หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่2

จรรยาบรรณและคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ


ความหมายของจรรยาบรรณผู้ประกอบธุรกิจ

จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานในการตัดสินใจที่จะประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆที่แต่ละคนในสังคมต้องรับผิดชอบ ซึ่งมาตรฐานนั้นอาจจะได้มาจากระเบียบ ข้อบังคับ ค่านิยมของสังคม จารีตประเพณีขนบธรรมเนียม รวมทั้งจากการศึกษาและประสบการณ์การเรียนรู้

ความสำคัญของจรรยาบรรณ ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจ เป็นผู้ประกอบอาชีพที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้น นักธุรกิจจึงจำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เกิดความศรัทธา และเกิดการยอมรับของสังคมต่อวิชาชีพนี้



จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจ

ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของคนในสังคม โดยมีนักธุรกิจเป็นกลไกในการเชื่อมโยง ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและศรัทธาในวิชาชีพของตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมอาชีพ อันส่งผลให้เกิดการยอมรับจากคนทั่วไปในสังคม และสามารถทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้และเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งจรรยาบรรณของธุรกิจคือ หลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจยึดเป็นแนวทางการประพฤติในการดำเนินอาชีพ โดยกำหนดตามบทบาทหลักดังนี้

1. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อลูกค้า

2. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อผลิตภัณฑ์

3. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อคู่แข่งขัน

4. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อส่วนราชการ

5. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อพนักงาน

6. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม

7. จรรยาบรรณของพนักงานต่อผู้ประกอบธุรกิจ



1. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อลูกค้า

ลูกค้า (Customer) คือ กลุ่มบุคคลผู้ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจทำให้ธุรกิจมีรายได้ ตลอดจนมีกำไร สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้และมีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคตดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจต่อลูกค้าดังนี้

1.1 กำหนดราคาสินค้า บริการด้วยความยุติธรรม เหมาะสมกับคุณภาพและปริมาณของสินค้าและบริการนั้น

1.2 ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์ เช่น ขายสินค้าหรือบริการถูกต้องตามจำนวนคุณภาพและราคาที่ตกลงกับลูกค้า รวมทั้งมีความรับผิดชอบตามเงื่อนไขภาระผูกพันของกิจการ

1.3 มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเอาใจใส่ลูกค้าทุกคน เปิดโอกาสให้ลูกค้าทุกคนซื้อสินค้าและบริการในทุกสภาวะเศรษฐกิจ

1.4 ไม่สร้างเงื่อนไขให้ลูกค้ากระทำตามหรือบีบบังคับ หรือควบคุมการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการ

1.5 ไม่กระทำการใด ๆ เพื่อทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล เช่น การให้ข้อมูลเท็จ การกักตุนสินค้าการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น

1.6 ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีอัธยาศัยไมตรีอันดี



2.จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ สิ่งที่เสนอขายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการ

ควบคุมการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภคจึงจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดได้ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจควรมีจรรยาบรรณต่อผลิตภัณฑ์ดังนี้

2.1 ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้เหมาะสม มีความสวยงาม มีราคาคุ้มค่า สามารถตอบสนองความต้องการและเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้บริโภค

2.2 ผลิตสินค้าและบริการได้มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยมีการรับรองกรรมวิธีการผลิตตามระบบที่แสดงถึงความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานระบบคุณภาพ (ISO) เป็นต้น

2.3 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ

2.4 ผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยระบุวันผลิตและวันหมดอายุ ที่ตั้งผลิตภัณฑ์ไว้อย่างชัดเจน

2.5 เปิดเผยความเสี่ยงทุกประเภทที่เกี่ยวข้องหรือเนื่องจากตังผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง มีข้อความระบุว่า "ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ" ยาฆ่าแมลง มีข้อความระบุว่า "ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก" หรือนมข้นหวาน ระบุข้อความว่า "ห้ามใช้เลี้ยงทารก" เป็นต้น

2.6 เปิดเผยถึงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์

2.7 ไม่ตั้งชื่อและออกแบบผลิตภัณฑ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์เลียนแบบผู้อื่น

2.8 ผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมต้องมีการควบคุมคุณภาพทั้งระบบครบวงจร



3. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อคู่แข่งขัน

คู่แข่งขัน (Competitor) คือ ผู้ที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งต้องมีการแข่งขันกัน หรือบางครั้งต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน ดังนั้น การแข่งขันต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อคู่แข่งขันดังนี้

3.1 ไม่กลั่นแกล้งหรือให้ร้ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม หรือทำการข่มขู่และกีดกันทางการค้า ทำให้คู่แข่งขันเสียโอกาสอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การแย่งชิงลูกค้า การขายตัดหน้า เป็นต้น

3.2 การให้ความร่วมมือในการแข่งขันเพื่อสร้างภาวะตลาดที่ดี เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า การร่วมมือในการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3.3 ไม่ล่วงละเมิดสิทธิตามกฎหมายของคู่แข่งขัน เช่น ละเมิดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น

3.4 ไม่จารกรรมความลับทางธุรกิจของคู่แข่งขัน



4. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อหน่วยราชการ

หน่วยราชการ เป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการติดต่อกับหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ในการประกอบธุรกิจยังอยู่ในการควบคุมดูแลของหน่วยราชการอีกด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อส่วนราชการดังนี้

4.1 ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายในการประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ เช่น จัดทำบัญชีและเสียภาษีถูกต้องมีหลักฐานสามารถตรวจสอบได้ และไม่เปิดโอกาสให้ข้าราชการประพฤติมิชอบในธุรกิจของตน

4.2 ไม่ให้สินบนเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ

4.3 ไม่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนข้าราชการในการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริต ไม่ว่ากรณีใด ๆ

4.4 ไม่ให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ ยกเว้นกรณีเป็นสิ่งของเพียงเล็กน้อยที่คนส่วนใหญ่ให้กันตามประเพณี

4.5 ทำธุรกิจกับส่วนราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม มีความเป็นมิตรไมตรีเหมือนลูกค้าทั่วไป

4.6 ให้ความร่วมมือกับส่วนราชการในการทำหน้าที่พลเมืองที่ดี โดยการสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ตาม

ความเหมาะสม สนับสนุนด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและชุมชน

4.7 มีทัศนคติที่ดีและเชื่อมั่นต่อส่วนราชการ ให้ความร่วมมือกับส่วนราชการเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน



5. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อพนักงาน

พนักงาน (Employer) คือ บุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยในการประกอบธุรกิจที่สำคัญ ถ้าไม่มีพนักงานทำหน้าที่

ต่าง ๆ ในองค์กร ย่อมทำให้ไม่เกิดกิจกรรมทางธุรกิจอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับพนักงานและปฏิบัติ

ต่อพนักงานด้วยการมีจรรยาบรรณดังนี้

5.1 ให้ค่าจ้างและผลตอบแทนอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ และลักษณะของงาน

เช่น งานบางอย่างต้องใช้ความสามารถและความเสี่ยงสูง ควรให้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย เป็นต้น และควรมีการปรับปรุง

ให้มีอัตราสูงขึ้นเมื่อกิจการมีกำไร

5.2 ให้สวัสดิการที่ดี ทำให้พนักงานมีสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต เช่น จัดสถานที่ทำงานและสภาพความ

เป็นอยู่ของพนักงานถูกสุขลักษณะ มีการจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันภัยที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ให้สวัสดิการการรักษา

พยาบาลของพนักงานและครอบครัว เป็นต้น

5.3 สนับสนุนให้พนักงานมีการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถของพนักงานโดยการ

ฝึกอบรมสัมมนาต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ให้ทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เป็นต้น

5.4 ให้ความยุติธรรมกับพนักงานทุกคนเท่าเทียมกัน ทั้งด้านการปกครองและการพิจารณาผลตอบแทน

5.5 เคารพสิทธิส่วนบุคคลและความสามารถของพนักงาน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของพนักงานโดย

ไม่ได้รับอนุญาต

5.6 ศึกษาและทำความเข้าใจพนักงานในด้านอุปนิสัย ความถนัด ความสามารถ เพื่อจัดหน้าที่ของ

พนักงานให้เหมาะสมกับงานที่ทำ ซึ่งจะทำให้พนักงานทำงานตรงตามความสามารถ อันส่งผลให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ

และประสิทธิผล

5.7 ให้ความเชื่อถือและความไว้วางใจด้วยการมอบหมายงานที่มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น รวมทั้งให้การ

ยอมรับในผลงาน และส่งเสริมสถานภาพในการทำงานให้สูงขึ้น

5.8 ให้คำแนะนำปรึกษาแก่พนักงานด้วยความเต็มใจทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวตามความเหมาะสม

5.9 ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อสังคมและประเทศชาติ



6. จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม

สังคม (Society) คือ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของบุคคล โดยแต่ละคนจะมีหน้าที่ในสังคมแตกต่างกัน มีการ

แบ่งงานกันทำ มีสิทธิและเสรีภาพในฐานะการเป็นพลเมืองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ

สังคม จึงต้องมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าหรือมีความสงบสุข มีส่วนรับผิดชอบกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรม

ต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อสังคมดังนี้

6.1 ไม่ประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมทั้งด้านจิตใจและด้านศีลธรรม ซึ่งมีผลให้คนในสังคมขาดคุณธรรม

ตลอดจนเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดให้แก่คนในสังคม เช่น การเปิดบ่อนการพนัน ทำธุรกิจที่สนับสนุนให้เกิดการทำผิดกฎหมาย

เช่น รับซื้อของโจร เป็นต้น

6.2 ไม่ทำธุรกิจที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ค้าไม้เถื่อน การรุกล้ำที่สาธารณะ การปล่อย

น้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น

6.3 มีการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเป็นต้นเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งด้านเสียง สีและกลิ่น เช่น

มีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสีย การเก็บรักษาและทำลายวัตถุมีพิษต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย

ด้านอื่น ๆ เป็นต้น

6.4 ให้ความเคารพในสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่นหรือธุรกิจอื่น ด้วยการไม่ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับ

อนุญาต

6.5 ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมโดยการสละเวลา กำลังกาย กำลังทรัพย์

เพื่อความน่าอยู่ของสังคม เช่น ร่วมจัดทำศาลาพักผู้โดยสาร ร่วมปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะ ฯลฯ

6.6 สร้างงานแก่คนในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น



7. จรรยาบรรณของพนักงานต่อผู้ประกอบธุรกิจ

นอกจากผู้ประกอบธุรกิจจะประกอบธุรกิจด้วยการมีจรรยาบรรณต่อพนักงานแล้ว พนักงานก็เช่นเดียวกัน

ย่อมต้องมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพต่อผู้ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกัน ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายต่างปฏิบัติต่อกันด้วยการมีจรรยาบรรณ

ย่อมทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ ดังนั้น พนักงานจึงควรมีจรรยาบรรณต่อผู้ประกอบธุรกิจ

ดังนี้

7.1 มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียรและมีวินัยในการทำงาน

7.2 มีความรับผิดชอบและรักษาทรัพย์สินของกิจการ ด้วยการใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดูแลรักษา

ไม่ให้สูญหายและไม่นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว

7.3 ประพฤติและปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม ไม่ปฏิบัติตนให้มีผลกระทบต่อนายจ้าง

7.4 ไม่ประพฤติและปฏิบัติสิ่งที่ขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง ด้วยการกระทำตนเป็นคู่แข่งขันในเชิงธุรกิจ

การรับผลประโยชน์และเกี่ยวข้องทางการเงินกับคู่แข่งขันของนายจ้าง ซึ่งมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบและเสียเปรียบในเชิง

ธุรกิจกับคู่แข่งขัน

7.5 ไม่ทำงานให้บุคคลอื่น ต้องมีความจงรักภักดีเต็มใจทำงานให้นายจ้างอย่างเต็มความสามารถ ยกเว้น

ได้รับการอนุญาตจากนายจ้างก่อนซึ่งต้องไม่เป็นอุปสรรคต่องานประจำ

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ



ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจ (Businessman) คือ บุคคลผู้จัดตั้งธุรกิจและบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดความสำเร็จ

ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องติดต่อกับบุคคลอื่นตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงานในองค์การหรือ

หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจตน ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง คือ มีความรู้สึกว่าสามารถทำทุกอย่างที่ต้องการหรือที่อยากทำได้ หากยิ่งประสบ

ความสำเร็จก็จะรู้สึกมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ซึ่งการมีความเชื่อมั่นในตนเองนี้ทำให้นักธุรกิจสามารถทำงานทุกอย่าง

ด้วยความมั่นใจ มีความอยากทำและมีความตั้งใจในการทำ อันทำให้เกิดผลงานออกมาดีตามที่ต้องการได้

2. มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าทั้งด้านคำพูดและการกระทำ สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพให้ลูกค้าได้บริโภค

แต่สิ่งที่ดีและมีความปลอดภัยต่อชีวิต

3. มีความกตัญญูต่อลูกค้าและผู้มีบุญคุณอื่น ๆ โดยการมอบแต่สิ่งดี ๆ ให้แก่ลูกค้าและพัฒนาคุณภาพของ

ผลิตภัณฑ์ให้ดีอย่างต่อเนื่อง

4. มีความยุติธรรมในการบริหารงานและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ด้วยความยุติธรรมในการให้โอกาสแก่ทุก ๆ ฝ่าย

เท่าเทียมกัน

5. มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ การมีประสบการณ์จะทำให้มีข้อมูลในการนำมาวางแผนและบริหารงานให้มี

ประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี เพราะรู้ว่าสิ่งใดควรปฏิบัติและสิ่งใดควรละเว้นจึงจะทำให้การดำเนินธุรกิจบรรลุตาม

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6. มีความมั่นใจในตนเอง สามารถตัดสินใจได้ทันเวลา ทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ

ได้ดี ย่อมทำให้ไม่เสียโอกาสทองในการดำเนินธุรกิจ

7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งด้านการบริหารและการจัดการทำให้ธุรกิจมีวิธีการใหม่ ๆ หรือผลงานใหม่ ๆ

ที่มีคุณภาพดีขึ้นหรือมีประสิทธิผลมากขึ้น

8. มีความรอบรู้เกี่ยวกับสภาพของตลาด เพราะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการนำมาตัดสินใจใน กระบวนการผลิตและการจัดจำหน่าย เพื่อธุรกิจจะได้ปฏิบัติหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดและสังคม

9. มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อองค์การและสังคม รวมถึงปฏิบัติ

ต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการมีจรรยาบรรณที่ดี

นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องพัฒนาคุณสมบัติดังต่อไปนี้จึงจะส่งผลให้ประสบ

ผลสำเร็จในการทำงานได้เป็นอย่างดี ได้แก่

1. มีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน

2. มีความละเอียด รอบคอบในการทำงาน

3. มีหลักการและเหตุผลที่ดีในการตัดสินใจ

4. มีความตื่นตัวและติดตามความเคลื่อนไหวในทุก ๆ ด้านของสังคม

5. มีจิตสำนึกดี มีคุณธรรม

6. มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง สดชื่นแจ่มใสในการปฏิบัติงาน

7. มีความฉลาดและรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน โดยการศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาความรู้ของตนเอง



















แบบทดสอบที่2

คำสั่ง แบบทดสอบมี 10 ข้อ ให้คลิกข้อที่ถูกต้อง

1. ข้อใดคือสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีจรรยาบรรณต่อลูกค้า

ก. ขายสินค้าราคายุติธรรม ข. ดูแลเอาใจใส่ลูกค้า

ค. มีอัธยาศัยไมตรี ง. ถูกทุกข้อ

2. ข้อใดคือสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีจรรยาบรรณต่อผลิตภัณฑ์

ก. ผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด ข. ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

ค. ผลิตผลิตภัณฑ์เหมือนเดิมทุกเวลา ง. ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีค่าราคาแพงเท่านั้น

3. ข้อใดคือสิ่งที่ผู้ประกอบการพึงปฏิบัติต่อคู่แข่ง

ก. ต่อสู้คู่แข่งทุกโอกาส ข. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า

ค. ค้นหาข้อมูลลับของคู่แข่ง ง. ละเมิดสิทธิต่าง ๆ

4. ผู้ประกอบธุรกิจควรปฏิบัติต่อส่วนราชการอย่างไร

ก. ให้ความร่วมมือเรื่องส่วนตัว ข. ให้ของขวัญหรือของกำนัล

ค. ทำหน้าที่พลเมืองที่ดี ง. ให้การสนับสนุนราชการทุกกรณี

5. ผู้ประกอบธุรกิจควรมีจรรยาบรรณต่อพนักงานอย่างไร

ก. ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ข. กำหนดอัตราค่าจ้างคงที่

ค. เปิดเผยข้อมูลของพนักงาน ง. ถูกทุกข้อ

6. ข้อใดคือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรมีต่อสังคม

ก. ให้ความร่วมเฉพาะผู้นำเท่านั้น ข. สร้างงานให้แก่คนในสังคม

ค. รุกล้ำในที่สาธารณะ ง. เลียนแบบบุคคลอื่น ๆ

7. ข้อใดคือจรรยาบรรณที่พนักงานควรมีต่อผู้ประกอบธุรกิจ

ก. ซื่อสัตย์สุจริต ข. มีความรับผิดชอบ

ค. ประพฤติอยู่ในศีลธรรม ง. ถูกทุกข้อ

8. ผู้ประกอบธุรกิจให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ลูกค้า หมายถึง คุณสมบัติข้อใดของผู้ประกอบธุรกิจ

ก. ความซื่อสัตย์ ข. ความมั่นใจตนเอง

ค.ความรู้ด้านการตลาด ง. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

9. การจัดบ่อบำบัดน้ำเสีย การป้องกันเรื่องเสียงและกลิ่น เป็นที่ผู้ประกอบธุรกิจพึงปฏิบัติตามข้อใด

ก. ไม่ทำให้สังคมเสื่อม ข. ให้ความร่วมมือกับชุมชน

ค. ดูแลเอาใจใส่การประกอบกิจของตน ง. ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

10. เคารพในสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น หมายถึง จรรยาบรรณข้อใด

ก. ผู้ประกอบธุรกิจมีต่อสังคม ข. ผู้ประกอบธุรกิจมีต่อลูกค้า

ค. ผู้ประกอบธุรกิจมีต่อคู่แข่งขัน ง. ผู้ประกอบธุรกิจมีต่อพนักงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น