หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่5

แหล่งเงินทุนและการบัญชีธุรกิจ


ความหมายและความสำคัญของเงินทุน

เงินทุน หมายถึง เงินตราที่องค์การธุรกิจจัดหามา เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจาการลงทุนอย่างคุ้มค่า เงินทุนมีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มตั้งกิจการ และระหว่างดำเนินกิจการ เงินทุนทำให้การผลิต การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ธุรกิจขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของเงินทุน

เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

2.1 เงินทุนคงที่

เงินทุนคงที่หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินถาวร ทรัพย์สินถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี ดังนั้น เงินทุนคงที่ องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการลงทุนซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น

2.2 เงินทุนหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียนหรือใช่ในการดำเนินกิจการ ทรัพย์สินหมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งปี ดังนั้น เงินทุนหมุนเวียน องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการซื้อวัตถุดิบ ซื้อสินค้า จ่ายค่าแรงงาน จ่ายค่าเบี้ยประกันภัย จ่ายค่าขนส่ง จ่ายค่าโฆษณา จ่ายค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น



การจัดหาเงินทุน

องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุน เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการตามระยะเวลาได้ 2 ประเภท คือ

เงินทุนระยะสั้น หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อใช้ดำเนินงาน มีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ การจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียน จ่ายเงินเดือนพนักงาน ซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตแหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้แก่

1. ธนาคารพาณิชย์ การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์ขององค์การ ธุรกิจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1.1 การเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร คือ องค์การธุรกิจมีบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เมื่อองค์การธุรกิจมีความต้องการเงินทุนระยะสั้น สามารถทำข้อตกลงกับธนาคารขอเบอกเงินมากกว่าจำนวนที่ฝากไว้ โดยธนาคารอาจขอให้ใช้หลักทรัพย์บุคคลมาค้ำประกัน และธนาคารคิดดอกบเบี้ยจากจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีเงินฝากไปใช้

1.2 การนำสินค้นหรือใบรับสินค้าค้ำประกันการกู้ คือ องค์การธุรกิจกู้เงินจากธนาคารโดยนำสินค้นหรือสลักหลังใบรับสินค้าเป็นหลักประกันการกู้จากธนาคาร กำหนดการชำระเงินเมื่อจำหน่ายสินค้าได้

2. ใช้เอกสารเครดิต คือองค์การธุรกิจใช้เอกสารเครดิตในการกู้เงินจากเจ้าหนี้เอกสารที่ใช้ในการกู้ระยะสั้นได้แก่ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า การขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้

3. สินเชื่อทางการค้า คือ องค์การธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้ตามประเพณีการค้า โดยการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ได้สินค้าก่อนชำนะเงินภายหลัง หรือการรับรองตั๋วแลกเงินที่เจ้าหนี้เป็นผู้ออก

เงินทุนระยะยาว

เงินทุนระยะยาว (Long Term Financing) หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหามีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนเกินกว่า 5 ปี

แหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะยาว ได้แก่

1. เจ้าของทุนองค์การธุรกิจ โดยการเพ่มทุนของเจ้าขององค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และ

การออกจำหน่ายหุ้นทุนขององค์การธุรกิจประเภทบริษัทจำกัด หุ้นทุนของบริษัท ได้แก่

1.1 หุ้นสามัญ บริษัทออกหุ้นสามัญจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิ

ออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และได้รับเงินปันผลในกรณีบริษัทมีกำไร แต่อัตราเงินปันผลของห้นสามัญไม่กำหนดแน่นอน

1.2 หุ้นบุริมสิทธิ บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และรับเงินปันผลเป็นอัตราแน่นอน

2. ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น องค์การธุรกิจสามารถจัดหารเงินทุนระยะยาวได้โดยการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นต้น

3. จำหน่ายพันธบัตร องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะยาวได้ โดยออกเอกสารจำหน่ายให้แก่ประชาชน ผู้ถือพันธบัตรมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ขององค์การธุรกิจ ผลตอบแทนที่ได้รับคือ ดอกเบี้ยที่มีอัตราแน่นอน ไม่ว่าองค์การธุรกิจจะมีกำไรหรือขาดทุน

4. กู้ยืมจากรัฐบาล รัฐบาลมีนโยบายให้องค์การธุรกิจขนาดเล็กกู้ระยะยาวโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจ



การบัญชีขององค์การธุรกิจ

การประกอบธุรกิจทุกประเภท มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำบัญชี เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบริหารงานของธุรกิจเอง และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี ดังนั้น การจัดทำบัญชีของธุรกิจจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 กำหนดไว้ ดังนี้

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

การประกอบธุรกิจ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจประเภทนิติบุคคลไม่ว่าจะอยู่ระหว่างดำเนินกิจการ หรือไม่ดำเนินกิจการก็ตาม จะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำบัญชีขององค์กรธุรกิจมีดังนี้

1. องค์การธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

1.1 บริษัทจำกัด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ กรรมการบริษัท

1.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ

1.3 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ หุ้นส่วนผู้จัดการ

2. ร้านค้าบุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ เจ้าของ

3. ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้จัดการ

4. นิติบุคคลต่างประเทศ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้จัดการ

5. สำนักงานสาขาของธุรกิจทุกประเภทตามข้อ 4.1.1 - 4.1.4 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีคือ ผู้จัดการสำนักงานสาขา

หน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

1. ต้องจัดให้มีการทำบัญชี ให้ถูกต้องตามประเภท และชนิดที่กฎหมายกำหนดไว้

2. ต้องจัดให้มีการลงรายการในบัญชี โดยมีข้อความ รายการ และลงรายการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้

การลงรายการในบัญชีต้องเขียนด้วยหมึก หรือพิมพ์และต้องลงรายการเป็นภาษาไทย ถ้าลงเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีภาษาไทยกำกับ

3. ต้องปิดบัญชีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งต้องทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ให้มีรายการย่อตามที่กฎหมายกำหนด และต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ เพื่อแสดงความเห็นต่องบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนด้วย

4. ต้องจัดส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนประจำปีต่อกรมทะเบียนการค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด

5. ต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจ และเก็บไว้มีกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด หากสูญหายหรือเสียหายต้องแจ้งต่อกรมทะเบียนการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

6. เมื่อเลิกประกอบธุรกิจต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชี

กรมทะเบียนการค้า (เฉพาะร้านค้า บุคคลธรรมดา ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องส่งมอบต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท)

7. ต้องไม่ลงรายการเท็จในบัญชี หรือแก้ไขบัญชี หรือเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ผิดความจริง หรือไม่ละเว้นการลง

รายการในบัญชี ตลอดจนต้องไม่ทำให้เสียหาย ทำลายซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีหาก "ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี" ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญชีกำหนดดังกล่าวแล้ว จะต้องมีความผิดได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่อง ดังนี้

1. ไม่จัดทำบัญชีตามที่กำหนด โทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

2. ลงรายการในบัญชีไม่เป็นไปตามที่กำหนด ดังนี้

2.1 ไม่มีข้อความและรายการในบัญชีตามที่กำหนด

2.2 ไม่ลงรายการในบัญชีภายในกำหนดเวลาโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าสิบบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

3. ไม่ปิดบัญชีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

4. ไม่จัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนตามรายการย่อที่กำหนด โทษปรับไม่เกินสองพันบาท

5. เก็บรักษาบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น โดยไม่ขออนุญาตต่อสารวัตรบัญชี

กรมทะเบียนการค้า โทษปรับไม่เกินสองพันบาท

6. ไม่เก็บรักษาบัญชี และเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ตามที่กำหนดโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

7. บัญชีและหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย เสียหายไม่แจ้งต่อสารวัตรบัญชี กรมทะเบียนการค้าภายใน 15 วัน

นับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น โทษปรับไม่เกินสองพันบาท

8. นอกจากความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะมีตามที่กล่าวแล้ว ผู้เกี่ยวข้อง เช่น สมุห์บัญชี พนักงานบัญชี

หรือผู้รับจ้างทำบัญชี ก็จะต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมาย หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง ดังนี้





























แบบทดสอบที่5

คำสั่ง แบบทดสอบมี 10 ข้อ ให้คลิกเลือกข้อที่ถูกต้อง

1. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับเงินทุน

ก. เงินทุน หมายถึง เงินสดเท่านั้น ข. เงินทุน คือ เงินตราที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ดำเนินงาน

ค. เงินทุน ใช้สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเท่านั้น ง. เงินทุนคงที่ คือ เงินทุนที่ใช้ในการใช้จ่ายประจำวัน

2. เงินทุนคงที่ หมายถึงข้อใด

ก. เงินที่องค์การธุรกิจซื้อวัตถุดิบ ข. เงินที่องค์การธุรกิจจ่ายค่าโทรศัพท์

ค. เงินที่องค์การธุรกิจจ่ายค่าแรงคนงาน ง. เงินที่องค์การธุรกิจลงทุนสร้างอาคาร

3. ข้อใดไม่ถือว่าเป็นเงินสด

ก. ธนบัตร ข. ธนาณัติ ค. เงินฝากกระแสรายวัน ง. เงินฝากประจำ

4. ข้อใดคือแหล่งเงินทุนระยะสั้น

ก. บริษัทประกัน ข. การเปิดบัญชีสินเชื่อ

ค. เงินกู้รัฐบาล ง. หุ้นกู้จำนอง

5. แหล่งเงินทุนชนิดใดมีลักษณะเป็นเจ้าของกิจการ

ก. ออกหุ้นกู้ ข. ออกหุ้นสามัญ

ค. บริษัทประกันภัย ง. การออกตั๋วเงิน

6. ระยะเวลาในการชำระหนี้ของแหล่งเงินทุนระยะสั้นคือข้อใด

ก. 1 เดือน ข. 3 เดือน ค. 6 เดือน ง. ไม่เกิน 1 ปี

7. ข้อใดไม่ใช่แหล่งเงินกู้จากรัฐบาล

ก. เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ ข. เงินกู้ทางเกษตรกรรม

ค. เงินกู้เพื่อ การเคหะสงเคราะห์ ง. เงินกู้จากสำนักงานการส่งเสริมการลงทุน

8. แหล่งเงินทุนประเภทใดเหมาะกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

ก. เครดิตทางการค้า ข. การเปิดบัญชีสินเชื่อ

ค. การกู้ยืมในวงเครดิต ง. การออกหุ้นกู้

9. ระยะเวลาในการชำระหนี้ของแหล่งเงินทุนระยะยาว คือข้อใด

ก. 6 เดือน ข. 1 ปี ค. 3 ปี ง. 6 ปี

10. ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีของบริษัท จำกัด คือใคร

ก. ผู้ถือหุ้นสามัญ ข. กรรมการบริษัท

ค. ผู้จัดการบริษัทจำกัด ง. ผู้ก่อการจัดตั้งบริษัท



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น