกเบี้ย ซึ่งองค์การธุรกิจจะต้องนำเงินที่จัดหาได้จากแหล่งเงินทุนไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มกับต้นทุนของเงินที่ลงทุนไป

(3) จัดหาทรัพยากรบุคคล แหล่งที่องค์การธุรกิจสามารถจัดหาทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บริษัทนายหน้าจัดหางาน สถาบันการศึกษา ตลาดแรงงานทั้งของเอกชนและรัฐบาลซึ่งทรัพยากรบุคคลที่องค์การธุรกิจจัดสรรหา จะต้องมีความรู้ ความชำนาญ ตรงกับความต้องการขององค์การธุรกิจ คือการจัดคนให้ตรงกับลักษณะของงาน

(4) จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การธุรกิจสามารถจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การธุรกิจจากนักวิจัยธุรกิจสถิติต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์

4) ผู้ออกกฎระเบียบ (Requlators) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหรือกลุ่มบุคคลผู้มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะที่มีอิทธิพลในการออกกฎระเบียบเพื่อให้องค์การธุรกิจดำเนินการภายใต้กฎระเบียบที่วางไว้ เช่น ในต่างประเทศบางประเทศมีอุตสาหกรรมการผลิตเอกันหนาวซึ่งทำจากขนสัตว์ ต่อมามีกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เกิดขึ้น และร่วมกันต่อต้านการทำขนสัตว์มาทำเสื้อกันหนาว ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือในประเทศไทยได้มีกลุ่มบุคคลและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมได้ก่อตั้งเป็นคณะกรรมการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว

(Board of Environment Promotion of Tourism Activities (BEPTA) ขึ้นและได้จัดทำโครงการใบไม้เขียว (Green Leaf Program) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งBEPTA จะมอบบัตรเกียรติคุณใบไม้เขียวให้แก่ธุรกิจที่ผ่านการตรวจสอบ

5) ตลาดแรงงาน เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านการงานขององค์การธุรกิจ เนื่องด้วยการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ มีความต้องการพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญตรงกับลักษณะงาน โดยการสรรหา คัดเลือก เมื่อบรรจุเข้าเป็นพนักงานขององค์การธุรกิจแล้ว องค์การธุรกิจจะต้องจัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเพื่อให้พนักงานมีความสุข ความสะดวกสบายในการทำงานมีการจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานและอยู่กับองค์การให้นานที่สุด



















3. สาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ เนื่องด้วยสาเหตุ 2 ประการคือ

1. สิ่งแวดล้อมมีความไม่แน่นอน เพราะสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางธุรกิจก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมแบบง่ายไม่ซับซ้อนแต่ธุรกิจบางประเภทก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อน เช่นธุรกิจคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ

2. ผู้บริหารองค์การและสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยที่ผู้บริหารองค์การเป็นผู้นำสิ่งแวดล้มมาเป็นทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ วัตถุดิบ เงินทุน ทรัพยากรมนุษย์ และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตการที่องค์การธุรกิจจะดำรงอยู่ได้ ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม



4. วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ

วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ มี 3 วิธี ดังนี้

1. การใช้อิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารองค์การใช้วิธีปรับปรุงการทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ได้แก่

1.1 การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ในปัจจุบันองค์การธุรกิจใช้การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีอิทธิพลต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรา ดังนั้น องค์การธุรกิจ

ใดที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ที่ประหยัดการใช้น้ำ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

1.2 กิจกรรมด้านการเมืองและกฎหมาย ผู้บริหารองค์การธุรกิจควรมีการรวมตัวกัน โดยอาจจัดตั้งเป็นชมรมหรือสมาคม เพื่อมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับหน่วยงานของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพราะในบางครั้งอาจมี

กฎระเบียบ ข้อบังคับที่มีผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินการขององค์การธุรกิจมากเกินไป สมาคมที่รวมตัวกันโดยผู้บริหารขององค์การธุรกิจ สามารถส่งตัวแทนไปเจรจาต่อรองได้

1.3 การร่วมค้า คือ การรวมตัวกันขององค์การะรกิจที่ดำเนินกิจการประเภทเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการใช้ความสามารถหรือเทคโนโลยีร่วมกัน ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเป็นการลดความกดดันจากคู่แข่งขัน

2. การปรับองค์การตามสิ่งแวดล้อม คือการที่ผู้บริหารองค์การดำเนินการปรับกิจกรรม และสภาพขององค์การ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ

2.1 การพยากรณ์ โดยผู้บริหารองค์การพยายามลดความไม่แน่นอนของสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพื่อให้ความเสี่ยงขององค์การธุรกิจลดลงซึ่งการพยากรณ์ผู้บริหารองค์การจะต้องทำการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลจาก

หลายด้าน ทั้งข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์การและข้อมูลปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งของคู่แข่งขัน และของภาครัฐบาลเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ

2.2 การปรับโครงสร้างขององค์การธุรกิจ โครงสร้างขององค์การ คือการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์การหรือสายบังคับบัญชาในองค์การ เมื่อสิ่งแวดล้อมขององค์การเปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างขององค์การก็ต้องมีการปรับ

ตัวเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการความลูกค้าหรือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์

2.3 การจัดเตรียมสำรองทรัพยากร ผู้บริหารงานองค์การธุรกิจจะต้องมีการจัดเตรียมสำรองทรัพยากรต่ง ๆ เอลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนทรัพยากรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการขาดแคลนทรัพยากรจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักการผลิต

หรือการดำเนินงานของธุรกิจได้ ทรัพยากรที่องค์การควรมีการจัดหาสำรองไว้ ได้แก่

เงินสด วัตถุดิบ สินค้าคงเหลือ แต่ในการจัดสำรองทรัพยากรนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือต้นทุนของเงินทุนด้วย เช่น การจัดสำรองวัตถุดิบ ถ้าสำรองไว้มากเกินไปความเสี่ยงในการขาดแคลนวัตถุดิบจะต่ำ แต่เงินที่ต้องใช้ในการจัดหาวัตถุดิบมาสำรอง

ไว้เป็นจำนวนมาก จะเกิดภาวะเงินทุนจนถ้าเงินทุนนั้นจัดหามาโดยการกู้ยืมต้นทุนของเงินทุนที่ต้องเสียคือดอกเบี้ยก็จะสูงตามไปด้วย จึงควรมีการวางแผนจัดหาสำรองทรัพยากรไว้ในจำนวนที่เหมาะสม

3. การเปลี่ยนแปลงขอบเขตขององค์การ คือ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากจนกระทั่งองค์การธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้บริหารองค์การธุรกิจอาจปรับเปลี่ยนโดยการเปลี่ยนการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสินค้าหรือบริการ

ใหม่ไม่เหมือนเดิมหรือย้ายองค์การธุรกิจไปจัดตั้งในสถานที่หรือประเทศอื่นเป็นการเปลี่ยนขอบเขตหรืออาณาจักรขององค์การธุรกิจการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบันนอกจากต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอกของธุรกิจดังที่ กล่าวมาแล้วนั้นธุรกิจยังต้องคำนึง "สิ่งแวดล้อม" ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้นคือ ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม (Environment Pollution) ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เพื่อให้การดำเนินการของธุรกิจก่อให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด



5. การจัดมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

อนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 คือ มาตรฐานสากลที่องค์การธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อจัดระบบการจัดการขององค์การธุรกิจให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดโดยการดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO 14000 โครงสร้างมาตรฐานของ

สิ่งแวดล้อมที่กำหนด 3 มาตรฐาน คือ

1. มาตรฐานระบบการบริหาร ประกอบด้วยอนุกรมมาตรฐาน 2 ส่วน คือ

1.1 ISO 14001 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.2 ISO 14004 เป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับหลักการและเทคนิค

มาตรฐานทั้ง 2 ประเภท เป็นมาตรฐานที่ควมคุมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ ในด้านการวางแผน การดำเนินการและการปรับปรุงแก้ไข

2. มาตรฐานการตรวจสอบและการวัดผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 มาตรฐานการตรวจสอบ มีอนุกรมมาตรฐานดังนี้

1) ISO 14010 เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการตรวจสอบ

2) ISO 14011 เป็นการกำหนดวิธีการในการตรวจสอบและการวัดผล

3) ISO 14012 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ทำการตรวจประเมินผล

2.2 มาตรฐานการวัดผลในการปฏิบัติการควบคุมมลพิษมีอนุกรมมาตรฐานคือ ISO 14031 เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการวัดผล การปฏิบัติและการควบคุมมลพิษ

3. มาตรฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

3.1 มาตรฐานฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม ฉลากมาตรฐานที่ประเทศไทยใช้และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ฉลากเบอร์ 5 สำหรับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ ฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษ มีอนุกรมมาตรฐาน ดังนี้

1) ISO 14020 เป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

2) ISO 14021 เป็นนิยามฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมที่องค์การธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการผลิตรับรองตนเอง

3) ISO 14022 เป็นมาตรฐานสำหรรับฉลากหรือสัญลักษณ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่องค์การธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการผลิตใช้รับรองตนเอง



4) ISO 14023 เป็นข้อกำหนดที่ผู้ผลิตต้องติดไว้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและการรับรองฉลากผลิตภัณฑ์ที่หน่วยงานเป็นผู้รับรอง

5) ISO 14024 เป็นหลักการ ข้อกำหนด วิธีปฏิบัติและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานเป็นผู้รับรอง

3.2 มาตรฐานการประเมินวงจรวิธีของผลิตภัณฑ์ เป็นมาตรฐานการประเมินผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบในการผลิตจนกระทั่งผลิตภัณฑ์นั้นเลิกใช้ ว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร มีอนุกรมมาตรฐาน ดังนี้

1) ISO 1404 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบกำหนดเพื่อใช้ในการดำเนินการ

2) ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์

3) ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

4) ISO 14043 เป็นการแปลผลที่ได้จากการประเมินผลข้อมูล สำหรับมาตรฐานที่ใช้ในการให้ประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์การธุรกิจ คือ ISO 14001



6. หลักการในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วยหลักการ 5 ประการ ได้แก่

1. กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดนโยบายดังกล่าว เพื่อเป็นทิศทางในการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งนโยบายนี้กำหนดโดยผู้บริหารองค์การการจัดทำนโยบายต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงความมุ่งมั่น

ต่อการป้องกันมลพิษการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง การจัดการกรอบสำหรรับการดำเนินงาน นโยบายนี้จะต้องให้พนักงานทุกคนขององค์การทราบ และมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน และนำไปปฏิบัติจริง

2. การวางแผนงาน เพื่อให้นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสัมฤทธิ์ผล ประกอบด้วยการกำหนดลักษณะปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการกำหนดกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำองค์การธุรกิจเข้าสู่อนุกรมมาตรฐาน

ISO 14000 กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดวัตถุประสงค์ ด้านสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน มีเป้าหมายที่สามารถประเมินผลได้ กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจัดสิ่งแวดล้อม

3. การนำแผนงานไปปฏิบัติ โดยกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลที่จะมาดำเนินการโดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบ จัดการฝึกอบรมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีจิตสำนึกถึงความสำคัญของ

สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ จัดระบบการควบคุมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องวางแผนกรณีฉุกเฉินจากการปฏิบัติการ

4. การตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ในการนำแผนงานไปปฏิบัติ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องคอยติดตามการปฏิบัติงานที่เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวัดผลการปฏิบัติในส่วนนั้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

5. การทบทวนการจัดการ ผู้บริหารองค์การจะต้องทบทวนเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพดีที่สุด









7. ประโยชน์ที่องค์การธุรกิจได้รับจากการจัดการสิ่งแวดล้อม

การที่องค์การธุรกิจได้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมตามอนุกรมมาตรฐานISO 14000 นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าองค์การธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่องค์การธุรกิจไปดำเนินการอยู่แล้ว ประโยชน์ที่องค์การธุรกิจได้รับนอกเหนือจาก

นี้อีกคือ

1. ประโยชน์ทางการค้า องค์การธุรกิจที่ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแลด้อม (ISO 14001) จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกไปสู่ตลาดโลกได้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับ

ของประชาคมโลกทำให้เกิดตลาดใหม่ได้

2. สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การธุรกิจ การที่นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ทำให้ลูกค้า ประชาชน หน่วยงานรัฐบาล ให้การยอมรับองค์การธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

3. ประหยัดต้นทุนในระยะยาว ในการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ในระยะแรก อาจต้องมีการลงทุนเพื่อให้ระบบดำเนินไปอย่างมีขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการของเสียเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ แต่ในระยะยาวองค์การธุรกิจจะเกิดการประหยัดในส่วนดังกล่าว คือ ไม่ต้องนำของเสียที่ไม่ได้ใช้ไปกำจัด และประหยัดการซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น



8. ผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตบางประเภท ก่อให้เกิดก๊าซบางชนิดที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)ก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะหรือกระจกหรือก๊าซเรือนกระจกมีดังนี้

1. ก๊าซมีเทน (Metane) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากการเน่าเปื่อยของพืช หรือจากมูลสัตว์

2. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในการใช้ยานพาหนะ หรือการใช้เครื่องจักรในกิจการประเภทอุตสาหกรรม

3. ก๊าซโอโซน (Ozone) เป็นก๊าซที่อยู่ในบรรยากาศของโลก โอโซนในบรรยากาศชั้นล่างจะดูดความร้อนจากพื้นผิวโลก ทำให้เกิดความร้อน

4. สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) เป็นก๊าซที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสารที่ใช้ในอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความเย็น ไม่มีพิษ ไม่ติดไฟ แต่จะเป็นสารซึ่งดูดความร้อนได้ดี ทำให้ดูดความร้อนจากพื้นโลกเก็บสะสมไว้

5. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาป่าก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวข้างต้นจะดูดซับความร้อน และลอยขึ้นไปในบรรยากาศปกคลุมโลกทำให้บรรยากาศปกคลุมโลกทำให้บรรยากาศ

ของโลกร้อนขึ้น ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ เอลนิโญ (EI Nino) คือเกิดอากาศแปรปรวนสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง น้ำแข็งในขั้วโลกละลายทำให้น้ำท่วม อุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นทำให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก นอกจากเกิดปรากฎการณ์ เอลนีโนแล้ว ก๊าซเรือน

กระจกยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์ ลานินญา (La Nina) ในบริเวณตะวันออกของเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดอากาศเย็นกว่าปกติ และเกิดพายุฝนทำให้เกิดน้ำท่วมปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้จัดประชุม และได้จัดให้มีการร่วมกันเป็นสมาชิกในการทำอนุสัญญา เพื่อลดปรากฎการณ์เรือนกระจก โดยกลุ่มประเทศ

สมาชิกได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาต่าง ๆ ดังนี้

- ปี 2528 ได้มีการจัดทำอนุสัญญาที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันในการค้นคว้า วิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของชั้นโอโซน เรียกว่า อนุสัญญาเวียนนาเพื่อการปกป้องบรรยากาศชั้นโอโซน

- ปี 2530 ได้มีการประชุม เพื่อจำกัดปริมาณของการผลิตสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเพื่อใช้ในกิจการอุตสาหกรรม ณ ประเทศแคนนาดา

- ปี 2535 ได้มีการประชุมพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ และการตัดไม้ทำลายป่าที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น โดยมีการทำอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อให้ประเทศที่ลงนามสัตยาบันในอนุสัญญา ต้องจัดทำบัญชีแสดงการผลิต หรือการลดปริมาณ

ก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ระดับของก๊าซอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลก

- ปี 2540 ได้มีการประชุมพิจารณาเพื่อให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 5.2 % ภายใน ปี 2551 - 2555 ซึ่งได้มีการลงนามโดยประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศผู้นำ โดยมีการดำเนินการก่อน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

เพื่อเป็นแนวทางและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินงานให้แก่สมาชิกประเทศอื่น ๆ ต่อไปนอกจากองค์การธุรกิจจะต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อส่งแวดล้อมดังกล่าวแล้วองค์การธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเนื่องด้วยเพราะองค์การธุรกิจ

เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม และมีรายได้จากสมาชิกในสังคม



9. ทัศนะหรือแบบที่เกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์การธุรกิจเพื่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

ทัศนะหรือแบบที่เกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์การธุรกิจเพื่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม มี 2 แบบที่ตรงกันข้าม ดังนี้

1. ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบเศรษฐกิจ ผู้บริหารองค์การที่มีทัศนะแบบนี้จะมีความสนใจเชิงเศรษฐกิจ คือ มุ่งหวังให้ธุรกิจ ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นที่ ต้องการแก่ลูกค้าโดยหวังผลกำไร และรับผิดชอบต่อสังคมโดยการเสียภาษี สร้างงาน

ให้เกิดการจ้างงานซึ่งผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการจะได้รับผลประโชน์สูงสุด โดยการตัดสินใจอาศัยเกณฑ์ของตลาด ข้อมูลภายในองค์การ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบเศรษฐกิจสังคม ผู้บริหารองค์การที่มีทัศนะแบบนี้จะให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่มีต่อสังคมมิได้มุ่งหวังแต่เพียงกำไรเพียงอย่างเดียวโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิต ให้ความสนใจต่อสังคม และการอนุรักษ์ธรรมชาติ

องค์การธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการรับผิดชอบต่อสังคมได้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงขององค์การจะต้องให้การสนับสนุนในหลักการ หลังจากนั้นจึงมีการวางแผนโครงการเพื่อการปฏิบัติ และมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดไว้รวมทั้งมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อสังคมในด้านใด เช่น ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตความปลอดภัย ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์



10. สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ

สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สังคมภายในธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.1 เจ้าขององค์การธุรกิจ คือ ผู้ลงทุนในองค์การธุรกิจ คือ ผู้ลงทุนในองค์การธุรกิจ ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียวผู้ลงทุนคือเจ้าของกิจการ ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วน ผู้ลงทุนคือผู้เป็นหุ้นส่วน ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทบริษัทจำกัดผู้ลงทุนคือผู้ถือหุ้น การดำเนินธุรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลดังกล่าว โดยให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมไม่ว่าจะผลกำไร เงินปันผลเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจในการร่วมลงทุน

1.2 ผู้บริหารองค์การ ในกรณีองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าขององค์การธุรกิจมีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกมาบริหารองค์การ เจ้าขององค์การธุรกิจต้องรับผิดชอบบุคคลเหล่านี้ โดยให้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ให้ความมั่นคงในการ

ประกอบอาชีพ มีโอกาสก้าวหน้า

1.3 พนักงานองค์การธุรกิจจำเป็ต้องจ้างบุคคมาทำงานในการดำเนินงานขององค์การ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องให้ความรับผิดชอบต่อพนักงาน เรื่องเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการในการทำงาน ได้แก่ ความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การทำงานใน

โรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย อันอาจเกิดขึ้นได้การปฏิบัติงานเพื่อให้ พนักงานมีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมก่อให้เกิดความสะดวกสบายและมีความสุขในการทำงาน มีการจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการประกัน

ชีวิต จัดสวัสดิการด้านสันทนาการ ได้แก่การจัดงานรื่นเริงในวันเทศกาลต่าง ๆ เพื่อให้ พนักงานได้มีกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคี ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มพนักงานขององค์การ ให้บริการอาหารกลางวัน จัดให้บริการรถรับ-ส่งพนักงาน

2. สังคมภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ผู้บริโภค คือ กลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการขององค์การธุรกิจ บุคคลเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้องค์การธุรกิจประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวก็ได้องค์การธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคในเรื่องคุณภาพของสินค้า โดยเริ่มจากการสรรหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่นอุตสาหกรรมผลิตอาหารวัตถุดิบที่ใช้จะต้องสะอาด ไม่เจือสารที่มีพิษ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับผลร้ายจากการบริโภค นอกจากเรื่องของวัตถุดิบการบรรจุผลิตภัณฑ์ต้องให้ปริมาณของผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้บนฉลาก วัสดุที่ใช้ในการบรรจุต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของสังคม เช่น ไม่ใช้วัสดุประเภทโฟม หรือพลาสติกที่ยากต่อการทำลาย ไม่ใช้ วัสดุที่บรรจุผลิตภัณฑ์แล้วทำให้เกิดเสื่อมคุณภาพ ในการโฆษณาองค์การธุรกิจจะต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริงแก่ผู้บริโภค ไม่โฆษณาเกินความจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงความยุติธรรมต่อผู้บริโภค องค์การธุรกิจไม่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ในการตั้งราคาให้สูงทำให้ผู้บริโภคเกิดการเสียเปรียบ

2.2 หน่วยงานของรัฐ องค์การธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐในด้านที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับเพื่อให้องค์การธุรกิจปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น องค์การธุรกิจจึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การไม่หลีกเลี่ยงภาษีให้ความร่วมมือกับรัฐในด้านต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2.3 ทรัพยากรธรรมชาติ องค์การธุรกิจจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติไม่ปฏิบัติการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่เผาป่าเพื่อต้องการพื้นที่ว่างในการประกอบธุรกิจไม่ทำการประมงจับสัตว์น้ำในป่าชายเลนเพราะจะทำให้ป่าชายเลนเสียหาย

ดินชายตลิ่งพัง

2.4 ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของสังคม การประกอบองค์การธุรกิจโดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรม มักจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ มลพิษน้ำเสีย มลพิษในอากาศ มลพิษเสียงดัง องค์การธุรกิจจะต้องหาวิธีการในการป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพราะในปัจจุบันประชาชนผู้บริโภคและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างมาก องค์การธุรกิจที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้จึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เป็นสำคัญ โดยการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาทำให้เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเศรษฐกิจ คือ งานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการใช้บริโภคสินค้าต่าง ๆ ของผู้บริโภคซึ่งส่งผลต่อความเจริญเติบโตของสังคม ดังนั้นหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก จึงเป็นหน้าที่ขององค์การธุรกิจ ถ้าองค์การธุรกิจมีความรับผิดชอบและประสบความสำเร็จในการประกอบการ ก็จะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมหรือประเทศชาติ ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์การธุรกิจประสบความล้มเหลวในการประกอบการก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำไปด้วย ดังนั้น เศรษฐกิจของประเทศจึงต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์การธุรกิจ







11. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า ประกอบด้วย

1. เงินทุน เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้ธุรกิจสามารถเริ่มดำเนินงานได้ ถ้ามี ปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอ การดำเนินธุรกิจก็จะเกิดการหยุดชะงักซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นประเทศที่มีเงินทุนมากอย่างเพียงพอ ทำให้เศรษฐกิจ

ของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว

2. วัตถุดิบ เป็นปัจจัยที่นำมาใช้ในการแปรสภาพเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ ประเทศที่มีวัตถุดิบเองในประเทศจะได้เปรียบกว่าประเทศที่ต้องสั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและอาจเกิดปัญหาในด้านการขนส่งหากประเทศที่มีวัตถุดิบประสบปัญหาบางประการ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลางมีวัตถุดิบคือน้ำมัน การประกอบองค์การธุรกิจที่มีความต้องการน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตจะประสบปัญหาในช่วงเกิดสงครามในประเทศแถบตะวันออกกลางหรือใน

ช่วงที่ประเทศผู้ค้าน้ำมันร่วมมือกันขึ้นราคาน้ำมัน

3. ทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ ดังนั้นองค์การธุรกิจจะต้องทำการคัดเลือกคนที่มีความสามารถตรงกับความต้องการของสายงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตผลิตภัณฑ์

4. การจัดหา คือ การนำปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นทั้ง 3 ประการมาดำเนินการเพื่อให้มีคุณภาพสูงสุด โดยวางแผนการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ คือ การประกอบการธุรกิจนั่นเองจากปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าดังกล่าว ข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังค่อนข้างขาดแคลนปัจจัยสำคัญหลายประการจึงเป็นสาเหตุทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร



12. ปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจที่ประเทศไทยยังขาดแคลน

ปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ได้แก่

1. เงินทุน เนื่องด้วยในภาวะเศรษฐกิจถอถอยเช่นในปัจจุบัน (ปี 2542) บุคคลที่มีเงินหรือทรัพย์สินแต่ไม่นำทรัพย์สินมาลงทุนเพราะความเสี่ยงในการลงทุนขณะนี้ สูงมากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ เพราะธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้เงินที่

รับฝากไว้มีจำนวนมากเกินความต้องการของธนาคาร ธนาคารจึงต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงมา เงินทุนจากต่างประเทศ ก็ไม่นิยมมาลงทุนในประเทศไทย เพราะนโยบายของรัฐไม่ค่อยแน่นอน เช่น การลงทุนบางประเภทได้รับอนุมัติตามขั้นตอนของรัฐถูกต้องแล้วแต่เมื่อมีกลุ่มบุคคลรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลก็จะให้หยุดการดำเนินการ เพื่อทำการหาข้อมูลมาพิจารณา ทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินธุรกิจ

2. พลังงาน ในการดำเนินการธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม หรือากรขนส่งจำเป็นต้องใช้พลังงานในการผลิต พลังงานที่สำคัญที่สุดคือน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นพลังงานที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ในแต่ละปีประเทศไทยเสียเงินเป็นจำนวนมาก

เพื่อซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศผู้ค้าน้ำมันรวมตัวกันขึ้นค่าน้ำมัน ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในทุกด้าน ไม่เฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการขนส่งเท่านั้นค่าครองชีพของประชาชนก็สูงขึ้นด้วย

เพราะเกิดภาวะการปรับขึ้นราคาของสินค้า

3. ผู้ประกอบการขาดความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะการประกอบการองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเรื่องมาทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจ้างชาวต่างประเทศ

4. การส่งออกมีมูลค่าต่ำ เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์ส่งออกของประเทศไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตผลทางการเกษตร แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสูงกว่า

มูลค่าการส่งออก


แบบฝึกหัด ยังไม่ได้ อัฟโหลดนะลืมครับคืนนี้จะ อัฟโหลดให้ ขอบคุณที่โทรบอก

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่8

สถาบันที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ


การธนาคาร

1. ความหมายและความสำคัญของธนาคาร

ธนาคาร (Bank) คือ สถาบันการเงินทางธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระดมเงินออม นำไปให้บุคคลหรือธุรกิจอื่นกู้ยืมและทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินเช่น การรับรองเครดิตของผู้ขายหรือผู้ซื้อ การประกันการซื้อ - ขาย และหน้าที่อื่น ๆตามที่กฎหมายกำหนด ธุรกิจธนาคารเป็นธุรกิจสถาบันการเงิน ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจเนื่องจากปัจจุบัน การซื้อขายติดต่อกันระหว่างประเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางธนาคารเป็นธุรกิจที่ให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวก ความรวดเร็วและความมั่นคงปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ ทำให้การดำเนินธุรกิจทุกประเภทเป็นไปด้วยความคล่องตัว

2. ธนาคารกลาง

ธนาคารกลาง (Central Bank) เป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีบทบาทและมีความสำคัญในการอำนวยประโยชน์และสนับสนุนความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ ในแต่ละประเทศจะมีการจัดตั้งอย่างน้อยประเทศละหนึ่งธนาคาร การจัดตั้งธนาคารกลางครั้งแรกเริ่มจากประเทศในทวีปยุโรป แต่ในการจัดตั้งในช่วงแรก ๆ ธนาคารกลางยังไม่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก คือ ธนาคารกลางของประเทศอังกฤษในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจ และการเงินของประเทศต่าง ๆ ทั่วไปประสบปัญหาอย่างร้ายแรง

2.1 ลักษณะของธนาคารกลาง มีลักษณะสำคัญดังนี้

2.1.1 ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพ และก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางการเงิน และเศรษฐกิจของประเทศ โดยมิได้มุ่งหวังกำไร

2.1.2 ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ติดต่อกับธนาคารกลางของประเทศอื่น ธนาคารพาณิชย์ รัฐบาล และสถาบันการเงินอื่นเท่านั้น ธนาคารกลางจะไม่ติดต่อกับประชาชนหรือธุรกิจต่าง ๆ โดยทั่วไปโดยตรง

2.1.3 ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่ต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แต่ธนาคารกลางต้องมีอิสระในการดำเนินงานด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

2.2 หน้าที่ของธนาคารกลาง

หน้าที่หลักๆ โดยส่วนรวมของธนาคารกลางแต่ละประเทศ มีดังนี้

2.2.1 ออกธนบัตร

ธนาคารกลางทำหน้าที่ในการพิมพ์ธนบัตรเพื่อออกใช้ในแต่ละประเทศเพียงผู้เดียวเพื่อให้ปริมาณเงินที่มีหมุนเวียนในระบบการเงินอยู่ในระดับที่สมดุลกับปริมาณสินค้า และบริการตามความต้องการของผู้บริโภคได้

2.2.2 เป็นหน่วยธนาคารของรัฐบาล

ธนาคารกลางทำหน้าที่ในการรับฝากเงินจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลจ่ายเงินตามเช็คของรัฐบาล เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจำหน่ายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ของรัฐบาลรวมทั้งจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล ให้คำปรึกษาทางการเงินแก่รัฐบาล ให้กู้เงินแก่รัฐบาล

2.2.3 เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ

ธนาคารกลางทำหน้าที่ในการรับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อไว้เป็นเงินสำรองตามกฎหมาย ให้เงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งสุดท้ายในภาวะที่ธนาคารพาณิชย์ขาดแคลนเงินสด และทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชีให้บริการแก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อทำการแลกเปลี่ยนเช็ค ละเอกสารอื่น ๆ เพื่อเป็นการหักกลบลบหนี้กัน ในแต่ละวันจะปรากฏยอดคงเหลือสุทธิบันทึกในสมุดเงินฝากว่า ธนาคารใดเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กับอีกธนาคารหนึ่ง



2.2.4 รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ

ทุนสำรองระหว่างประเทศ หมายถึง เงินตราต่างประเทศ ทองคำหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศที่แต่ละประเทศจะต้องมีไว้ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ดูแลส่วนประกอบและปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศให้มีเสถียรภาพ และพยายามทำให้ปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นคือ ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลเพื่อประโยชน์แก่ประเทศ

2.2.5 ควบคุมดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาค่าของเงินตราให้มีเสถียรภาพ นอกจากนั้น ธนาคารกลางมีหน้าที่ดูแลการจ่ายเงินตราต่างประเทศ และการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ ดูแลการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างสุจริต

2.2.6 รักษาเสถียรภาพทางการเงิน

ธนาคารกลางทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้ปริมาณเงินตราที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจเหมาะสมกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

2.2.7 ควบคุมดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน ธนาคารกลางจึงมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินที่ให้บริการรับฝากเงินจากประชาชน และเพื่อให้การดำเนินงานมีผลประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศสูงที่สุด

3. ธนาคารในประเทศไทย

ธนาคารในประเทศไทยแบ่งออกได้ ดังนี้

3.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางของประเทศไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่กำกับกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ว่าการ รองผู้ว่าการ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธาน และมีกรรมการอื่นไม่น้อยกว่า 3 นาย ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย

3.1.1 หน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดังนี้

1) การออกธนบัตร

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ในการออกธนบัตรภายใต้เงื่อนไข 2 ประการคือ ออกธนบัตรใหม่ แลกธนบัตรเก่าที่ชำรุดเสียหาย และออกธนบัตรใหม่เมื่อได้รับทุนสำรองเงินตราเพิ่มขึ้นโรงพิมพ์ธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นหน่วยงานกึ่งอิสระขึ้นตรงต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่พิมพ์ธนบัตรและสิ่งพิมพ์ที่มีค่าอื่นโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส่วนกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังมีหน้าที่ผลิตเหรียญกษปณ์

2) เป็นนายธนาคารของรัฐบาล

ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่รักษาบัญชีเงินฝากและให้กู้แก่หน่ายงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่ซื้อขายเงินตราต่างประเทศให้แก่หน่วยงานของราชการและทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล การจ่ายดอกเบี้ยการไถ่ถอนพันธบัตร ซื้อลดตั๋วเงินคลัง



3) เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รักษาบัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์โดยธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะต้องมีเงินสดสำรองตามที่กฎหมายกำหนดฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นสำนักงานกลางในการหักบัญชีระหว่างธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งให้ ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเป็นสำนักงานกลางในการหักบัญชีระหว่างธนาคารพาณิชย์ เป็นแหล่งให้ ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเป็นแหล่งสุดท้ายเป็นศูนย์กลางการโอนเงินเข้าและออกระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดต่าง ๆ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ และทำหน้าที่ตรวจสอบการขออนุญาตเป็นธนาคารพาณิชย์ใหม่ หรือการเปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์

4) ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการติดต่อกับสถาบันการเงินต่างประเทศ และธนาคารกลางของต่างประเทศ รักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ ควบคุมดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และธนาคารกลางของต่างประเทศรักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ ควบคุมดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

5) รักษาเสถียรภาพทางการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ควบคุมดูแลปริมาณเงินให้มีจำนวนพอเหมาะกับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือภาวะเงินเฟ้อ โดยใช้นโยบายการเงิน ได้แก่ การซื้อขายหลักทรัพย์ การกำหนดอัตรารับช่วงซื้อลด การกำหนดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย การกำหนดอัตราดอกเบี้ย และการควบคุมปริมาณเงินกู้

6) กำกับ ควบคุม ดูแลธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินบางประเภทตาม

พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2522 โดยมีหน้าที่ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ควบคุมการขยายตัวของระบบธนาคารพาณิชย์ให้คำปรึกษาแนะนำและส่งข้อมูลข่าสารที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้

ธนาคารพาณิชย์



3.2 ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Banks) เป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมเงินออมและแหล่งให้กู้ใหญ่ที่สำคัญที่สุดในตลาดการเงิน

3.2.1 หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์

1) การรับฝากเงิน

ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากประชาชนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

(1) เงินฝากประเภทกระแสรายวัน (Demand Deposit หรือ Current Account) เป็นเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถามผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราต่ำ แต่จะได้รับความสะดวกในการใช้เช็ค เมื่อต้องการใช้จ่ายเงินด้วยความปลอดภัยโดยไม่ต้องใช้เงินสด

(2) เงินฝากประเภทประจำ (Time Deposit หรือ Fixe Deposit) เป็นเงินฝากประเภทผู้ฝากจะถอนคืนได้เมื่อครบกำหนดเวลาตามข้อตกลง โดยผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าเงินฝากประเภทอื่น ในกรณีผู้ฝากต้องการถอนเงินก่อนครบกำหนดเวลาตามซื้อตกลงสามารถทำได้ แต่จะได้ได้รับดอกเบี้ยครบตามที่ตกลงไว้

(3) เงินฝากประเภทออมทรัพย์ หรือเงินฝากสะสมทรัพย์ (Savings Deposit) เป็นเงินฝากประเภทผู้ฝากสามารถฝากเงินหรือถอนเงิน โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าเงินฝากประเภทประจำ







2) การสร้างเงินฝาก

ธนาคารพาณิชย์ สร้างเงินฝากได้โดยการขยายเครดิต หมายถึง การให้ลูกค้ากู้ยืมเงิน แบ่งเป็น 3 วิธี คือ

(1) ให้กู้โดยเบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารให้กู้ประเภทเบิกเงินเกินบัญชีแก่ลูกค้าที่มีเงินฝากในบัญชีกับธนาคาร โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่เบิกเกินกว่าเงินฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

(2) ให้กู้โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้กู้ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีเงินฝากในบัญชีกับธนาคาร แต่ผู้กู้จะต้องนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันในการกู้

(3) ให้กู้โดยการรับซื้อตั๋วแลกเงิน ธนาคารจะรับซื้อลดตั๋วเงินต่าง ๆ ที่มีผู้นำตั๋วเงินที่ยังไม่ครบเวลาขายให้ธนาคาร

3) ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่ซื้อขายเงินตราต่างประเทศในราคาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยธนาคารพาณิชย์จะได้กำไรจากผลต่างของราคาซื้อและราคาขาย

4) ให้บริการด้านการค้าระหว่างประเทศ การติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่บริการให้การติดต่อซื้อขายเป็นไปด้วยความสะดวก และเชื่อถือได้โดยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อการสั่งซื้อสินค้าหรือส่งสินค้าออก

เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินต่างประเทศ ออกหนังสือค้ำประกันให้ลูกค้าของธนาคารเมื่อต้องการออกสินค้า

5) ให้บริการอื่น ได้แก่ ให้บริการโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศให้บริการให้เช่าตู้นิรภัยเก็บของมีค่า ให้บริการติดต่อกับธนาคารต่าง ๆ ทั่วโลก ให้บริการรับชำระค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา ให้บริการจำหน่ายเช็คของขวัญและให้

บริการทางด้านวิชาการ



3.3 ธนาคารเฉพาะกิจ

ธนาคารเฉพาะกิจเป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น โดยทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งนั้น ๆ โดยเฉพาะธนาคารเฉพาะกิจ ดังนี้

3.3.1 ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสิน เป็นสถานบันเงินของรัฐ อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ในรูปของรัฐวิสาหกิจธนาคารออมสินเริ่มก่อตั้งในประเทศไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่โดยจัดตั้งเป็นคลังออมสินตามพระราชบัญญัติออมสินเมื่อ พ.ศ. 2456 โดยทรงมีพระราชดำริ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการออมทรัพย์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คลังออมสินอยู่ในการดำเนินการของกรมไปรษณีย์โทรเลขหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้ยกร่างพระราชบัญญัติคลังออมสิน ขึ้นเป็นองค์การของรัฐ แยกออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขต่อมา พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติออมสิน จัดตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคล เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา ดดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้กำกับดูแลกิจการธนาคารออมสิน และมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการธนาคารออมสินโดยมีผู้อำนวยการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการธนาคารออมสิน

3.3.2 หน้าที่ของธนาคารออมสิน

1) หน้าที่ด้านการออมสิน

(1.1) รับฝากเงินออมสิน ผู้ฝากเงินประเภทนี้เป็นหน่วยราชการ องค์การธุรกิจวัดหรือบุคคลธรรมดา โดยผู้ฝากจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะต้องฝากเงินครั้งละไม่ต่ำกว่า 1 บาท

(1.2) ออกสลากออมสินพิเศษ สลากออมสินพิเศษราคาฉบับละ 20 บาท

(1.3) เพื่อผู้กู้จักได้สร้าง ขยาย หรือซ่อมแซมอาคารของตนเอง

(1.4) เพื่อผู้กู้จักได้ไถ่ถอนจำนองอันผูกพันที่ดินหรืออาคารของตนเอง

(1.5) เพื่อผู้กู้จักได้ไถ่ถอน ซึ่งการขายฝากที่ดินหรืออาคารของตนเอง

(1.6) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ในการลงทุนจัดการเคหะ



2) รับจำนำหรือจำนองทรัพย์สิน เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม

3) รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

4) กิจการของธนาคารตามพระราชกฤษฎีกา



3.6 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธอน.)

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ ธอน. โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูและรับผิดชอบการดำเนินงานของธนาคาร เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจการนำเข้า และส่งออกของ

ประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงมีความต้องการให้รัฐบาลได้มีส่วนช่วยเหลือ ในด้านการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของ ธสน. จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การสนับสนุน ส่งเสริม การนำเข้า การส่งออก การลงทุนโดยดำเนินการต่าง ๆ

ที่ไม่เป็นการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ อันได้แก่

1) การให้สินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการส่งออกของประเทศ

2) การค้ำประกัน ให้บริการค้ำประกันแก่ผู้ส่งออกที่มีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอขอกู้จากสถาบันกรเงินอื่น

3) การรับประกัน ให้บริการรับประกันแก่ผู้ส่งออก กรณีผู้ซื้อไม่สามารถชำระเงินให้แก่ผู้ส่งออกได้

4) การรับช่วงตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ระยะสั้นแก่ผู้ส่งออก

5) การเข้าร่วมลงทุนในกิจการต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย และร่วมลงทุนในกิจการในประเทศเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าของประเทศไทย

































การขนส่ง

ความหมายของการขนส่ง

ความหมายของการขนส่งโดยทั่วไป หมายถึง "การเคลื่อนย้ายบุคคล สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยอุปกรณ์ในการขนส่ง"

ความหมายของการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 หมายถึง "การขนส่ง คน สัตว์ หรือสิ่งของโดยทางบกด้วยรถ"

ความหมายของการขนส่งทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง "การเคลื่อนย้ายบุคคลสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยอุปกรณ์ในการขนส่ง ตามความต้องการและเกิดอรรถประโยชน์"



บทบาทของการขนส่ง

บทบาทของการขนส่งที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ มีดังนี้

การขนส่งก่อให้เกิดอรรถประโยชน์เกี่ยวกับสถานที่และเวลา การขนส่งเป็นการเคลื่อนย้ายบุคคล สิ่งที่มีชีวิต หรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งการเคลื่อนย้ายสิ่งของหรือสินค้าจากที่หนึ่งที่มีสินค้าจำนวนมากเกินความต้องการของผู้บริโภค ไปอีกที่หนึ่งที่ความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าสินค้า จะทำให้ราคาของสินค้าเพิ่มขึ้นและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการประหยัดเวลาในการขนส่ง และการเดินทาง การขนส่งเป็นตัวเชื่อมโยงการผลิตและการบริโภค การขนส่งเป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งต่าง ๆเพื่อนำมาผลิตสินค้า เช่น โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ นำไม้จากจังหวัดตราดมาทำการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่จังหวัดระยอง เมื่อผลิตเสร็จแล้วการขนส่งเป็นตัวกลางกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่บริโภค เช่น นำเฟอร์นิเจอร์จากจังหวัดระยองมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น



ความสำคัญของการขนส่ง

ความสำคัญของการขนส่ง สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การขนส่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

1. การขนส่งช่วยขยายตลาดให้กว้างขึ้น เมื่อธุรกิจทำการผลิตสินค้าได้ การขนส่งจะทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ตลาดของสินค้าขยายตัวกว้างขึ้น รายได้จากการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจก็จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่

2. การขนส่งช่วยลดต้นทุนในการผลิต ในการผลิตธุรกิจจำเป็นต้องมีการขนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบมายังแหล่งผลิต การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะสามารถทำการขนส่งวัตถุดิบในแต่ละครั้งได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตสินค้าได้ และการที่ธุรกิจสามารถขยายตลาดโดยจำหน่ายสินค้าทั้งภายในและภายนอกได้ ทำให้ธุรกิจต้องทำการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในการผลิตธุรกิจขนาดใหญ่ จึงใช้เครื่องจักรในการผลิต ก่อให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่ และช่วยลดต้นทุนในการผลิตต่อหน่วยได้

3. การขนส่งช่วยให้เกิดการจ้างแรงงาน การขนส่งก่อให้เกิดการผลิตขนาดใหญ่ทำให้ธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากขึ้นและเป็นการนำแรงงานจากที่หนึ่งที่มีแรงงานจำนวนมากไปอีกที่หนึ่งที่มีความต้องการแรงงาน เช่น คนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง คนส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ การขนส่งทำให้คนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถมาทำงานในภาคกลางหรือภาคตะวันออกที่มีความต้องการแรงงานได้ หรือคนงานในประเทศไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ก็เนื่องจากการขนส่งที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง

4. การขนส่งช่วยให้เกิดดุลยภาพในระดับราคาสินค้า ธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าการขนส่งจะทำหน้าที่นำสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคเช่น จังหวัดจันทบุรี ในฤดูกาลเงาะ จะมีผลผลิตเงาะออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสามารถนำเงาะไปจำหน่ายได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศและราคาของเงาะที่จำหน่ายในแต่ละจังหวัดจะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิด

ดุลยภาพในระดับราคา ถ้าการขนส่งไม่มีประสิทธิภาพเงาะในจังหวัดจันทบุรีจะมีราคาถูกมาก ส่วนเงาะที่จำหน่ายในจังหวัดอื่นจะมีราคาสูงมาก เป็นต้น

5. การขนส่งช่วยให้สินค้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ การขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ทำให้สินค้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ การขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ทำให้สินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น ผู้บริโภคในประเทศคูเวตสั่งซื้อดอกกุหลาบจากจังหวัดเชียงใหม่ การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้บริโภคได้รับดอกกุหลาบที่มีความสวยและสดเสมือนตัดจากต้นกุหลาบใหม่ ๆ



ด้านสังคมและวัฒนธรรม

การขนส่งมีความสำคัญในด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนี้

1. การขนส่งช่วยให้เกิดการขยายเมือง ปัจจุบันประชาชนไม่จำเป็นต้องแออัดอยู่เฉพาะภายในใจกลางเมืองเท่านั้น เพราะการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วประชาชนสามารถมีที่พักอาศัยกระจายไปในถิ่นต่าง ๆ ได้ เป็นการขยายเมืองให้ใหญ่ขึ้น

2. การขนส่งทำให้มาตรฐานการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น เช่น เดิมสถานศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจะมีอยู่เฉพาะในกรุงเทพมหานคร นักศึกษาที่อยู่ต่างจังหวัดจำเป็นต้องย้ายเข้ามาในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแต่ปัจจุบันการคมนาคมขนส่งที่สะดวกขึ้น สถานศึกษาได้ขยายไปอยู่ตามภาคต่าง ๆนักศึกษาสามารถจะศึกษาได้ในภูมิภาคที่ตนเองอยู่อาศัย โดยไม่จำเป็นต้องย้ายสถานที่อยู่ทำให้มาตรฐานการศึกษาของประชาชนดีขึ้น

3. การขนส่งทำให้มนุษย์มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างสังคมต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งกันและกัน โดยการติดต่อค้าขายกันหรือโดยการท่องเที่ยว เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างสังคมมนุษย์

4. การขนส่งทำให้มนุษย์มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการระหว่างกันทำให้ มาตรฐานความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแต่ละสังคมดีขึ้นเท่าเทียมกัน เช่น ประชาชนในจังหวัดชลบุรี สามารถจับสัตว์ทะเลได้เป็นจำนวนมาก นำส่งไปขายในจังหวัดอื่น ๆ ทำให้เกิดรายได้ สามารถนำรายได้ที่ได้รับไปจัดหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง ทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตดีขึ้น



ด้านการปกครองและการป้องกันประเทศ

การขนส่งมีความสำคัญในด้านปกครองและการป้องกันประเทศ ดังนี้

1. การขนส่งทำให้ประชาชนในประเทศแต่ละจังหวัดสามารถติดต่อกันได้โดยสะดวก ทำให้ประชาชนสามารถได้รับทราบนโยบายของรัฐบาล ทำให้การปกครองของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการคมนาคมขนส่งที่สะดวกทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องอาศัยวิธีการเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างดี เพราะไม่ว่าประชาชนจะอยู่อาศัยที่ใดก็สามารถเดินทางไปลงคะแนนเลือกตั้งได้โดยสะดวก

2. การขนส่งทำให้รัฐบาลสามารถเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารไปให้แก่ทหารในยามเกิดศึกสงครามได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้การป้องกันประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของการขนส่ง

การขนส่งทุกประเภทมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1. ผู้ประกอบการขนส่ง หมายถึง ผู้ดำเนินกิจการขนส่ง ได้แก่ เจ้าของกิจการขนส่งเจ้าของอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการขนส่งผู้ประกอบการขนส่งอาจจะเป็นเอกชนจัดตั้งในรูปกิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือเป็นรัฐบาลในรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็ได้

2. เส้นทางการขนส่ง หมายถึง ทางที่ใช้ในการขนส่ง เช่น การขนส่งทางน้ำ เส้นทางขนส่ง ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง มหาสมุทร การขนส่งทางบก เส้นทางขนส่งทางบก ได้แก่ ถนนเป็นต้น

3. เครื่องมืออุปกรณ์ขนส่ง หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่ง เช่นการขนส่งทางน้ำ เครื่องมืออุปกรณ์ขนส่งได้แก่ เรือ การขนส่งทางบก เครื่องมืออุปกรณ์ขนส่งได้แก่ รถยนต์ รถไฟ การขนส่งทางอากาศ เครื่องมืออุปกรณืขนส่ง ได้แก่ เครื่องบิน

4. สถานีรับ-ส่ง หมายถึง สถานที่ที่กำหนดให้เป็นจุดรับ-ส่งคน ส่งมีชีวิต หรือสิ่งของที่จะทำการขนส่ง เช่น ป้ายจอดรถประจำทางท่าอากาศยานดอนเมือง สถานีรถไฟหัวลำโพง สถานีขนส่งสายใต้



ลักษณะของการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

การขนส่งเป็นส่งที่มีความจำเป็น และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบันลักษณะของการขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ

1. ความปลอดภัย การขนส่งเป็นการเคลื่อนที่ของคน ส่งมีชีวิต สิ่งของจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ดังนั้นการขนส่งจึงต้องดำเนินการด้วยความปลอดภัย เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น แก่ชีวิต และทรัพย์สินที่ทำการขนส่ง

2. ความรวดเร็วตรงต่อเวลา การดำเนินธุรกิจทุกประเภทมีการแข่งขันกันในทุกด้านรวมทั้งด้านเวลาด้วย การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมีความรวดเร็วเพื่อให้ทันคู่แข่งขันและสินค้าบางอย่างมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เช่น ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิต ถ้าขนส่งช้าจะทำให้สินค้าเกิดการเน่าเสียหรือเสียชีวิตได้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจ

3. ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการประกอบธุรกิจสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องการคือผลตอบแทนในรูปของผลประโยชน์หรือกำไรซึ่งจะได้จากราคาขายหักด้วยต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายตลาดในปัจจุบันเป็นตลาดของผู้บริโภค เนื่องจากมีผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ราคาขายของสินค้าประเภทเดียวกันจะมีราคาขายที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นธุรกิจใดสามารถประหยัดต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายได้มากกว่าคู่แข่งขันจะทำให้ได้กำไรมากกว่าคู่แข่งขัน การขนส่งเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเลือกแบบการขนส่งที่เหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ

4. ความสะดวกสบาย การขนส่งมีหลายรูปแบบได้แก่ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศผู้ใช้บริการการขนส่ง นอกจากจะต้องการความปลอดภัย ความรวดเร็ว แล้วยังต้องการความสะดวกสบายอีกด้วย เช่น สมัยโบราณการขนส่งคมนาคมทางบก ใช้เกวียนโดยสัตว์เทียมลากแต่ปัจจุบัน การขนส่งทางบกมีรถยนต์ รถบรรทุก รถไฟ ซึ่งก่อให้เกิดความสะดวกสบายยิ่งขึ้น



ประเภทของการขนส่ง

การขนส่งสามารถจำแนกประเภทได้หลายประเภท ดังนี้

จำแนกตามลักษณะของกฎหมายไทย ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2522

1. การขนส่งส่วนบุคคล คือ การขนส่งเพื่อธุรกิจการค้าของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม

2. การรับจัดการขนส่ง คือ การรับจ้างรวบรวมคน สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ทำการขนส่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งในความรับผิดชอบของผู้จัดการขนส่ง

3. การขนส่งประจำทาง คือ การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด

4. การขนส่งไม่ประจำทาง คือ การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่กำหนดเส้นทาง

5. การขนส่งระหว่างจังหวัด คือ การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งส่วนบุคคล ที่ทำการขนส่งระหว่างจังหวัด

6. การขนส่งระหว่างประเทศ คือ การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งส่วนบุคคล ที่ทำการขนส่งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ

7. การขนส่โดยรถขนาดเล็ก คือ การขนส่งคน สิ่งที่มีชีวิต สิ่งของ เพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนดด้วยรถ โดยน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน 4,000 กิโลกรัม



จำแนกตามลักษณะของเส้นทาง แบ่งออกได้ ดังนี้

1. การขนส่งทางถนน มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.1 ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการขนส่งทางถนนสามารถจำแนกประเภทได้หลายลักษณะคือ

1) จำแนกตามลักษณะของผู้ใช้บริการ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

(1) ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสาร เช่น รถยนต์นั่งรับจ้าง รถยนต์โดยสารประจำทาง

(2) ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า เช่น องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ผู้รับขนส่งสินค้าของบริษัทเอกชน

2) จำแนกตามลักษณะของผู้ลงทุน แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

(1) รัฐเป็นผู้ประกอบการขนส่ง คือ การประกอบการขนส่งโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น บริษัทขนส่งจำกัด องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

(2) เอกชนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง คือ การประกอบการขนส่งโดยบริษัทของเอกชน

(3) รัฐและเอกชนร่วมกันเป็นผู้ประกอบการขนส่ง คือ การประกอบการขนส่งร่วม เช่น บริษัทขนส่ง (บขส.) องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.)

1.2 ยานยนต์ในการขนส่ง ยานยนต์ที่ใช้ในการขนส่งทางถนน คือ รถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) รถยนต์บรรทุกผู้โดยสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

(1) รถยนต์โดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถยนต์โดยสารประจำทาง และรถยนต์โดยสารไม่ประจำทาง

(2) รถยนต์โดยสารบริการ ได้แก่ รถยนต์ที่ให้บริการบรรทุกผู้โดยสารเป็นครั้งคราว เช่น รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์บริการนักทัศนาจร

(3) รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล ได้แก่ รถยนต์โดยสารอื่นที่นอกเหนือจากรถยนต์โดยสารสาธารณะ และรถยนต์โดยสารบริการ เช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล

2) รถยนต์บรรทุกสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

(1) รถยนต์บรรทุกสาธารณะ คือ รถยนต์บรรทุกรับขนส่งสินค้าเพื่อสินจ้าง

(2) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล คือ รถยนต์บรรทุกสินค้าเพื่อธุรกิจการค้าของตนเอง

1.3 ถนนหรือทางหลวง คือ เส้นทางรถยนต์ สำหรับการขนส่งทางบก เพื่อให้ประชาชนในทุกจังหวัดได้เดินทางติดต่อค้าขายกันได้ด้วยความสะดวก



ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น

(1) ทางหลวงพิเศษ (Special Highways) คือ ทางหลวงเพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ได้แก่ สายธนบุรี-ปากท่อสายพระประแดง-บางบัวทอง สายพระประแดง-บางปะอิน สายบางกอกน้อย-นครชัยศรี

(2) ทางหลวงแผ่นดิน (National Highways) คือ ทางหลวงที่เชื่อมต่อภูมิภาคที่ สำคัญทั่วประเทศเป็นถนนที่มีความสำคัญต่อประเทศในด้านเศรษฐกิจ การปกครองและการป้องกันประเทศ ได้แก่

1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 คือ ถนนพหลโยธิน เริ่มจากกรุงเทพมหานครสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย เป็นถนนสายหลักของภาคเหนือ

2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 คือ ถนนมิตรภาพโดยแยกจากถนนพหลโยธินที่จังหวัดสระบุรีสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย เป็นถนนสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 คือ ถนนสุขุมวิท เริ่มจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดตราด เป็นทางหลวงแผ่นดินที่สั้นที่สุด

4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 คือ ถนนเพชรเกษม เริ่มจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดนราธิวาส เป็นถนนสายหลักของภาคใต้

(3) ทางหลวงจังหวัด (Provinicial Highways) คือ ทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างศาลากลางจังหวัดไปยังสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น

(4) ทางหลวงชนบท (Rural Roads) คือ ทางหลวงที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาลจังหวัด

(5) ทางหลวงเทศบาล (Municipal Roads) คือ ทางหลวงที่อยู่ในเขตเทศบาลของจังหวัด

(6) ทางหลวงสุขาภิบาล (Roads In Small Municipal Area) คือ ทางหลวงที่อยู่ในเขตสุขาภิบาล

(7) ทางหลวงสัมปทาน (Concession Highways) คือ ทางหลวงที่รัฐบาลให้สัมปทานในการก่อสร้างแก่เอกชนเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการคมนาคมและเพื่อการอุตสาหกรรม

4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนน มีดังนี้

(1) กรมการขนส่งทางบก มีหน้าที่รับผิดชอบด้านทะเบียนและภาษีรถยนต์และล้อเลื่อนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2531 และรับผิดชอบในการจัดระเบียบและควบคุมการขนส่งทางรถยนต์ของประเทศให้มีบริการอย่างเพียงพอและมีความปลอดภัย

(2) กรมทางหลวง มีหน้าที่รับผิดชอบอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ทางหลวง และสำรวจออกแบบ ขยาย บูรณะซ่อมแซมทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และทางหลวงสัมปทานทั่วราชอาณาจักร

(3) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ดำเนินการก่อสร้าง ซ่อมบำรุงรักษา และดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็ว

(4) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ดำเนินการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ประจำทาง ในเขตกรุงเทพมหานคร และระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ

จังหวัดปทุมธานี

(5) บริษัทขนส่ง เป็นบริษัทของรัฐที่มีหน้าที่ดำเนินกิจการขนส่งในระหว่างเส้นทางกรุงเทพมหานครกับชานเมือง และในเส้นทางส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักร

(6) องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่รับขนส่งทุกชนิดให้แก่รัฐ และเอกชน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร

ข้อดีของการขนส่งทางถนน

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย การขนส่งทางถนนโดยรถยนต์ในระยะทางใกล้ ๆ จะถูกกว่าการขนส่งประเภทอื่น

2. เส้นทางการขนส่งทางถนน มีถนนหลายสาย ทำให้การขนส่งทางถนนสามารถเลือกเส้นทางการขนส่งได้ เพื่อความเหมาะสม

3. การขนส่งทางถนนสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ ที่มีถนนเข้าถึงทำให้สามารถบริการได้จนถึงตัวผู้รับโดยตรง

4. การขนส่งทางถนนเป็นตัวเชื่อมระหว่างการขนส่งประเภทอื่นที่ไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยตรง ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ ทางน้ำ ทางรถไฟ

5. ยานยนต์ในการขนส่งทางถนนคือ รถยนต์ มีความคล่องตัวในการขนส่งและสามารถดัดแปลงให้เหมาะกับสิ่งของที่จะทำการขนส่งได้

6. สะดวกในการขนส่ง ไม่ต้องขนถ่ายคนหรือสินค้าหลายเที่ยว สามารถขนส่งเพียงครั้งเดียวทำให้ประหยัดเวลาในการขนส่ง

7. การขนส่งทางถนนไม่มีข้อจำกัด เรื่อง ตารางเวลาการเดินรถ และสามารถมีรถให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้ตลอดเวลา



ข้อจำกัดของการขนส่งทางถนน

1. การขนส่งทางถนนด้วยรถยนต์ในระยะทางไกล ๆ จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและปริมาณของสินค้าหรือคนที่บรรทุกได้จำกัดจำนวน

2. การขนส่งทางถนนด้วยรถยนต์ สถิติการเกิดอุบัติเหตุมีบ่อยครั้ง เนื่องจากการจราจรที่หนาแน่น

3. สภาพถนนไม่สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล ในบางท้องถิ่นถนนถมด้วยลูกรัง ในฤดูฝนถนนบางสายจึงไม่สามารถใช้ได้การขนส่งทางรถไฟมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ผู้ประกอบการ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย

2. ขบวนรถไฟ คือ อุปกรณ์ขนส่งทางรถไฟ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1) ขบวนรถไฟโดยสาร ใช้ขนส่งผู้โดยสาร มีขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา รถดีเซลราง

2) ขบวนรถไฟสินค้า ใช้ขนส่งสินค้า แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

(1) รถปิด คือ รถไฟที่ปิดทุกด้านเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่เสียหายง่ายเมื่อถูกแดด ถูกฝน

(2) รถเปิด คือ รถไฟที่ไม่มีหลังคา เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าที่ไม่เสียหายเมื่อถูกแดด ถูกฝน

(3) รถเฉพาะกิจ คือ รถไฟที่ออกแบบสำหรับใช้เฉพาะงาน เช่น รถบรรทุก น้ำมัน

รถบรรทุกปูนซีเมนต์เทล่างระบบอัดลม รถบรรทุกน้ำ



3. เส้นทางรถไฟ

การสร้างเส้นทางรถไฟ รัฐบาลจะคำนึงถึงความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เส้นทางโครงสร้างรถไฟแบ่งออกเป็น 4 ภาค รวมเส้นทางที่เปิดใช้แล้ว 5 เส้นทางใน 7 เส้น คือ

(1) เส้นทางรถไฟภาคเหนือ เริ่มต้นที่กรุงเทพมหานครสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ผ่านเส้นทางสำคัญ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัยอุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน

(2) เส้นทางรถไฟภาคตะวนออก แบ่งออกเป็น 2 สาย สายที่ 1 เริ่มต้นที่กรุงเทพมหานครสิ้นสุดที่อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และสายที่ 2 เชื่อมต่อจากกรุงเทพมหานคร ไปสิ้นสุดที่ท่าเรือสัตหีบโดยผ่านเส้นทางสำคัญได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรีระยอง

(3) เส้นทางรถไฟภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 2 สาย โดยสายที่ 1เริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย และสายที่ 2 เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานครไปสิ้นสุดที่จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านเส้นทางที่สำคัญได้แก่ สระบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่นอุดรธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ

(4) เส้นทางรถไฟภาคใต้ เริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลา เชื่อมต่อไปถึงประเทศมาเลยเซีย และสิงคโปร์ ผ่านเส้นทางที่สำคัญได้แก่ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุงสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

(5) เส้นทางรถไฟสายตะวันตก เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานครไปสิ้นสุดที่สถานีน้ำตกเขาพัง จังหวัดกาญจนบุรี

4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางรถไฟ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ดำเนินการให้บริการรถไฟทั้งรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า



ข้อดีของการขนส่งทางรถไฟ

1. ขนส่งสินค้าได้ปริมาณคราวละมาก ๆ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก สามารถเพิ่มตู้ขนส่งได้เพื่อความเหมาะสม

2. ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับการขนส่งระยะทางไกล ๆ

3. การขนส่งทางรถไฟเป็นการขนส่งทางบกที่ปลอดภัยกว่าการขนส่งทางรถยนต์

4. การขนส่งทางรถไฟมีตารางเวลาเดินรถที่แน่นอน ทำให้การขนส่งถึงปลายทางเวลาที่แน่นอน

ข้อจำกัดของการขนส่งทางรถไฟ

1. การขนส่งทางรถไฟมีเส้นทางที่จำกัด ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ ทำให้ขาดความคล่องตัวในการให้บริการ ต้องมีการขนถ่ายหลายเที่ยวทำให้เกิดการล่าช้า

2. การขนส่งทางรถไฟมีระเบียบพิธีการในการขนส่งมาก ทำให้ไม่สะดวกในการใช้บริการ

3. การขนส่งทางรถไฟไม่เหมาะกับสินค้าที่ได้รับความเสียหายได้ง่าย เช่น เครื่องแก้ว ดอกไม้สด

4. เส้นทางรถไฟเสียค่าดูแลรักษาสูง

5. การขนส่งทางรถไฟไม่เหมาะกับการขนส่งสินค้าปริมาณน้อย ๆ เพราะเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหน่วยจะสูง



การขนส่งทางน้ำ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ผู้ประกอบการ

1) ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประจำทาง มีหน้าที่ในการให้บริการทางน้ำโดยมีเส้นทางและมีกำหนดตารางเดินเรืออัตราค่าระวาง และเงื่อนไขในการขนส่งที่แน่นอน

2) ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำที่ไม่ประจำทาง มีหน้าที่ในการให้บริการทางน้ำโดยไม่มีเส้นทางและตารางเดินเรือที่แน่นอน โดยให้บริการเมื่อมีผู้เรียกใช้บริการ เรียกว่า เรือจร (Tramps)

3) ผู้ประกอบการที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือ (Shipping Agent) คือ ทำหน้าที่ในการจัดหาผู้โดยสารหรือสินค้าให้บริษัทเรือโดยตัวแทนเรือรับผิดชอบเกี่ยวกับพิธีการเอกสารต่าง ๆ ในการนำเรือเข้า-ออกจากท่าเรือ การนำสินค้าลงเรือ ขนถ่ายสินค้าจากเรือ

2. ยานพาหนะ ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งทางน้ำ คือ เรือ แบ่งออกได้ดังนี้

1) เรือโดยสาร คือ เรือที่ทำหน้าที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสารทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ

2) เรือสินค้า คือ เรือที่ทำหน้าที่ให้บริการขนส่งสินค้า ได้แก่ เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป

เรือบรรทุกสินค้าแบบเทกองเรือบรรทุกน้ำมัน เรือคอนเทนเนอร์

3) เรือเฉพาะกิจ คือ เรือที่ทำหน้าที่ให้บริการหรือใช้งานเฉพาะเรื่อง เช่น เรือลากจูง เรือประมง เรือขุด ฯลฯ

3. ท่าเรือและเส้นทางเดินเรือ ท่าเรือ คื สถานที่จอดเรือ ทำหน้าที่ให้บริการอำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งทางเรือ เช่น ให้บริการนำมัน ให้บริการน้ำมัน ให้บริการน้ำ ให้บริการขนย้ายสินค้า ให้บริการเก็บรักษาสินค้า ให้บริการซ่อมเรือได้แก่ ท่าเรือเพื่อการขนส่งทางลำน้ำท่าเรือเพื่อการขนส่งชายฝั่ง ท่าเรือเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ





เส้นทางเดินเรือ แบ่งออกได้ ดังนี้

1. เส้นทางเดินเรือภายในประเทศ เป็นเส้นทางการเดินเรือเพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสารภายในประเทศโดยใช้แม่น้ำลำคลอง แบ่งได้ดังนี้

1) เส้นทางเดินเรือสายเหนือ ใช้แม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน

2) เส้นทางเดินเรือสายตะวันออก ใช้แม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำบางประกง

3) เส้นทางเดินเรือสายตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้แม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำป่าสัก

4) เส้นทางเดินเรือสายตะวันตก ใช้แม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำสุพรรณและแม่น้ำแม่กลอง



2. เส้นทางเดินเรือชายฝั่ง เส้นทางเดินเรือชายฝั่งของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางระหว่างกรุงเทพมาหาครกับชายฝั่งต่าง ๆ ของจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ ท่าเรือ ท่าทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ท่าเรือกระบี่จังหวัดกระบี่ ท่าเรือกันตัง จังหวัดตรัง ท่าเรือปัตตานีจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นท่าเรือที่รัฐสร้างขึ้น และยังมีท่เรือที่เอกชนสร้างขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก



3. เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ เส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศของประเทศไทย ได้แก่ท่าเรือพาณิชย์ เช่น ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือสัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ท่าเรือน้ำลึกสงขลา



4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ มีดังนี้

1) กรมเจ้าท่า มีหน้าที่ในการก่อสร้าง ปรับปรุง ดูแลท่าเรือ ควบคุมการเดินเรือ การจดทะเบียนเรือ ออกใบอนุญาติเรือ

2) การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีหน้าที่พัฒนาปรับปรุงท่าเรือให้ทันสมัยรับดำเนินการเคลื่อนย้ายสินค้าเก็บรักษาสินค้า ประสานงานกับหน่วยราชการอื่น ๆ และท่าเรือต่างประเทศ

3) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย์ ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับการพาณิชย์นาวีเสนอโครงการแผนงานและมาตรฐานของการพาณิชย์นาวีเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเลการติดต่อสื่อสาร การประกันภัยทางทะเลต่อคณะกรรมการการศึกษาวิจัยและประสานงานในทางวิชาการเกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล

4) บริษัทไทยเดินเรือทะเลจำกัด ทำหน้าที่ในการจัดหารายได้และเงินตราต่างประเทศจากการเดินเรือทะเลและในยามเกิดสงคราม บริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด ทำหน้าที่มิให้การขนส่งทางทะเลหยุดชะงัก

ข้อดีของการขนส่งทางน้ำ

1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง อัตราค่าขนส่งทางน้ำถูกว่าอัตราค่าขนส่งประเภทอื่น ๆ

2. สามารถขนส่งสินค้าได้คราวละจำนวนมาก

3. การขนส่งทางน้ำโดยเฉพาะการขนส่งทางทะเลมีระบบการประกันภัยที่จะได้รับการชดใช้เมื่อเรือหรือสินค้าได้รับความเสียหายเมื่อมีภัยเกิดขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจในความเสี่ยงทางการขนส่ง

4. การขนส่งทางน้ำมีความปลอดภัยกว่าการขนส่งทางถนน

ข้อจำกัดของการขนส่งทางน้ำ

1. การขนส่งทางน้ำ มีความล่าช้ามากกว่าการขนส่งประเภทอื่น ทำให้ไม่เหมาะกับสินค้าประเภทเสียหายได้ง่าย

2. การขนส่งทางน้ำ บางฤดูกาลไม่สะดวกในการขนส่ง เช่น ในฤดูแล้งแม่น้ำลำคลองบางสายน้ำจะลดลงทำให้ตื้นเขิน เรือไม่สามารถเดินทางผ่านไปได้ หรือในฤดูฝนคลื่นลมแรงเรือไม่สามารถออกเดินทางได้

3. การขนส่งทางน้ำ ไม่สามารถให้บริการถึงมือผู้รับได้โดยตรง เนื่องจากเส้นทางเดินเรือ คือแม่น้ำ ลำคลองมีความจำกัดของเส้นทาง



การขนส่งทางอากาศ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ผู้ประกอบ ผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศ คือ บริษัทการบิน (Airlines) ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสาร และสินค้า ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แบ่งเป็น

1) บริษัทการบินให้บริการประจำตามกำหนดเวลา มีหน้าที่ให้บริการตามตารางการบินและเส้นทางการบินที่กำหนดแน่นอน ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด

2) บริษัทการบินให้บริการไม่ประจำ มีหน้าที่ให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งมีทั้งเครื่องบินขนาดเล็ก เครื่องบินขนาดใหญ่

2. ยานพาหนะและเส้นทางบิน ยานพาหนะ ที่ใช้สำหรับการขนส่งทางอากาศ คือ เครื่องบิน แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

1) เครื่องบินโดยสารที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ได้แก่ เครื่องบินแบบโบอิ้ง 747 โบอิ้ง 737 และเครื่องบินแอร์บัส เป็นต้น

2) เครื่องบินบรรทุกสินค้าที่ให้บริการขนส่งเฉพาะสินค้า มีลักษณะเฉพาะคือบนเครื่องบินไม่มีหน้าต่าง ไม่มีที่นั่ง ได้แก่ เครื่องบินแบบโบอิ้ง 747 - เอฟ เป็นต้น

3) เครื่องแบบผสม ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าภายในเครื่องบินลำเดียวกันเส้นทางบิน หมายถึง เส้นทางบินที่กำหนดจากท่าอากาศยานหนึ่งไปยังอีกท่าอากาศยานหนึ่งเพื่อให้เครื่องบินเดินทางด้วยความรวดเร็ว และปลอดภัยภายใต้การควบคุมโดยมีเครื่องอำนวยความสะดวกได้แก่ ศูนย์บังคับเส้นทางบิน เรดาร์ควบคุมทางขึ้นลงของเครื่องบิน สถานีส่งสัญญาณวิทยุ

3. ท่าอากาศยาน หมายถึง สถานีขนส่งทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานสำหรับทหารท่าอากาศยานเพื่อการพาณิชย์ ท่าอากาศยานสำหรับการบินโดยทั่วไปมีหน้าที่ให้บริการแก่เครื่องบินเกี่ยวกับการจราจรทางอากาศ

4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ มีดังนี้

1) กรมการบินพาณิชย์ ทำหน้าที่บริหารและควบคุมการบินพลเรือน ทั้งภายในและระหว่างประเทศตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ และมีหน้าที่พัฒนาการขนส่งทางอากาศให้มีประสิทธิภาพเพื่อการพาณิชย์

2) กรมอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ตรวจสอบทิศทาง สภาพอากาศความกดของอากาศเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งทางอากาศ

3) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบสร้างและปรับปรุงท่าอากาศยาน

4) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ให้บริการด้านการสื่อสารการบิน และให้ บริการด้านการจราจรทางอากาศ

5) บริษัท การบินไทย จำกัด ทำหน้าที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ พร้อมทั้งให้บริการเกี่ยวกับภัตตาคาร โรงแรม ร้านค้า ปลอดภาษี ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพมหานคร

ข้อดีของการขนส่งทางอากาศ

1. การขนส่งทางอากาศประหยัดเวลาในการขนส่งมากกว่าการขนส่งทุกประเภทเหมาะสำหรับขนส่งสินค้าที่เสียหายได้ง่าย และราคาแพง เช่น เครื่องแก้ว ดอกไม้สด

2. การขนส่งทางอากาศ สามารถขนส่งได้ในถิ่นทุรกันดาร ที่การขนส่งประเภทอื่นไม่สามารถเข้าได้

3. การขนส่งทางอากาศ ทำให้ผู้โดยสารและสินค้าสามารถเดินทางไปได้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

ข้อจำกัดของการขนส่งทางอากาศ

1. การขนส่งทางอากาศขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ

2. อัตราค่าขนส่งทางอากาศ สูงกว่าการขนส่งประเภทอื่น

3. การขนส่งทางอากาศ มีขีดจำกัดเกี่ยวกับน้ำหนักที่ขนส่ง

4. การขนส่งทางอากาศ เสียค่าบำรุงรักษายานพาหนะและอุปกรณ์ในการขนส่งสูงเมื่อเกิดอุบัติภัย จะได้รับความเสียหายสูงมากทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

การขนส่งทางท่อ

การขนส่งทางท่อ หมายถึง การขนส่งสิ่งของประเภทของเหลวและแก๊สผ่านสายท่อ เช่นน้ำประปาน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ เป็นต้น ท่ออาจวางบนบก ใต้น้ำหรือใต้ดินก็ได้ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ผู้ประกอบการ

ประเทศแรกที่ใช้ระบบการขนส่งทางท่อ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้สำหรับขนส่ง สินค้าประเภทเชื้อเพลิง ปัจจุบันประเภทไทยใช้ระบบการขนส่งทางการท่อสำหรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ผู้ประกอบการที่สำคัญคือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม

2. อุปกรณ์ในการขนส่ง

อุปกรณ์ในการขนส่งทางท่อ แบ่งออกได้ ดังนี้

1) ท่อหลัก เป็นท่อที่มีความสำคัญในการขนส่งทางท่อ ท่อหลักจะเป็นท่อที่ได้รับการกันสนิทและกันความชื้นเป็นอย่างดี และจะเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งผลิตกับศูนย์กลางการผลิต

2) ท่อย่อย เป็นท่อที่วางไปตามจุดต่าง ๆ ตามที่ต้องการเพื่อขนส่งเชื้อเพลิงหรือก๊าซธรรมชาติ

3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางท่อ

หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางท่อ คือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)

องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาพ



ข้อดีของการขนส่งทางท่อ

1. ประหยัดต้นทุน เวลา ในการขนย้ายสินค้า

2. สามารถขนส่งได้ทุกสภาพภูมิอากาศ

3. สามารถขนส่งได้ตลอดเวลา ไม่มีตารางกำหนดวเลาขนส่ง

4. สามารถขนส่งได้ปริมาณคราวละมาก ๆ

5. มีความปลอดภัยจากการสูญหายหรือถูกลักขโมย



ข้อจำกัดของการขนส่งทางท่อ

1. สินค้าที่ขนส่งทางท่อมีข้อจำกัด คือ ขนส่งได้เฉพาะก๊าซหรือของเหลวเท่านั้น

2. ลงทุนในการวางท่อสูง

3. ท่อหลักที่ใช้ในการขนส่ง เมื่อวางแล้วไม่สามารถเปลี่ยนเส้นทางได้

4. ไม่เหมาะสมกับการขนส่ง ในภูมิประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อย ๆ

















การประกันภัย

ความหมายของการประกันภัย

คำว่า "การประกันภัย" มีบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

มิลเลอร์ (Miller) ให้ความหมายการประกันภัยไว้ว่า "การประกันภัยเป็นเครื่องมือของสังคม ช่วยลดความไม่แน่นอนแห่งการเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นของแต่ละคน ทำให้้เกิดความแน่นอนโดยให้กลุ่มชนเข้ามาร่วมกันแบ่งเบาความเสียหาย โดยอาศัยการ

บริจาคเงินจากสมาชิกทั้งหมด"

วิลเล็ตส์ (Willet) ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า "การประกันภัยเป็นเครื่องมือของสังคม เพื่อสะสมเงินไว้จ่ายแก่ผู้โชคร้ายที่ได้รับความเสียหายจากภัยที่ระบุไว้โดยวิธีโอนภัยอันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จากบุคคลผู้เป็นสมาชิกไปยัง

บุคคลอีกคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง"

ชัยชนะ พยัฆวิเชียร ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า "การประกันภัยเป็นเครื่องมือของสังคม เพื่อสะสมเงินไว้จ่ายแก่ผู้โชคร้ายที่ได้รับความเสียหายจากภัยที่ระบุไว้ โดยวิธีโอนภัยอันไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่จากบุคคลที่เป็นสมาชิกไปยังบุคคล

อีกคนหนึ่งคณะหนึ่ง"

คณะอนุกรรมการค้นคว้าและวิชาการ สมาคมประกันวินาศภัย ให้ความหมายของการประกันภัยไว้ว่า "การประกันภัย คือ การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นหลักประกันแก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง โดยสัญญาว่าเขาจะไม่ต้องรับความเดือดร้อนจากภัย

ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสีย หรือเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของเขา โดยฝ่ายผู้ให้หลักประกันจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามจำนวนและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ หรืออาจทำให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้นั้นกลับสู่สภาพดี

หรือใกล้เคียงของเดิม โดยผู้ให้หลักประกันจะได้รับเงินตอบแทนจากอีกฝ่ายคืนตามจำนวนที่ตกลงกันไว้"

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญาและในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย"

จากความหมายดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น ประมวลสรุปเป็นความหมายในหนังสือเล่มนี้ว่า การประกันภัย (Insurance) หมายถึง ผู้รับประกัน ทำหน้าที่เป็นคนกลางรวบรวมเงิน ที่เรียกว่า ค่าเบี้ยประกันจากบุคคลที่เรียกว่าผู้เอาประกัน โดยผู้รับประกันสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยค่าเสียหายที่เรียกว่าค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ เอาประกันเมื่อผู้เอาประกันได้รับความเสียหายตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญาประกันภัย



องค์ประกอบของการประกันภัย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 การประกันภัย ประกอบด้วย

1. ผู้เอาประกัน คือ ผู้ที่ตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันภัย คือ บริษัทประกันภัย

2. ผู้รับประกัน คือ ผู้ที่ตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อเกิดภัยขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้

3. ผู้รับประโยชน์ คือ ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดภัยขึ้นตามข้สัญญา

4. กรมธรรม์ประกันภัย คือ สัญญาที่บริษัทประกันภัยออกให้ผู้เอาประกัน โดยระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับประกันภัย

5. เบี้ยประกัน คือ จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันตกลงจ่ายให้แก่ผู้รับประกันตามกรมธรรม์ประกันภัย

6. ค่าสินไหมทดแทน คือจำนวนเงินที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อมีภัยหรือความเสียหายเกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย





ความสำคัญและประโยชน์ของการประกันภัย

การประกันภัยในปัจจุบันถือว่าเป็นธุรกิจที่มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต และการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมากเพราะเป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่เฉลี่ยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ เป็นการลดความเสี่ยงภัยซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลหรือธุรกิจใดแล้วอาจทำให้บุคคล หรือธุรกิจนั้นได้รับความเสียหายมากจนกระทั่งล้มละลายหรือเลิกกิจการไปได้ การประกันภัยจะใช้วิธีการให้แต่ละคนหรือแต่ละธุรกิจจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักไว้เป็นกองกลางเพื่อจ่ายให้คนใดหรือกิจการใดที่ประสบความเสียหายตามที่ได้ตกลงกันไว้ ธุรกิจการประกันภัย จึงเป็นธุรกิจที่สร้างความมั่นคงให้กับสังคม โดยดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานประกันภัยสังกัดกระทรวงพาณิชย



ประโยชน์ของการประกันภัย

ประโยชน์ต่อบุคคล บุคคลที่เอาประกันจะได้รับการคุ้มครองต่อบุคคลครอบครัวและทรัพย์สินที่เอาประกัน เช่น การประกันอัคคีภัยบ้าน เมื่อบ้านเกิดภัยจากเพลิงไหม้ ผู้เอาประกันจะได้รับเงินชดใช้ความเสียหายจากบริษัทประกัน สามารถนำเงินที่ได้รับไปจัดหาบ้านมาเพื่ออยู่อาศัยใหม่ได้ หรือการประกันชีวิตกรณีผู้เอาประกันถึงแก่กรรมทายาทหรือผู้รับประโยชน์จะได้รับค่าสินไหมทดแทน เพื่อสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อการศึกษาได้ เป็นต้น นอกจากนี้การประกันภัยยังทำให้ผู้เอาประกันเกิดการประหยัด และการออมอีกด้วยเพราะผู้เอาประกันมีภาระจ่ายค่าเบี้ยประกันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทำให้ต้องประหยัดและมีเงินเก็บออมไว้ใช้ในภายหน้าเมื่อยามฉุกเฉินทุพพลภาพ ชราภาพ

ประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ การประกันภัยทำให้การประกอบธุรกิจเป็นไปด้วยความมั่นคงและเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพราะในการประกอบธุรกิจจำเป็นต้องมีการลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักร ปลูกสร้างอาคาร ทรัพย์สินเหล่านี้มีความ

เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น ซื้อเครื่องจักร ปลูกสร้างอาคาร ทรัพย์สินเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เช่น ภัยจากเพลิงไหม้น้ำท่วม แต่ถ้าผู้ประกอบธุรกิจนำทรัพย์สินไปทำการประกันวินาศภัย เมื่อเกิดภัยขึ้นผู้ประกอบธุรกิจ

จะได้รับเงินชดใช้จากบริษัทประกันภัยเพื่อนำไปจัดหาทรัพย์สินใหม่มาทดแทนทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายทำให้ในการประกอบธุรกิจผู้ประกอบธุรกิจลดความเสี่ยงในการประกอบการ จึงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต้องวิตกเกี่ยวกับ

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม การประกันภัยเป็นการระดมเงินออมจากผู้เอาประกัน เพราะผู้เอาประกันทุกคนจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันให้บริษัทประกันภัย เพื่อผู้เอาประกันจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดภัยขึ้น เงิน

ค่าเบี้ยประกันที่บริษัทประกันภัยได้รับส่วนหนึ่งจะเก็บไว้เพื่อสำรองจ่ายเมื่อเกิดภัยขึ้นเงินจำนวนนี้บริษัทประกันภัยจะนำไปลงทุน เช่น นำไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือซื้อหุ้นกู้ ซึ่งประโยชน์ต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของประเทศ และการประกันภัยทำ

ให้ บุคคลที่เอาประกันมีบริษัทประกันภัยทดแทนความเสียหายให้เมื่อเกิดภัยเป็นการลดภาระของสังคม และรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ















ประเภทของการประกันภัย

การประกันภัยเป็นการกระจายความเสี่ยงการเกิดภัยจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกหลาย ๆ บุคคล โดยการทำหน้าที่เป็นกลางของผู้รับประกัน

ประเภทของการประกันภัยในภาคเอกชน สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. การประกันภัยบุคคล

การประกันภัยบุคคล (Personal lnsurance) เป็นการประกันภัยที่เกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.1 การประกันชีวิต (Life lnsurance) เป็นการประกันภัยที่มี "ชีวิต" เป็นวัตถุที่เอาประกันภัย (Subject Matter of lnsurance)โดยผู้รับประกันตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันถึงแก่กรรม หรือจ่ายเงินให้ผู้เอาประกัน

ถ้าผู้เอาประกันมีชีวิตจนถึงระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา โดยที่ผู้เอาประกันตกลงจ่ายเบี้ยประกันให้ผู้รับประกัน



ประเภทของการประกันชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1) การประกันชีวิตประเภทสามัญ เป็นการประกันชีวิตที่ผู้ประกันชีวิต 1 คนมีกรมธรรม์ประกันชีวิต 1 ฉบับโดยผู้รับประกันจะกำหนดให้ผู้เอาประกันทำการตรวจสุขภาพก่อนการตกลงรับประกัน

2) การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม เป็นการประกันชีวิต ที่ผู้ประกันชีวิตหลายคนมีกรมธรรม์ประกันชีวิต 1 ฉบับ โดยผู้เอาประกันไม่ต้องทำการตรวจสุขภาพก่อนการตกลงรับประกันเป็นการประกันชีวิตที่นายจ้างนิยมประกันชีวิตให้ลูกจ้าง โดย

นายจ้างเป็นผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันบางส่วนหรือทั้งหมดให้แทนลูกจ้าง

3) การประกันชีวิตแบบอุตสาหกรรม เป็นการประกันชีวิตที่ผู้ประกันชีวิต 1 คน มีกรมธรรม์ประกันชีวิต 1 ฉบับโดยผู้เอาประกันไม่ต้องทำการตรวจสุขภาพก่อนการประกันเป็นการประกันที่ผู้เอาประกันจ่ายค่าเบี้ยประกันต่ำ นิยมทำการประกัน

ในกลุ่มคนงานในโรงงานที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งผู้รับประกันจะกำหนดระยะเวลาในการประกันไว้โดยกำหนดว่าถ้าผู้เอาประกันถึงแก่กรรมภายในระยะเวลาที่รอคอยผู้รับประกันจะคืนเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันได้ชำระมาแล้วให้แก่ผู้รับประโยชน์แต่ถ้าผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาที่รอคอยจะได้ค่าชดใช้



แบบการประกันชีวิต แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1) การประกันชีวิตแบบตลอดชีวิต เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายทุนประกันตามสัญญาให้แก่ผู้รับประโยชน์ หรือทายาทเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลงโดยผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันได้ทั้งแบบตลอดชีพและแบบกำหนดระยะเวลา

2) การประกันชีวิตแบบกำหนดระยะเวลา เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายทุนประกันให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือทายาท เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาที่ได้กำหนด ไว้ในสัญญา แต่หากผู้เอาประกันมีชีวิตจนครบกำหนดระยะเวลา

ที่ได้กำหนดไว้ ผู้รับประกันไม่ต้องจ่ายทุนประกันหรือเงินใด ๆ ให้แก่ผู้เอาประกันโดยถือว่าสัญญาทั้งสองฝ่ายสิ้นสุดไม่มีข้อผูกพันอีกต่อไป

3) การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายทุนประกันให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือทายาท เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาที่ได้ กำหนดไว้ในสัญญา หรือหากผู้เอาประกันมีชีวิตจนครบกำหนดระยะเวลาที่ได้

กำหนดไว้ ผู้รับประกันจ่ายทุนประกันให้แก่ผู้เอาประกัน

4) การประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายเงินให้ ผู้เอาประกันเมื่อเกษียณอายุจนกระทั่งถึงแก่กรรมโดยผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอในช่วงระยะเวลาที่กำหนดที่ผู้เอาประกันยังสามารถประกอบ

อาชีพได้ตามปกติ

1.2 การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident lnsurance) เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทน

ให้แก่ผู้เอาประกัน หรือผู้รัประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันได้รับอุบัติเหตุ สูญเสียอวัยวะ บาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือถึงแก่กรรม

1.3 การประกันสุขภาพ (Health lnsurance) เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เมื่อผู้เอา

ประกันต้องได้รับการรักษาไม่ว่าจะเนื่องจากการเจ็บป่วย หรือเนื่องจากอุบัติเหตุ



2 การประกันวินาศภัย

การประกันวินาศภัย (Non Life lnsurance) เป็นการประกันภัยที่เกี่ยวกับความเสียหายของทรัพย์สิน ที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เมื่อเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกัน โดยผู้เอาประกันตกลงจ่ายค่าเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับประกัน ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์สินนั้น



แบบการประกันวินาศภัย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1) การประกันอัคคีภัย (Fire lnsurance) เป็นการประกันที่ผู้รับประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทน ทำใช้ หรือจัดหาให้แก่ผู้เอาประกันตามความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินที่เอาประกันไว้ โดยคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากเพลิงไหม้ฟ้าผ่า การระเบิดของแก๊สที่ใช้หึงต้ม หรือให้ แสงสว่างเพื่อการอยู่อาศัย รวมถึงความเสียหายซึ่งเหตุเกิดเกี่ยวกับเพลิงไหม้

2) การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine lnsurance) เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเนื่องจากการเดินทางและการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศประเภทของการประกันภัยทางทะเลและขนส่งแบ่งออกเป็น

(1) การประกันภัยตัวเรือ เป็นการประกันภัยเพื่อคุ้มครองตัวเรือ และอุปกรณ์ประจำเรือ โดยผู้รับประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกัน เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยทางทะเล เช่น เรือเกยหินโสโครก เกิดพายุ คลื่น เรือชนกัน

เรือเกิดเพลิงไหม้เรือถูกฟ้าผ่า

(2) การประกันภัยการขนส่งทางทะเล เป็นการประกันภัยเพื่อคุ้มครองสินค้าที่ขนส่งทางเรือ โดยผู้รับประกันตกลงจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกัน เนื่องจากความเสียหายเช่นเดียวกับการประกันตัวเรือ รวมทั้งความเสียหายที่เกิดจากการขนสินค้าขึ้นหรือลงจากเรือและความเสียหายจากการขโมยหรือโจรกรรมอีกด้วย

(3) การประกันค่าระวาง ในการขนสินค้าทางทะเลเจ้าของเรือหรือผู้มีสิทธิครอบครองเรือจะได้รับค่าระวางเมื่อสินค้าถึงปลายทางเจ้าของเรือหรือผู้มีสิทธิครอบครองเรือจะไม่ได้รับค่าระวาง ดังนั้นการประกันค่าระวางจะทำให้ผู้รับประกันจะต้องจ่ายเงินชดเชยค่าระวางให้ผู้เอาประกัน



3 การประกันภัยรถยนต์

ปัจจุบันรถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อคมนาคม อุบัติเหตุที่เกิดจากรถยนต์อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การประกันรถยนต์เป็นการคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถที่เอาประกันได้แก่ ความเสียหายที่เกิดจากผู้ขับขี่รถยนต์เอง เช่น ขับรถขณะ

มึนเมา ขาดความระมัดระวังในการขับรถ ความเสียหายที่เกิดจากตัวรถ เช่น ระบบเครื่องยนต์เสื่อมสภาพ ระบบไฟฟ้าในรถลัดวงจร ความเสียหายที่เกิดจากบุคคลอื่น เช่นผู้ขับขี่คนอื่น คนเดินถนนที่ขาดความระมัดระวังความเสียหายที่เกิดจากสาเหตุ

อื่น เช่น ฝนตกทำให้ถนนลื่นในการประกันภัยรถยนต์ จำนวนเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันจ่ายให้ผู้รับประกันขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ทำการประกันทุนเอาประกัน อายุของรถยนต์ ประวัติการใช้รถยนต์



ประเภทการประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) การประกันภัยประเภทหนึ่ง เป็นการประกันรถยนต์ที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์และอุปกรณ์ประจำรถรวมทั้งชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์ บุคคลภายนอก โดยความเสียหายเกิดจากการชน การคว่ำ การจลาจล การนัดหยุดงาน การโจรกรรม

2) การประกันภัยประเภทสอง เป็นการประกันรถยนต์ที่คุ้มครองความเสียหายที่ เกิดขึ้นกับรถยนต์ที่เอาประกันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การโจรกรรม รวมทั้งทรัพย์สินร่างกายและชีวิตของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากรถยนต์ที่เอาประกัน ยกเว้นความ

เสียหายอันเกิดจาก การชน และการคว่ำ

3) การประกันภัยประเภทสาม เป็นการประกันรถยนต์ที่คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สิน ร่างกาย หรือชีวิตของบุคคลภายนอกอันเนื่องจากรถยนต์ ที่เอาประกัน ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดเนื่องจากรถยนต์มีจำนวนเพ่มขึ้นในอัตราที่สูง ผู้บาดเจ็บและถึงแก่กรรมจากอุบัติเหตุทางรถยนต์มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับค่าสินไหมทดแทนแน่นอนและรวดเร็วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 รถยนต์ที่ต้องทำประกัน ได้แก่ รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นและหมายความรวมถึงรถพ่วงของรถคันนั้นด้วย (ยกเว้นรถไฟ)รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ได้แก่

1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด

3. รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาลกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ ของทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร

บุคคลที่มีหน้าที่ต้องทำประกันตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือ

1. ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ

2. ผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ

ค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยจะได้รับคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ คือ

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้ร้องขอ โดยได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท/คน จะได้รับค่าปลงศพ 10,000 บาท / คน

2. ค่าเสียหายส่วนเกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยชอบธรรมของผู้ประสบภัย จะได้รับค่ารักษาพยาบาลรวมค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 50,000 บาท / คน กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตทายาทโดยชอบธรรมของผู้ประสบภัย

จะได้รับรวมค่าเสียหายเบื้องต้น 50,000 บาท / คน



4. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Property lnsurance) เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินที่นอกเหนือจากการประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลการประกันภัยรถยนต์และขนส่ง

ประเภทการประกันภัยเบ็ดเตล็ด แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ

1) การประกันภัยโจรกรรม เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญหายของทรัพย์สินที่เอาประกันอันเกิดจากการโจรกรรมของบุคคลภายนอก

2) การประกันภัยความซื่อสัตย์ของลูกจ้าง เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายของเงินสด หรือทรัพย์สินอื่นที่เกิดจากการทุจริตของลูกจ้าง

3) การประกันภัยพืชผล เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดแก่พืชผลทางการเกษตร เนื่องจากน้ำท่วม ฝนแล้ง เป็นต้น

4) การประกันภัยกระจก เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดแก่กระจก สิ่งประดับหรือตัวหนังสือบนกระจกเนื่องจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ไม่รวมความเสียหายที่เกิดเพลิงไหม้ สงคราม หรือระเบิดนิวเคลียร์

5) การประกันภัยทางวิศวกรรม เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดแก่เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเนื่องจากภัยต่าง ๆ ได้แก่ เพลิงไหม น้ำท่วม หรือความบกพร่องเนื่องจากการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และ

อุปกรณ์ทางวิศกรรม

6) การประกันภัยความเสียหายต่อเนื่อง เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองรายได้หรือกำไรที่ควรจะได้รับ ที่สูญเสียไปเนื่องจากความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินที่เอาประกัน เช่นผู้เอาประกันได้ทำการประกันอัคคีภัยอาคารสำนักงานไว้ เมื่ออาคารได้รับความ

เสียหายจากเพลิงไหม้ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้หรือกำไรที่ควรจะได้รับหากมีการประกันภัยความเสียหายต่อเนื่องผู้เอาประกันจะได้รับชดใช้ความเสียหายนี้ด้วย



การสื่อสาร

ความหมายของการสื่อสาร

การสื่อสาร คือ การส่งข่าวสารจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยอาศัยสื่อข่าวสารที่ส่งไปอาจจะเป็น ข้อความ ภาพ หรือเสียง

สื่อ คือ เครื่องหมายหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เครื่องโทรเลขระบบโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม ฯลฯ

ความสำคัญของการสื่อสาร

เนื่องจากการสื่อสารเป็นการส่งข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่ง ทำให้การติดต่อกันทำได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็วปัจจุบันสื่อในการสื่อสารได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพสูง มนุษย์สามารถติดต่อ

สื่อสารกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญทำให้การดำเนินงานเกิดการประสานงานระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในองค์การและระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยการติดต่อกันนั้นไม่จำเป็นต้องเดิน

ทางไปพบกันโดยตรง เพียงแต่อาศัยสื่อในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารก็ จะสัมฤทธิ์ผลตามที่ต้องการ



ประโยชน์ของการสื่อสาร

การสื่อสารก่อประโยชน์ต่อคนเราในยุคปัจจุบัน จำแนกออกได้ดังนี้

1. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล การสื่อสารทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอาจจะเป็นลายลักษณ์อักษร ภาพ หรือเสียง ได้แก่ การสื่อสารโดยโทรเลข โทรศัพท์ โทรศัพท์ วิทยุหนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ ทำให้ผู้บริหารองค์การธุรกิจมีข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ผู้บริหารองค์การธุรกิจมีข้อมูลต่าง ๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ไว้ประกอบในการวางแผนงานการตัดสินใจทางธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้

2. ทำให้ตลาดขยายกว้างขวางขึ้น การสื่อสารทำให้ตลาดขยายตัวกว้างขวางขึ้นเนื่องจากการสื่อสารช่วยส่งเสริมให้การโฆษณาแพร่หลาย ผู้บริโภคสามารถได้เห็นได้ยินเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ของสินค้าผ่านสื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ

หนังสือพิมพ์ หรือการส่งข้อมูลให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ฯลฯ

3. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย การสื่อสารสามารถทำให้บุคคลหรือหน่วยงานขององค์การติดต่อกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปพบกัน เช่น ลูกค้าอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ต้องการซื้อสินค้าจากผู้ขายที่อยู่กรุงเทพมหานครลูกค้าสามารถติดต่อตกลงการซื้อขาย

โดยใช้การสั่งซื้อสินค้าทางโทรศัพท์ หลังจากตกลงกันเรียบร้อยแล้วผู้ขายอาจจัดส่งสินค้าโดยทางพัสดุไปรษณีย์ และผู้ซื้อสามารถชำระเงินทางธนาณัติให้ผู้ขาย ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาไม่ต้องเดินทางจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพฯ หรือเดินทางจากรุงเทพฯ

ไปเชียงใหม่ และค่าใช้จ่ายในการส่งพัสดุไปรษณีย์หรือส่งธนาณัติก็ถูกกว่าการที่ต้องเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่

4. ช่วงทำให้ทราบเหตุการณ์ได้ทันสถานการณ์ การสื่อสารทำให้มนุษย์ได้รับข่าวสารที่ทันสมัยตลอดเวลาเช่น ข่าวการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาทำให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าว่าจะเกิดภัยธรรมชาติ ทำให้มี

การเตรียมการป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันเวลา

ประเภทบริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) แบ่งการให้บริการของการสื่อสารเป็น 3 ประเภท คือ

บริการด้านไปรษณีย์ (Postal Service) คือ การส่งสิ่งของทางไปรษณีย์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ไปรษณีย์ภัณฑ์ ได้แก่ จดหมาย ไปรษณีย์บัตร สิ่งตีพิมพ์ พัสดุย่อย เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ

1) จดหมาย คือ การส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่เป็นข่าวสารที่เป็นส่วนตัวไม่ต้องการเปิดเผย ซึ่งจะใส่ซองไม่ใส่ซอง หรือเป็นม้วนกลมก็ได้

(1) ขนาดของจดหมาย ต้องกว้าง ยาวและหนารวมกันไม่เกิน 900 มิลลิเมตร และไม่ต่ำกว่า 90 x 140 มิลลิเมตร น้ำหนักต้องไม่เกิน 2,000 กรัม

(2) ขนาดของม้วนกลม ด้านยาวสุดต้องไม่เกิน 900 มิลลิเมตร ด้านยาวสุดบวกสองเท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางต้องไม่เกิน 1,040 มิลลิเมตร และด้านยาวสุดต้องไม่ต่ำกว่า 100 มิลลิเมตร

(3) จดหมายอากาศ คือ ไปรษณีย์ภัณฑ์ในลักษณะของจดหมายที่ส่งระหว่างประเทศ ในลักษณะการส่งจดหมายทั่วไป แต่เสียค่าบริการแพงกว่าในประเทศหรือใช้ซองจดหมายอากาศที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยผลิตมาจำหน่ายโดยเฉพาะก็ได้



2) ไปรษณีย์บัตร คือ การส่งข่าวสารทางไปรษณีย์โดยใช้บัตร เป็นการส่งข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความลับไปรษณีย์บัตรที่ใช้อาจใช้ไปรษณีย์บัตรที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยผลิตขึ้นมาจำหน่าย หรือบุคคลภายนอกจัดทำขึ้นก็ได้

3) สิ่งตีพิมพ์ คือ การส่งข่าวสารที่เป็นข้อความ หรือรูปที่ทำเหมือนกันทุกประการหลายสำเนา เช่นระเบียบการ หนังสือ น้ำหนักของสิ่งตีพิมพ์ที่ส่งต้องไม่เกิน 2,000 กรัม ถ้าเป็นหนังสือต้องไม่เกิน 5,000 กรัม

4) พัสดุย่อย คือ การส่งสิ่งของด้วยการบรรจุหีบห่อ ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,000 กรัม

5) เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษะ คือ เครื่องอ่านที่พิมพ์ด้วยอักษรสำหรับคนเสียจักษุ และฝากส่งด้วยการเปิดผนึกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 7,000 กรัม

2. พัสดุไปรษณีย์ คือ การส่งสิ่งของทางไปรษณีย์ โดยการบรรจุหีบห่อน้ำหนักไม่ เกิน 20 กิโลกรัมนอกจากการให้บริการด้านไปรษณีย์ดังกล่าวข้างต้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยยังมีบริการพิเศษเพื่อให้การบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแก่ผู้

ใช้บริการมากยิ่งขึ้น การให้บริการพิเศษ มีดังนี้

1) ไปรษณีย์รับรอง เป็นการให้บริการในประเทศ โดยผู้ฝากส่งและผู้รับจะต้องลงชื่อในหลักฐานเมื่อมีการส่งและการรับหากมีการเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจะชดใช้ให้ในวงเงินชิ้นละ 40 บาท

2) ไปรษณีย์ตอบรับ เป็นการให้บริการที่ผู้รับจะต้องลงชื่อ และวันเดือนปี ที่รับโดยเสียค่าธรรมเนียมลงทะเบียนในประเทศชิ้นละ 3 บาท ต่างประเทศชิ้นละ 15 บาท

3) ไปรษณีย์ลงทะเบียน เป็นการให้บริการที่ต้องมีหลักฐานการรับฝากและหลักฐานการนำจ่าย สำหรับการส่งเอกสารหรือสิ่งของ หากเกิดการสูญหายเนื่องจากเป็นความผิดของการไปรษณีย์ผู้ฝากจะได้รับการชดใช้ สำหรับการส่งภายในประเทศ

ชิ้นละ 80 บาทสำหรับการส่งต่างประเทศชิ้นละ 799 บาท โดยเสียค่าธรรมเนียมส่งในประเทศชิ้นละ 4 บาท ส่งต่างประเทศชิ้นละ 15 บาท

4) ไปรษณีย์รับประกัน เป็นการให้บริการที่ต้องมีหลักฐานการรับฝาก และหลักฐานการนำจ่ายอย่างละเอียดชัดเจนทุกขึ้นตอนหากเกิดการสูญหายผู้ฝากจะได้ รับการชดใช้ สำหรับการส่งภายในประเทศชิ้นละไม่เกิน 5,000 บาท สำหรับการส่ง

ต่างประเทศชิ้นละไม่เกิน 10,654 บาท ค่าธรรมเนียมในการจัดส่งในประเทศ 1 บาท ต่อจำนวนเงินรับประกันทุก ๆ 100 บาท หรือเศษ บวกค่าปฏิบัติการ 4 บาทส่งต่างประเทศ 10.50 บาท ต่อจำนวนเงินรับประกันทุก ๆ 2,131 บาท หรือเศษ บวก

ค่าปฏิบัติการ 15 บาท

5) การนำจ่ายด่วน เป็นการให้บริการนำส่งด่วนเมื่อเอกสารหรือสิ่งของถึงที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง ค่าธรรมเนียมในการจัดส่งในประเทศชิ้นละ 3 บาท ส่งต่างประเทศชิ้นละ 10 บาท

6) ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (Express Mail Service ) หรือ EMS. เป็นการให้บริการเอกสารหรือสิ่งของด่วนพิเศษ โดยประกันความปลอดภัยและเวลาที่ผู้รับจะได้รับตามระยะเวลาที่กำหนด หากเกิดการสูญหายผู้ฝากส่งจะได้รับการชดใช้ในวงเงิน 500 บาท

สำหรับการส่งในประเทศ และได้รับการชดใช้ในวงเงิน 3,000 บาท สำหรับการส่งต่างประเทศค่าธรรมเนียมในการจัดส่งภายในประเทศ

น้ำหนักของไม่เกิน 250 กรัม = 15 บาท

เกิน 250 กรัม ไม่เกิน 500 กรัม = 19 บาท

เกิน 500 กรัม ไม่เกิน 1,000 กรัม = 26 บาท

ทุก ๆ 1,000 กรัม เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม = 7 บาท

สำหรับค่าธรรมเนียมในการจัดส่งต่างประเทศ คิดตามน้ำหนักและประเทศปลายทาง

7) การบริการให้เช่าตู้ไปรษณีย์ เป็นการให้บริการแก่บุคคลหรือองค์การธุรกิจที่มีเอกสารหรือสิ่งของที่ส่งถึงค่อนข้างมากและไม่สะดวกในการรับปลายทาง การไปรษณีย์ มีตู้ไปรษณีย์ให้บริการเก็บเอกสารและสิ่งของที่ส่งมาถึง ค่าธรรมเนียมในการเช่าตู้ไปรษณีย์อัตรา6 เดือน 100 บาท 1 ปี 150 บาท และค่ามัดจำกุญแจ 300 บาท

8) การบริการธุรกิจตอบรับ เป็นการให้บริการแก่ผู้ฝากส่งที่ต้องการให้ผู้รับตอบรับ โดยผู้ฝากส่งจะส่งเอกสารการตอบรับให้ผู้รับซึ่งผู้รับไม่ต้องเสียค่าไปรษณีย์ยากรในการส่งเอกสารตอบรับกลับไปยังผู้ฝากส่ง ผู้ฝากส่งจะเสียค่าธรรมเนียม ในอัตรา 3 เดือนต่อ 300 บาท 6 เดือนต่อ 500 บาท 1 ปีต่อ 1,000 บาทและคิดค่าไปรษณีย์ยากรตามอัตราปกติโดยหักจากเงินมัดจำค่า

ไปรษณีย์ยากรที่วางไว้ล่วงหน้า



2 บริการด้านการเงิน (Monetary service) เป็นบริการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยรับฝากเงินจากบุคคลหนึ่งเพื่อนำจ่ายให้อีกบุคคลหนึ่งทางไปรษณีย์ หรือโทรคมนาคมอื่นทำให้ผู้ใช้บริการ ได้รับความสะดวกและเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำการบริการด้านการเงินแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

1. ธนาณัติ เป็นบริการที่ผู้ฝากส่งเงินนำเงินสดจำนวนที่ต้องการไปจ่ายให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง โดยกรอกเอกสารในใบฝากธนาณัติ เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการไปรษณีย์ได้รับเงินละใบฝากธนาณัติแล้ว จะออกเอกสาร 2 ฉบับแก่ผู้ฝากส่งเงิน คือ ต้นขั้วใบฝากธนาณัติและใบรับเงินธนาณัติผู้ฝากส่งเงินจะต้องส่งใบรับเงินธนาณัติไปให้ผู้รับเงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอรับเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง สำหรับต้นขั้วใบฝากธนาณัติ ผู้ฝากส่งเงินต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีผู้รับเงินปลายทางไม่นำใบรับเงินธนาณัติตามรับเงินผู้ฝากส่งเงินสามารถนำต้นขั้วธนาณัติพร้อมบัตรประชาชนไปขอรับเงินคืนได้ ณ

ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง

การนำจ่ายธนาณัติ มี 3 วิธี คือ

1) นำจ่ายแบบธรรมดา กรณีส่งธนาณัติภายในประเทศเสียค่าธรรมเนียม1,000 บาทแรก 5 บาท และ 1,000 บาทต่อไปหรือเศษเสียเพิ่มอีก 2 บาทกรณีส่งธนาณัติต่าง ประเทศเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่การสื่อสารแห่งประเทศกำหนดสำหรับแต่ละประเทศ

2) ไปรษณีย์เก็บเงิน เป็นบริการที่ผู้ฝากส่งสิ่งของที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางโดยระบุราคาของสิ่งของไว้บนห่อซอง เมื่อสิ่งของถึงที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางไปรษณีย์ ปลายทางจะนำจ่ายผู้รับ ผู้รับจะต้องส่งเงินไปให้ผู้ฝากส่งทางบริการธนาณัติบริการไปรษณีย์เก็บเงินได้แก่ ไปรษณีย์ภัณฑ์เก็บเงิน พัสดุไปรษณีย์เก็บเงินไปรษณีย์ด่วนพิเศษเก็บเงิน

3) ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เป็นบริการที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยออกเอกสาร คือ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ จำหน่ายให้ผู้ฝากส่งที่ต้องการส่งเงินให้บุคคลอื่น โดยตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ แต่ละฉบับจะกำหนดราคาไว้หน้าตั๋ว เช่น ฉบับละ 10 บาท 50 บาท

100 บาท 500 บาท เป็นต้นผู้ฝากส่งสามารถซื้อได้เท่ากับจำนวนเงินที่ต้องการส่ง เพื่อความปลอดภัยในการส่งควรระบุชื่อผู้รับเงิน และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก โดยผู้ฝากส่งจะส่งตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปให้ผู้รับเงินปลายทาง ผู้รับเงินสามารถนำตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปรับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์ใดก็ได้ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ มีอายุการจ่ายเงินภายใน 4 เดือนนับจากวันที่จำหน่ายตั๋วแลกเงินไปรษณีย์นั้น กรณีตั๋วแลกเงินสูญหายผู้ฝากสามารถยื่นคำร้องให้ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบแทนตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ให้ได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนดโดยต่ออายุการจ่ายเงินได้ภายใน 2 เดือน นับจากวันต่ออายุ

2. บริการจ่ายเงิน (Postcheque) เป็นบริการที่ที่ทำการไปรษณีย์จ่ายเงินให้แก่ ผู้ถือตราสารที่ออกโดยที่ทำการไปรษณีย์ต่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ การขอรับเงินตาม Postcheque จะต้องเป็นผู้ถือบัตรรับประกันที่มีชื่อ

ระบุตามหนังสือเดินทาง

3. การบริการรับชำระภาษีรถยนต์ เป็นบริการที่ผู้เสียภาษีรถยนต์ประจำปีนำทะเบียนรถยนต์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ทำการไปรษณีย์และกรอกเอกสารขอชำระภาษีรถยนต์โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยการ

ชำระภาษีรถยนต์ผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยนี้จะรับชำระเฉพาะการชำระภาษีภายในกำหนดวเลา หรือก่อนกำหนดเวลาเสียภาษีไม่เกิน 3 เดือน

บริการด้านโทรคมนาคม (Telecommunication Service) แบ่งออกเป็น 8 ลักษณะดังนี้

1. โทรเลข เป็นบริการรับฝากข้อความจากผู้ฝากส่งไปยังผู้รับ โดยผู้ฝากส่งกรอกข้อความที่ต้องการส่งในแบบฟอร์มที่มีไว้บริการที่ทำการไปรษณีย์ ข้อความที่ส่งสำหรับโทรเลขสามัญ คือ โทรเลขที่ส่งข่าวสารของบุคคลหรือเกี่ยวกับธุรกิจ จะใช้ข้อความที่กะทัดรัดได้ความชัดเจน โดยการสื่อสารแห่งประเทศไทยจะส่งข้อความทางเครื่องคอมพิวเตอร์จากไปรษณีย์ต้นทางไปยังไปรษณีย์ปลายทางการให้บริการโทรเลข มี 2 ประเภท คือ

1) โทรเลขในประเทศ เป็นบริการรับส่งข้อความระหว่างกันภายในราชอาณาจักร ได้แก่ โทรเลขอุตุนิยมวิทยา โทรเลขสามัญโทรเลขธนาณัติ โทรเลขไมตรีจิต โทรเลขข่าวหนังสือพิมพ์ โทรเลขแจ้งเหตุสาธารณภัย

2) โทรเลขต่างประเทศ เป็นบริการรับส่งข้อความกันระหว่างประเทศ ได้แก่โทรเลขอุตุนิยมวิทยา โทรเลขสามัญ โทรเลขธนาณัติ โทรเลขรัฐบาล

2. โทรสารเป็นบริการส่งข้อความ ข่าวสารโดยเครื่องโทรสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1) บริการโทรสารสาธารณะ เป็นบริการส่งข้อความ ข่าวสาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผ่านเครื่องโทรสารต้นทางของการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยข้อความจะส่งโดยตรงเข้าเครื่องโทรสารส่วนตัวของผู้รับ กรณีผู้รับไม่มีเครื่องโทรเลข

การนำจ่ายข้อความอาจนำจ่ายโดยพนักงานนำจ่าย หรือโทรศัพท์แจ้งให้ผู้รับมารับข้อความ ข่าวสาร ณ ที่ ทำการไปรษณีย์

2) บริการแฟ็กซ์คอม เป็นการบริการส่งข้อความ ข่าวสาร ไปยังต่างประเทศโดยผ่านชุมสายโทรศัพท์ในประเทศ และชุมสายโทรศัพท์ต่างประเทศ ผู้ฝากส่งข้อความสามารถส่งต้นฉบับเพียงครั้งเดียวไปยังปลายทางได้หลาย ๆ แห่ง โดยผู้ใช้

บริการแฟ๊กซ์คอม ติดต่อขอใช้บริการได้ที่กองพาณิชย์ การสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยต้องมีโทรศัพท์ชนิดกดปุ่มซึ่งอยู่ในข่ายชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC (StoredProgram Control) และขอจดทะเบียนการใช้บริการกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย

3) บริการเทเลแฟ็กซ์ เป็นการบริการส่งข้อความ ข่าวสารโดยผู้ส่งและผู้รับข่าวสารมีเครื่องโทรสารส่วนบุคคล โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

3. เทเล็กซ์ เป็นการให้บริการรับส่งข่าวสารทางโทรพิมพ์ โดยผ่านชุมสายซึ่งมีเครือข่ายทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศรวมทั้งติดต่อกับเรือเดินสมุทรโดยระบบอัตโนมัติโดยสามายถรับส่งข่าวสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง และมีสำเนาข่าวสารเป็น

หลักฐาน การขอใช้บริการแจ้งเช่าได้ที่ศูนย์บริการลูกค้า กองพาณิชย์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ชุมสายเทเล็กซ์ ศูนย์โทรคมนาคม การสื่อสารแห่งประเทศไทยที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบางแห่ง



4. โทรศัพท์ระหว่างประเทศ เป็นบริการโทรศัพท์ติดต่อระหว่างประเทศโดยผู้ใช้ บริการติดต่อผ่านพนักงานสลับสายของการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยพนักงานสลับสายติดต่อหมายเลขปลายทางต่างประเทศ โดยผู้ใช้บริการถือสายคอย

เมื่อพนักงานติดต่อปลายทางได้ผู้ใช้บริการสามารถพูดได้ทันที กรณีผู้ใช้บริการมีเครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มอยู่ในข่ายชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อหมายเลขปลายทางต่างประเทศได้โดยตรงด้วยตนเองโดยไม่ต้อง

ผ่านพนักงานสลับสายของการสื่อสารแห่งประเทศไทย



5. วิทยุคมนาคม เป็นบริการติดต่อสื่อสารโดยใช้วิทยุ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1) วิทยุคมนาคมเฉพาะกิจ เป็นการให้บริการสื่อสารทางวิทยุเป็นกลุ่มได้แก่ เครื่องวิทยุติดตั้งในยานพาหนะที่เคลื่อนที่ได้เครื่องวิทยุแบบมือถือ ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ สามารถเลือกเช่าจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

2) วิทยุติดตามตัว ผู้ใช้บริการสามารถนำพกติดตัวได้ตลอดเวลามีขนาดเล็กกะทัดรัด ซึ่งเมื่อมีบุคคลต้องการฝากส่งข้อความให้ผู้ใช้บริการ สามารถทำได้โดยใช้ เครื่องโทรศัพท์กดหมายเลขรหัส เพื่อผ่านศูนย์กลางของบริษัทที่ได้สัมปทานวิทยุติดตามตัว และกดหมายเลขของวิทยุติดตามตัว เมื่อพนักงานรับสาย จึงฝากข้อความที่ต้องการได้ทันที

3) วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า เป็นการบริการการสื่อสารด้วยความถี่วิทยุระบบ AMPS 800 MHz ซึ่งสะดวกในการใช้บริการการสนทนาติดต่อชัดเจนจนสามารถใช้ได้ทั้งในอาคารและยานพาหนะขณะเดินทาง การติดต่อจากวิทยุเซลลูล่า

ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกระบบสามารถกดหมายเลขที่เรียกได้ทันที การติดต่อจากวิทยุเซลลูล่าไปยังโทรศัพท์บ้านต้องกดรหัสทางไกลนำหน้าหมายเลขที่เรียกทุกครั้งการติดต่อจากโทรศัพท์ไปยังวิทยุเซลลูล่าต้องกดรหัส 01 ก่อน กดหมายเลขที่ต้องการเรียก

6. บริการประชุมทางจอภาพ ในปัจจุบันนักธุรกิจระหว่าประเทศสามารถทำการประชุมได้โดยไม่ต้องเดินทางเพื่อพบปะกันโดยตรง สามารถจัดประชุมได้โดยผู้ประชุมอยู่คนละประเทศ โดยขอใช้บริการ ณ สตูดิโอของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย

โดยสามารถบรรจุผู้เข้าประชุมได้ 6 คน พร้อมผู้สังเกตการณ์อีก 14 คน สามารถติดต่อกับประเทศที่สำคัญต่าง ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง การขอใช้บริการ ผู้ประสงค์ขอใช้ บริการติดต่อขอจองได้ที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยล่วงหน้า 5 วัน ก่อนวันใช้

บริการ อัตราค่าบริการ

ค่าเช่าสตูดิโอ 3,000 บาท / 30 นาที

ค่าเช่าวงจรระหว่างประเทศ 14,000 บาท / 30 นาที

ในกรณีผู้ประสงค์ใช้บริการยกเลิกการจอง เสียค่าธรรมเนียมดังนี้

ยกเลิกก่อนกำหนดใช้บริการ 48 ชั่วโมง ไม่คิดค่าธรรมเนียม

ยกเลิกก่อนกำหนดใช้บริการ 24 ชั่วโมง คิด 25% ของค่าใช้บริการ

ยกเลิกก่อนกำหนดใช้บริการน้อยกว่า 24 ชั่วโมงคิด 50 % ของค่าใช้บริการ



7. โทรคมนาคมผ่านดาวเทียม ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้นขององค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศหรืออินเทลแสต เมื่อปี 2509 เครือข่ายระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยสามารถติดต่อสื่อสารกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกมุมโลกอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีสถานีรับส่งภาคพื้นดินอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ติดต่อกับดาวเทียมชุดINTELSAT ที่ลอยอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย การจัดตั้งสถานีคมนาคมภาคพื้นดินผ่านดาวเทียม INMARSATเพื่อกิจการเดินอากาศเดินเรือ และยวดยานพาหนะทั่วไป ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างกันขณะเดินทางไปทั่วโลก นอกจากใช้ระบบสื่อสารดาวเทียมระหว่างประเทศแล้ว การสื่อสารแห่งประเทศไทยยังมีระบบสื่อสารดาวเทียมสำหรับภายในประเทศอีกด้วย โดยมีสถานี ภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นสถานีแม่ข่ายหลักและสถานีลูกข่ายในต่างจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศทั้งหมดกว่า 30 สถานี รวมทั้งสถานีลูกข่ายเคลื่อนที่ อีก 1 สถานี ทำให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทยสามารถติดต่อถึงกันได้ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างกว้างไกล



8. ระบบเคเบิลใต้น้ำ เคเบิลใต้น้ำเป็นระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะการสื่อสารโทรคมนาคมในระบบเครือข่ายติดต่อระหว่างประเทศ การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ใช้ระบบเคเบิลใต้น้ำ

ควบคู่ไปกับระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อให้เกิดศักยภาพในการสื่อสารสูงสุด ปัจจุบันการสื่อสารแห่งประเทศไทยมีระบบเคเบิลใต้น้ำเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอาเซียนส่งผลให้ประเทศไทยสามารถติดต่อสื่อสารกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศ

อาเซียน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกไกล ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปออสเตรเลียได้อย่างกว้างขวาง โดยมีสถานีโทรคมนาคมเคเบิลใต้น้ำ 3 แห่ง คือ ชลี 1 (อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี) ชลี 2 (อยู่ที่จังหวัดสงขลา)และชลี 3 (อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี)เป็นจุดเชื่อมโยงสัญญาณสู่ข่ายการสื่อสารภายในประเทศการสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระหว่างประเทศไทยถึงประเทศมาเลเชีย รวมถึงการร่วมลงทุนเป็นเจ้าของข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วอาเชียนและช่องอื่น ๆ ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ข่ายเคเบิลใต้น้ำจากไทยผ่านเวียดนามถึงฮ่องกง (T-V-H)เป็นการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดการสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะตัวแทนประเทศไทยได้เข้าร่วมลงทุนในระบบเคเบิลใต้น้ำใยก้ว สายเอเชียอาคเนย์-ตะวันออกกลางยุโรปตะวันตก (SEA-ME-WE 2)เพื่อขยายการติดต่อผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วไปยังประเทศแถบมหาสมุทรอินเดียตะวันออกกลางและยุโรปตะวันตกให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้การร่วมลงทุนในโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำ FLAG ซึ่งมีจุดขึ้นบกประเทศไทยที่จังหวัดสตูลจะทำให้ประเทศไทยมีข่ายการสื่อสารผ่านเคเบิลใต้น้ำครอบคุมทั่วโลกยิ่งขึ้น





























แบบทดสอบที่ 8

คำสั่ง แบบทดสอบมี 24 ข้อ ให้คลิกเลือกข้อที่ถูกต้อง

1. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง

ก. ออกธนบัตร ข. เป็นนายธนาคารของรัฐบาล

ค. รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป ง. ควบคุมดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2. สิ่งใดที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศต้องมีไว้

ก. ทองคำ ข. เงินตราต่างประเทศ ค. หลักทรัพย์ต่างประเทศ ง. ถูกทุกข้อ

3. เงินฝากธนาคารประเภทใดที่ผู้ฝากได้รับความสะดวกในการใช้เช็ค

ก. เงินฝากประเภทประจำ ข. เงินฝากประเภทออมทรัพย์

ค. เงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ ง. เงินฝากประเภทกระแสรายวัน

4. ข้อใดคือผู้มีสิทธิ์กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ก. เกษตรกร ข. กลุ่มเกษตรกร ค. สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ง. ถูกทุกข้อ

5. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยมีกี่คน

ก. 2 ข. 3 ค. 4 ง. 5

6. บุคคลที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย คือใคร

ก. ผู้เสียหาย ข. ผู้รับประกัน ค. ผู้เอาประกัน ง. ผู้รับประโยชน์

7. สัญญาประกันภัยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างบุคคลในข้อใด

ก. ผู้รับประกัน และผู้เอาประกัน ข. ผู้รับประกัน และผู้รับประโยชน์

ค. ผู้รับประโยชน์และผู้เอาประกัน ง. ผู้เอาประกันและผู้เสียประโยชน์

8. การประกันชีวิตในข้อใดที่นายนิยมประกันชีวิตให้ลูกจ้าง

ก. การประกันชีวิตแบบหมู่ ข. การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม

ค. การประกันชีวิตประเภทสามัญ ง. การประกันชีวิตแบบอุตสาหกรรม

9. ผู้ที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทน คือใคร

ก. ผู้เอาประกัน ข. ผู้รับประกัน ค. ผู้รับผลประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ

10. การประกันรถยนต์ จำนวนเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันจ่ายให้ผู้รับประกันขึ้นอยู่กับสิ่งใด

ก. ทุนเอาประกัน ข. อายุและประวัติการใช้รถยนต์ ค. ชนิดและประเภทของรถยนต์ที่ทำการประกัน ง. ถูกทุกข้อ

11. ประกันภัยรถยนต์ประเภทใดที่คุ้มครองภัยทั้งบุคคลและรถยนต์

ก. ประกันภัยประเภทหนึ่ง ข. ประกันภัยประเภทสอง ค. ประกันภัยประเภทสาม ง. ถูกทุกข้อ

12. ความหมายของการขนส่งคือข้อใด

ก. การเคลื่อนย้ายบุคคล สิ่งมีชีวิต สิ่งของ ข. การขนส่งบุคคล สิ่งมีชีวิต สิ่งของ โดยรถยนต์

ค. การเคลื่อนย้ายบุคคล สิ่งมีชีวิต สิ่งของ จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งโดยรถยนต์

ง. การเคลื่อนย้ายบุคคล สิ่งมีชีวิต จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งด้วยอุปกรณ์ในการขนส่ง

13. ทางหลวงแผ่นดินที่ใช้เป็นถนนสายหลักในการเดินทางไปภาคเหนือคือข้อใด

ก. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ข. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2

ค. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ง. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4



14. หน่วยงานใดที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานด้านการเก็บภาษีรถยนต์

ก. กรมทางหลวง ข. กรมการขนส่งทางบก ค. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ง. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

15. การขนส่งน้ำมันโดยทางรถไฟ นิยมใช้การขนส่งด้วยรถชนิดใด

ก. รถปิด ข. รถเปิด ค. รถเฉพาะกิจ ง. รถเฉพาะงาน

16. เรือประมงจัดเป็นเรือประเภทใด

ก. เรือสินค้า ข. เรือโดยสาร ค. เรือเฉพาะกิจ ง. เรืออุตสาหกรรม

17. แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายหลักในการเดินเรือในสายใด

ก. สายเหนือ ข. สายตะวันตก ค. สายตะวันออก ง. สายตะวันออกเฉียงเหนือ

18. หน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับการพาณิชย์นาวีของไทย

ก. กรมเจ้าท่า ข. การท่าเรือแห่งประเทศไทย ค. บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด ง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมพาณิชย์

19. ในยุคที่ประเทศกำลังประสบภาวะปัญหาทางเศรษฐกิจ นักศึกษาควรใช้บริการขนส่งแบบใด จึงจะเหมาะสมที่สุด

ก. เรือ ข. เครื่องบิน ค. รถไฟลอยฟ้า ง. รถโดยสารประจำทาง

20. การขนส่งประเภทใดเหมาะกับการขนย้ายสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณมาก ๆ และยากแก่การเสียหาย

ก. การขนส่งทางน้ำ ข. การขนส่งทางอากาศ ค. การขนส่งทางรถยนต์ ง. การขนส่งทางรถไฟ

21. การสื่อสารหมายถึงข้อใด

ก. การส่งข่าวสารโดยอาศัยสื่อ โทรศัพท์ วิทยุ ดาวเทียม ข. การส่งข่าวสารจากผู้ส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสารโดยอาศัยสื่อ

ค. การส่งข่าวสารเป็นข้อความจากผู้ส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสารโดยอาศัยสื่อ

ง. การส่งข่าวสารเป็นภาพและเสียงจากผู้ส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสารโดยอาศัยอาศัยโทรทัศน์

22. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการสื่อสาร

ก. ผู้ส่งสาร ข. ปฏิกิริยาตอบสนอง ค. ช่องทางหรือสื่อ ง. ยานพาหนะ

23. บริการด้านไปรษณียภัณฑ์ได้แก่ข้อใด

ก. สิ่งตีพิมพ์ ข. พัสดุไปรษณีย์ ค. โทรเลข ง. เทเลกซ์

24. โทรศัพท์ประเภทใดที่เหมาะสมกับการติดตั้งในสำนักงานธุรกิจ

ก. โทรศัพท์แบบธรรมดา ข. โทรศัพท์สาธารณะ ค. โทรศัพท์เคลื่อนที่ ง. โทรศัพท์ติดตามตัว