หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่9

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับสภาวะแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ


1. ความหมายของสภาวะสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

สภาวะแวดล้อมขององค์การธุรกิจ (Organizational Environment) หมายถึงสิ่งที่ส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ สิ่งแวดล้อมอาจช่วยสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของการประกอบธุรกิจ

ผู้บริหารองค์การจึงต้องมีการวางแผน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

2.ปัจจัยและประเภทของสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

ปัจจัยและประเภทของสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ แบ่งออกได้ ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลภายในองค์การธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารองค์การต้องควบคุมให้ได้เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อธุรกิจ

สิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจ ประกอบด้วย

1.1 เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้น (Owners and Shareholders)การประกอบกิจการขนาดเล็ก เจ้าของกิจการ คือผู้ที่ลงทุน ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ และเป็นผู้ดำเนินธุรกิจ เจ้าของกิจการจึงมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจเมื่อกิจการได้ขยายใหญ่ ขึ้นความต้องการให้การจัดหาทุนมีเพิ่มขึ้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดหาทุนโดยการออกจำหน่ายหุ้นบุคคลที่ซื้อหุ้นของบริษัท เรียกว่า ผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนจากบริษัทในรูปของเงินปันผล และผู้ถือหุ้นมีอำนาจในการเลือกคณะกรรมการเพื่อบริหารงานของบริษัท ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

1.2 คณะกรรมการบริหาร (Board of Directors) คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงาน ได้แก่ ทำหน้าที่ในการวางแผน ตัดสินใจ และบริหารงานขององค์การธุรกิจ โดยคณะกรรมการ

บริหารอาจเป็นพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาขององค์การธุรกิจ เรียกว่า กรรมการบริหารภายใน (Inside Directors) หรืออาจเป็นคณะกรรมการที่ไม่ใช่เป็นพนักงานเต็มเวลาขององค์การธุรกิจ แต่ได้รับเลือกเข้ามาเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานขององค์การธุรกิจ เรียกว่า กรรมการบริหารภายนอก (Outside Directors)

1.3 พนักงานหรือลูกจ้าง (Employees) คือ กลุ่มบุคคลที่ผู้บริหารองค์การได้ทำการคัดเลือกมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์การเพื่อให้องค์การประสบผลสำเร็จดังเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งการปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้าง จะมีผลกระทบต่อลูกค้าขององค์การ โดยตรงถ้าการปฏิบัติงานของพนักงานก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้านั่นหมายถึงรายได้หรือผลกำไรต่อองค์การธุรกิจ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าลูกค้าไม่พึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การธุรกิจก็อาจประสความล้มเหลวได้ ดังนั้น พนักงานหรือลูกจ้างจึงเป็นสิ่งแวดล้อมภายในที่มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

1.4 วัฒนธรรมขององค์การ (Organizational Culture) คือ ความเชื่อ ค่านิยมที่สมาชิกในองค์การถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันวัฒนธรรมขององค์การจึงเป็นสิ่งที่ ผู้บริหารองค์การต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการวางแผน การบริหารงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในองค์การเป็นอย่างดี ถ้าวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าวัฒนธรรมขององค์การใดเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรือไม่มีประโยชน์ต่อองค์การผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้แก่องค์การเพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติ แล้วเกิดผลดี และดำรงอยู่กับองค์การต่อไป

2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลภายนอกต่อองค์การทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 สิ่งแวดล้อมทั่วไป (Feneral Environment) คือ สิ่งแวดล้อมทั่วไปภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์การในระยะยาว ได้แก่

1) อิทธิพลด้านกฎหมายและการเมือง (Politicolegal Forces) คือ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ภาษีอากร นโยบายของรัฐบาลซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลในการกำหนดกิจกรรมขององค์การผู้บริหารองค์การจึงจำเป็นต้องติดตามและทำความเข้าใจกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อจะได้ดำเนินการธุรกิจได้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ เช่นรัฐบาลมีนโยบาลให้การสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงออกกฎหมายยกเว้นภาษีมูลค่าเพ่มสำหรับการขายผลผลิตทางการเกษตรเป็นต้น

2) อิทธิพลด้านเทคโนโลยี (Technological Forces) คือ ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการคิดค้นเพื่อให้กระบวนการผลิตสินค้า หรือบริการได้เปรียบคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันในปัจจุบันวิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารองค์การจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญศึกษาหาความรู้ในด้านนี้เพื่อจะได้นำมาพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจให้ก้าวหน้าทันสมัยยิ่งขึ้น เช่น การบันทึกบัญชี แต่เดิมใช้พนักงานทำหน้าที่ในการบันทึกบัญชี เริ่มตั้งแต่สมุดรายวันทั่วไป ผ่านรายการไปสมุดแยกประเภททั่วไป หายอดคงเหลือ ทำงบทดลอง แต่ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พนักงานสามารถบันทึกรายการค้าในเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดทำงบทดลองหรืองบการเงินได้ทันที หรือแสดงยอดสินค้าคงเหลือได้โดยโปรแกรมสำเร็จรูปเทคโนโลยีเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ

3) อิทธิพลด้านเศรษฐกิจ (Economic Forces) ผู้บริหารองค์การจำเป็นต้องศึกษาและให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา รายได้ประชาชาติ อัตราดอกเบี้ย อัตราการว่างงาน แนวโน้มของผู้บริโภค เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ธุรกิจอสังหริมทรัพย์มียอดขายสูงเป็นอย่างมาก แต่ตั้งแต่กลางปี 2540 เศรษฐกิจของไทยอยู่ในภาวะถดถอยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบความล้มเหลวเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจึงต้องชะลอการดำเนินธุรกิจประเภทนี้ไว้ก่อน

4) อิทธิพลด้านสังคมวัฒนธรรม (Sociocultural Forces) คือ ทัศนคติ ค่านิยมลักษณะด้านประชากร และความต้องการขั้นพื้นฐานของสังคมที่องค์การธุรกิจไปดำเนินการอยู่ผู้บริหารองค์การธุรกิจจึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Needs) หรือความอยากได้ (Wants) ของสังคมนั้น เพราะทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมของสังคมเป็นส่งกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของประชาชนในสังคมนั้น การศึกษาในเรื่องนี้ประกอบด้วยเรื่องศาสนา เพศ อายุ จำนวนประชากร อัตราการเจริญเติบโตของประชากร

5) อิทธิพลระหว่างประเทศ (International Forces) คือ อิทธิพลจากบริษัทใหญ่ที่ อยู่ภายนอกประเทศ การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศหรือธุรกิจข้ามชาติ ควรคำนึงถึงคู่แข่งขันในประเทศนั้น และคู่แข่งขันระดับโลกซึ่งมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

2.2 ส่งแวดล้อมด้านการงาน (Task Environment) คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มี อิทธิพลโดยตรงต่อองค์การซึ่งทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้

1) ลูกค้า (Customers) เป็นสิ่งแวดล้อมด้านการงานที่สำคัญ เพราะลูกค้าขององค์การธุรกิจเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการมีผลโดยตรงที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวผู้บริหารองค์การธุรกิจจึงมักกำหนดเป้าหมายของธุรกิจ โดยการสร้างและรักษาลูกค้าคือต้องศึกษาและทำการวิจัยลูกค้าท้งในด้านพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มความเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า ซึ่งองค์การธุรกิจสามารถได้รับข้อมูลจากลูกค้าได้หลายทาง เช่น ได้ รับข้อมูลจากลูกค้า ผ่านพนักงานขององค์การธุรกิจ ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งไปให้ลูกค้าหรือได้รับข้อมูลจากการทำวิจัยธุรกิจ

2) คู่แข่งขัน (Competitors) คือ องค์การธุรกิจอื่นที่ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับองค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องศึกษาและติดตามการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของคู่แข่งขันตลอดเวลา เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางตลาด หรือลูกค้าของธุรกิจไว้ โดยสิ่งที่ต้องติดตามและศึกษา ได้แก่ กลยุทธ์ที่คู่แข่งขันใช้ในการดำเนินการ เช่น การให้บริการแก่ลูกค้า การตั้งราคาสินค้าหรือบริการการส่งเสริมการขาย วิธีที่สามารถรวบรวมข้อมูลของคู่แข่งขัน ได้แก่ การตรวจสอบจากรายงานประจำปีของคู่ แข่งขัน การโฆษณา การร่วมประชุมกับองค์การธุรกิจในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาองค์การธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้

3) ผู้จัดหา (Suppliers) คือ บุคคลหรือองค์การที่มีหน้าที่ในการจัดหาสิ่งจำเป็นต่าง ๆให้องค์การธุรกิจ ได้แก่

(1) จัดหาวัตถุดิบให้องค์การธุรกิจใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ วัตถุดิบเป็ส่งสำคัญในการผลิต ถ้าองค์การธุรกิจขาดวัตถุดิบหรือได้รับวัตถุดิบล่าช้า หรือได้รับวัตถุดิบคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตทำให้การผลิตหยุดชะงักหรือผลิตแล้วสินค้าที่ออกมาไม่ได้มาตรฐาน องค์การธุรกิจจึงต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อให้การดำเนินธุรกิจบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

(2) จัดหาแหล่งเงินทุน ในการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ แหล่งที่องค์การธุกิจสามารถจัดหาเงินทุนได้แก่ ผู้ถือหุ้น โดยการนำหุ้นมาจำหน่าย หรือกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงินและผู้ร่วมลงทุน ในการจัดหาเงินทุนองค์การธุรกิจจะต้องคำนึงถึงต้นทุนของเงินทุน เช่น การนำหุ้นออกจำหน่าย

ต้นทุนของเงินทุน คือเงินปันผล การกู้ยืมต้นทุนของเงินทุนคือดอกเบี้ย ซึ่งองค์การธุรกิจจะต้องนำเงินที่จัดหาได้จากแหล่งเงินทุนไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มกับต้นทุนของเงินที่ลงทุนไป

(3) จัดหาทรัพยากรบุคคล แหล่งที่องค์การธุรกิจสามารถจัดหาทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บริษัทนายหน้าจัดหางาน สถาบันการศึกษา ตลาดแรงงานทั้งของเอกชนและรัฐบาลซึ่งทรัพยากรบุคคลที่องค์การธุรกิจจัดสรรหา จะต้องมีความรู้ ความชำนาญ ตรงกับความต้องการขององค์การธุรกิจ คือการจัดคนให้ตรงกับลักษณะของงาน

(4) จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การธุรกิจสามารถจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์การธุรกิจจากนักวิจัยธุรกิจสถิติต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์

4) ผู้ออกกฎระเบียบ (Requlators) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหรือกลุ่มบุคคลผู้มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะที่มีอิทธิพลในการออกกฎระเบียบเพื่อให้องค์การธุรกิจดำเนินการภายใต้กฎระเบียบที่วางไว้ เช่น ในต่างประเทศบางประเทศมีอุตสาหกรรมการผลิตเอกันหนาวซึ่งทำจากขนสัตว์ ต่อมามีกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เกิดขึ้น และร่วมกันต่อต้านการทำขนสัตว์มาทำเสื้อกันหนาว ซึ่งการกระทำดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือในประเทศไทยได้มีกลุ่มบุคคลและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมได้ก่อตั้งเป็นคณะกรรมการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว

(Board of Environment Promotion of Tourism Activities (BEPTA) ขึ้นและได้จัดทำโครงการใบไม้เขียว (Green Leaf Program) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งBEPTA จะมอบบัตรเกียรติคุณใบไม้เขียวให้แก่ธุรกิจที่ผ่านการตรวจสอบ

5) ตลาดแรงงาน เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านการงานขององค์การธุรกิจ เนื่องด้วยการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ มีความต้องการพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญตรงกับลักษณะงาน โดยการสรรหา คัดเลือก เมื่อบรรจุเข้าเป็นพนักงานขององค์การธุรกิจแล้ว องค์การธุรกิจจะต้องจัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเพื่อให้พนักงานมีความสุข ความสะดวกสบายในการทำงานมีการจัดอบรมสัมมนาเพื่อให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานและอยู่กับองค์การให้นานที่สุด



















3. สาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ

สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ เนื่องด้วยสาเหตุ 2 ประการคือ

1. สิ่งแวดล้อมมีความไม่แน่นอน เพราะสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางธุรกิจก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมแบบง่ายไม่ซับซ้อนแต่ธุรกิจบางประเภทก็ประสบกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างซับซ้อน เช่นธุรกิจคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ

2. ผู้บริหารองค์การและสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยที่ผู้บริหารองค์การเป็นผู้นำสิ่งแวดล้มมาเป็นทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ วัตถุดิบ เงินทุน ทรัพยากรมนุษย์ และอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตการที่องค์การธุรกิจจะดำรงอยู่ได้ ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม



4. วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ

วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ มี 3 วิธี ดังนี้

1. การใช้อิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารองค์การใช้วิธีปรับปรุงการทำงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ได้แก่

1.1 การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ในปัจจุบันองค์การธุรกิจใช้การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีอิทธิพลต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรา ดังนั้น องค์การธุรกิจ

ใดที่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภัณฑ์ที่ประหยัดการใช้น้ำ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

1.2 กิจกรรมด้านการเมืองและกฎหมาย ผู้บริหารองค์การธุรกิจควรมีการรวมตัวกัน โดยอาจจัดตั้งเป็นชมรมหรือสมาคม เพื่อมีอำนาจต่อรองในการเจรจากับหน่วยงานของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพราะในบางครั้งอาจมี

กฎระเบียบ ข้อบังคับที่มีผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินการขององค์การธุรกิจมากเกินไป สมาคมที่รวมตัวกันโดยผู้บริหารขององค์การธุรกิจ สามารถส่งตัวแทนไปเจรจาต่อรองได้

1.3 การร่วมค้า คือ การรวมตัวกันขององค์การะรกิจที่ดำเนินกิจการประเภทเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการใช้ความสามารถหรือเทคโนโลยีร่วมกัน ให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเป็นการลดความกดดันจากคู่แข่งขัน

2. การปรับองค์การตามสิ่งแวดล้อม คือการที่ผู้บริหารองค์การดำเนินการปรับกิจกรรม และสภาพขององค์การ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ

2.1 การพยากรณ์ โดยผู้บริหารองค์การพยายามลดความไม่แน่นอนของสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพื่อให้ความเสี่ยงขององค์การธุรกิจลดลงซึ่งการพยากรณ์ผู้บริหารองค์การจะต้องทำการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ข้อมูลจาก

หลายด้าน ทั้งข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์การและข้อมูลปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งของคู่แข่งขัน และของภาครัฐบาลเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ

2.2 การปรับโครงสร้างขององค์การธุรกิจ โครงสร้างขององค์การ คือการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งงานต่าง ๆ ในองค์การหรือสายบังคับบัญชาในองค์การ เมื่อสิ่งแวดล้อมขององค์การเปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างขององค์การก็ต้องมีการปรับ

ตัวเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการความลูกค้าหรือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์

2.3 การจัดเตรียมสำรองทรัพยากร ผู้บริหารงานองค์การธุรกิจจะต้องมีการจัดเตรียมสำรองทรัพยากรต่ง ๆ เอลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนทรัพยากรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการขาดแคลนทรัพยากรจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักการผลิต

หรือการดำเนินงานของธุรกิจได้ ทรัพยากรที่องค์การควรมีการจัดหาสำรองไว้ ได้แก่

เงินสด วัตถุดิบ สินค้าคงเหลือ แต่ในการจัดสำรองทรัพยากรนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือต้นทุนของเงินทุนด้วย เช่น การจัดสำรองวัตถุดิบ ถ้าสำรองไว้มากเกินไปความเสี่ยงในการขาดแคลนวัตถุดิบจะต่ำ แต่เงินที่ต้องใช้ในการจัดหาวัตถุดิบมาสำรอง

ไว้เป็นจำนวนมาก จะเกิดภาวะเงินทุนจนถ้าเงินทุนนั้นจัดหามาโดยการกู้ยืมต้นทุนของเงินทุนที่ต้องเสียคือดอกเบี้ยก็จะสูงตามไปด้วย จึงควรมีการวางแผนจัดหาสำรองทรัพยากรไว้ในจำนวนที่เหมาะสม

3. การเปลี่ยนแปลงขอบเขตขององค์การ คือ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากจนกระทั่งองค์การธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้บริหารองค์การธุรกิจอาจปรับเปลี่ยนโดยการเปลี่ยนการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสินค้าหรือบริการ

ใหม่ไม่เหมือนเดิมหรือย้ายองค์การธุรกิจไปจัดตั้งในสถานที่หรือประเทศอื่นเป็นการเปลี่ยนขอบเขตหรืออาณาจักรขององค์การธุรกิจการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบันนอกจากต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอกของธุรกิจดังที่ กล่าวมาแล้วนั้นธุรกิจยังต้องคำนึง "สิ่งแวดล้อม" ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้นคือ ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม (Environment Pollution) ได้แก่ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เพื่อให้การดำเนินการของธุรกิจก่อให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด



5. การจัดมาตรฐานของสิ่งแวดล้อม

อนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 คือ มาตรฐานสากลที่องค์การธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อจัดระบบการจัดการขององค์การธุรกิจให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดโดยการดำเนินการภายใต้มาตรฐาน ISO 14000 โครงสร้างมาตรฐานของ

สิ่งแวดล้อมที่กำหนด 3 มาตรฐาน คือ

1. มาตรฐานระบบการบริหาร ประกอบด้วยอนุกรมมาตรฐาน 2 ส่วน คือ

1.1 ISO 14001 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

1.2 ISO 14004 เป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับหลักการและเทคนิค

มาตรฐานทั้ง 2 ประเภท เป็นมาตรฐานที่ควมคุมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การธุรกิจ ในด้านการวางแผน การดำเนินการและการปรับปรุงแก้ไข

2. มาตรฐานการตรวจสอบและการวัดผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

2.1 มาตรฐานการตรวจสอบ มีอนุกรมมาตรฐานดังนี้

1) ISO 14010 เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการตรวจสอบ

2) ISO 14011 เป็นการกำหนดวิธีการในการตรวจสอบและการวัดผล

3) ISO 14012 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ทำการตรวจประเมินผล

2.2 มาตรฐานการวัดผลในการปฏิบัติการควบคุมมลพิษมีอนุกรมมาตรฐานคือ ISO 14031 เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการวัดผล การปฏิบัติและการควบคุมมลพิษ

3. มาตรฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

3.1 มาตรฐานฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม ฉลากมาตรฐานที่ประเทศไทยใช้และเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ฉลากเบอร์ 5 สำหรับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ ฉลากเขียวสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษ มีอนุกรมมาตรฐาน ดังนี้

1) ISO 14020 เป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการติดฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

2) ISO 14021 เป็นนิยามฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมที่องค์การธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการผลิตรับรองตนเอง

3) ISO 14022 เป็นมาตรฐานสำหรรับฉลากหรือสัญลักษณ์ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่องค์การธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการผลิตใช้รับรองตนเอง



4) ISO 14023 เป็นข้อกำหนดที่ผู้ผลิตต้องติดไว้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและการรับรองฉลากผลิตภัณฑ์ที่หน่วยงานเป็นผู้รับรอง

5) ISO 14024 เป็นหลักการ ข้อกำหนด วิธีปฏิบัติและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานเป็นผู้รับรอง

3.2 มาตรฐานการประเมินวงจรวิธีของผลิตภัณฑ์ เป็นมาตรฐานการประเมินผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบในการผลิตจนกระทั่งผลิตภัณฑ์นั้นเลิกใช้ ว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร มีอนุกรมมาตรฐาน ดังนี้

1) ISO 1404 เป็นหลักการพื้นฐานและกรอบกำหนดเพื่อใช้ในการดำเนินการ

2) ISO 14041 เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์

3) ISO 14042 เป็นการประเมินผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

4) ISO 14043 เป็นการแปลผลที่ได้จากการประเมินผลข้อมูล สำหรับมาตรฐานที่ใช้ในการให้ประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์การธุรกิจ คือ ISO 14001



6. หลักการในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วยหลักการ 5 ประการ ได้แก่

1. กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดนโยบายดังกล่าว เพื่อเป็นทิศทางในการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งนโยบายนี้กำหนดโดยผู้บริหารองค์การการจัดทำนโยบายต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงความมุ่งมั่น

ต่อการป้องกันมลพิษการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง การจัดการกรอบสำหรรับการดำเนินงาน นโยบายนี้จะต้องให้พนักงานทุกคนขององค์การทราบ และมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน และนำไปปฏิบัติจริง

2. การวางแผนงาน เพื่อให้นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสัมฤทธิ์ผล ประกอบด้วยการกำหนดลักษณะปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการกำหนดกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำองค์การธุรกิจเข้าสู่อนุกรมมาตรฐาน

ISO 14000 กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดวัตถุประสงค์ ด้านสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน มีเป้าหมายที่สามารถประเมินผลได้ กำหนดวิธีการ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงการจัดสิ่งแวดล้อม

3. การนำแผนงานไปปฏิบัติ โดยกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคคลที่จะมาดำเนินการโดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งให้พนักงานทุกคนทราบ จัดการฝึกอบรมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีจิตสำนึกถึงความสำคัญของ

สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ จัดระบบการควบคุมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องวางแผนกรณีฉุกเฉินจากการปฏิบัติการ

4. การตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ในการนำแผนงานไปปฏิบัติ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องคอยติดตามการปฏิบัติงานที่เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวัดผลการปฏิบัติในส่วนนั้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

5. การทบทวนการจัดการ ผู้บริหารองค์การจะต้องทบทวนเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพดีที่สุด









7. ประโยชน์ที่องค์การธุรกิจได้รับจากการจัดการสิ่งแวดล้อม

การที่องค์การธุรกิจได้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมตามอนุกรมมาตรฐานISO 14000 นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าองค์การธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่องค์การธุรกิจไปดำเนินการอยู่แล้ว ประโยชน์ที่องค์การธุรกิจได้รับนอกเหนือจาก

นี้อีกคือ

1. ประโยชน์ทางการค้า องค์การธุรกิจที่ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแลด้อม (ISO 14001) จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกไปสู่ตลาดโลกได้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับ

ของประชาคมโลกทำให้เกิดตลาดใหม่ได้

2. สร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การธุรกิจ การที่นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ทำให้ลูกค้า ประชาชน หน่วยงานรัฐบาล ให้การยอมรับองค์การธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

3. ประหยัดต้นทุนในระยะยาว ในการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ในระยะแรก อาจต้องมีการลงทุนเพื่อให้ระบบดำเนินไปอย่างมีขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการของเสียเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ แต่ในระยะยาวองค์การธุรกิจจะเกิดการประหยัดในส่วนดังกล่าว คือ ไม่ต้องนำของเสียที่ไม่ได้ใช้ไปกำจัด และประหยัดการซื้อวัตถุดิบ เป็นต้น



8. ผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตบางประเภท ก่อให้เกิดก๊าซบางชนิดที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)ก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะหรือกระจกหรือก๊าซเรือนกระจกมีดังนี้

1. ก๊าซมีเทน (Metane) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากการเน่าเปื่อยของพืช หรือจากมูลสัตว์

2. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในการใช้ยานพาหนะ หรือการใช้เครื่องจักรในกิจการประเภทอุตสาหกรรม

3. ก๊าซโอโซน (Ozone) เป็นก๊าซที่อยู่ในบรรยากาศของโลก โอโซนในบรรยากาศชั้นล่างจะดูดความร้อนจากพื้นผิวโลก ทำให้เกิดความร้อน

4. สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) เป็นก๊าซที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสารที่ใช้ในอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความเย็น ไม่มีพิษ ไม่ติดไฟ แต่จะเป็นสารซึ่งดูดความร้อนได้ดี ทำให้ดูดความร้อนจากพื้นโลกเก็บสะสมไว้

5. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาป่าก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวข้างต้นจะดูดซับความร้อน และลอยขึ้นไปในบรรยากาศปกคลุมโลกทำให้บรรยากาศปกคลุมโลกทำให้บรรยากาศ

ของโลกร้อนขึ้น ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ เอลนิโญ (EI Nino) คือเกิดอากาศแปรปรวนสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง น้ำแข็งในขั้วโลกละลายทำให้น้ำท่วม อุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นทำให้สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก นอกจากเกิดปรากฎการณ์ เอลนีโนแล้ว ก๊าซเรือน

กระจกยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์ ลานินญา (La Nina) ในบริเวณตะวันออกของเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดอากาศเย็นกว่าปกติ และเกิดพายุฝนทำให้เกิดน้ำท่วมปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว เป็นปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้จัดประชุม และได้จัดให้มีการร่วมกันเป็นสมาชิกในการทำอนุสัญญา เพื่อลดปรากฎการณ์เรือนกระจก โดยกลุ่มประเทศ

สมาชิกได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาต่าง ๆ ดังนี้

- ปี 2528 ได้มีการจัดทำอนุสัญญาที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียเพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันในการค้นคว้า วิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของชั้นโอโซน เรียกว่า อนุสัญญาเวียนนาเพื่อการปกป้องบรรยากาศชั้นโอโซน

- ปี 2530 ได้มีการประชุม เพื่อจำกัดปริมาณของการผลิตสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเพื่อใช้ในกิจการอุตสาหกรรม ณ ประเทศแคนนาดา

- ปี 2535 ได้มีการประชุมพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ และการตัดไม้ทำลายป่าที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น โดยมีการทำอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อให้ประเทศที่ลงนามสัตยาบันในอนุสัญญา ต้องจัดทำบัญชีแสดงการผลิต หรือการลดปริมาณ

ก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ระดับของก๊าซอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลก

- ปี 2540 ได้มีการประชุมพิจารณาเพื่อให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 5.2 % ภายใน ปี 2551 - 2555 ซึ่งได้มีการลงนามโดยประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศผู้นำ โดยมีการดำเนินการก่อน ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

เพื่อเป็นแนวทางและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินงานให้แก่สมาชิกประเทศอื่น ๆ ต่อไปนอกจากองค์การธุรกิจจะต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อส่งแวดล้อมดังกล่าวแล้วองค์การธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเนื่องด้วยเพราะองค์การธุรกิจ

เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม และมีรายได้จากสมาชิกในสังคม



9. ทัศนะหรือแบบที่เกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์การธุรกิจเพื่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

ทัศนะหรือแบบที่เกี่ยวกับการตัดสินใจขององค์การธุรกิจเพื่อการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม มี 2 แบบที่ตรงกันข้าม ดังนี้

1. ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบเศรษฐกิจ ผู้บริหารองค์การที่มีทัศนะแบบนี้จะมีความสนใจเชิงเศรษฐกิจ คือ มุ่งหวังให้ธุรกิจ ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่เป็นที่ ต้องการแก่ลูกค้าโดยหวังผลกำไร และรับผิดชอบต่อสังคมโดยการเสียภาษี สร้างงาน

ให้เกิดการจ้างงานซึ่งผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการจะได้รับผลประโชน์สูงสุด โดยการตัดสินใจอาศัยเกณฑ์ของตลาด ข้อมูลภายในองค์การ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบเศรษฐกิจสังคม ผู้บริหารองค์การที่มีทัศนะแบบนี้จะให้ความสำคัญต่อผลกระทบที่มีต่อสังคมมิได้มุ่งหวังแต่เพียงกำไรเพียงอย่างเดียวโดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิต ให้ความสนใจต่อสังคม และการอนุรักษ์ธรรมชาติ

องค์การธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการรับผิดชอบต่อสังคมได้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงขององค์การจะต้องให้การสนับสนุนในหลักการ หลังจากนั้นจึงมีการวางแผนโครงการเพื่อการปฏิบัติ และมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการตามวิธีการที่กำหนดไว้รวมทั้งมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อสังคมในด้านใด เช่น ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตความปลอดภัย ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์



10. สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ

สังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สังคมภายในธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1.1 เจ้าขององค์การธุรกิจ คือ ผู้ลงทุนในองค์การธุรกิจ คือ ผู้ลงทุนในองค์การธุรกิจ ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียวผู้ลงทุนคือเจ้าของกิจการ ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วน ผู้ลงทุนคือผู้เป็นหุ้นส่วน ถ้าเป็นองค์การธุรกิจประเภทบริษัทจำกัดผู้ลงทุนคือผู้ถือหุ้น การดำเนินธุรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลดังกล่าว โดยให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมไม่ว่าจะผลกำไร เงินปันผลเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจในการร่วมลงทุน

1.2 ผู้บริหารองค์การ ในกรณีองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าขององค์การธุรกิจมีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกมาบริหารองค์การ เจ้าขององค์การธุรกิจต้องรับผิดชอบบุคคลเหล่านี้ โดยให้ผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ให้ความมั่นคงในการ

ประกอบอาชีพ มีโอกาสก้าวหน้า

1.3 พนักงานองค์การธุรกิจจำเป็ต้องจ้างบุคคมาทำงานในการดำเนินงานขององค์การ ผู้บริหารองค์การธุรกิจจะต้องให้ความรับผิดชอบต่อพนักงาน เรื่องเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการในการทำงาน ได้แก่ ความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การทำงานใน

โรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย อันอาจเกิดขึ้นได้การปฏิบัติงานเพื่อให้ พนักงานมีขวัญกำลังใจในการทำงาน มีการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมก่อให้เกิดความสะดวกสบายและมีความสุขในการทำงาน มีการจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการประกัน

ชีวิต จัดสวัสดิการด้านสันทนาการ ได้แก่การจัดงานรื่นเริงในวันเทศกาลต่าง ๆ เพื่อให้ พนักงานได้มีกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคี ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มพนักงานขององค์การ ให้บริการอาหารกลางวัน จัดให้บริการรถรับ-ส่งพนักงาน

2. สังคมภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ผู้บริโภค คือ กลุ่มบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการขององค์การธุรกิจ บุคคลเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้องค์การธุรกิจประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวก็ได้องค์การธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคในเรื่องคุณภาพของสินค้า โดยเริ่มจากการสรรหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นวัตถุดิบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่นอุตสาหกรรมผลิตอาหารวัตถุดิบที่ใช้จะต้องสะอาด ไม่เจือสารที่มีพิษ ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับผลร้ายจากการบริโภค นอกจากเรื่องของวัตถุดิบการบรรจุผลิตภัณฑ์ต้องให้ปริมาณของผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุถูกต้องครบถ้วนตามที่ระบุไว้บนฉลาก วัสดุที่ใช้ในการบรรจุต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของสังคม เช่น ไม่ใช้วัสดุประเภทโฟม หรือพลาสติกที่ยากต่อการทำลาย ไม่ใช้ วัสดุที่บรรจุผลิตภัณฑ์แล้วทำให้เกิดเสื่อมคุณภาพ ในการโฆษณาองค์การธุรกิจจะต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริงแก่ผู้บริโภค ไม่โฆษณาเกินความจริง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ควรคำนึงถึงความยุติธรรมต่อผู้บริโภค องค์การธุรกิจไม่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ในการตั้งราคาให้สูงทำให้ผู้บริโภคเกิดการเสียเปรียบ

2.2 หน่วยงานของรัฐ องค์การธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐในด้านที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับเพื่อให้องค์การธุรกิจปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น องค์การธุรกิจจึงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การไม่หลีกเลี่ยงภาษีให้ความร่วมมือกับรัฐในด้านต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

2.3 ทรัพยากรธรรมชาติ องค์การธุรกิจจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติไม่ปฏิบัติการอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่เผาป่าเพื่อต้องการพื้นที่ว่างในการประกอบธุรกิจไม่ทำการประมงจับสัตว์น้ำในป่าชายเลนเพราะจะทำให้ป่าชายเลนเสียหาย

ดินชายตลิ่งพัง

2.4 ความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของสังคม การประกอบองค์การธุรกิจโดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรม มักจะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ มลพิษน้ำเสีย มลพิษในอากาศ มลพิษเสียงดัง องค์การธุรกิจจะต้องหาวิธีการในการป้องกันไม่ให้การดำเนินธุรกิจกระทบต่อสภาพแวดล้อม เพราะในปัจจุบันประชาชนผู้บริโภคและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างมาก องค์การธุรกิจที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคมได้จึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เป็นสำคัญ โดยการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาทำให้เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกเศรษฐกิจ คือ งานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการใช้บริโภคสินค้าต่าง ๆ ของผู้บริโภคซึ่งส่งผลต่อความเจริญเติบโตของสังคม ดังนั้นหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก จึงเป็นหน้าที่ขององค์การธุรกิจ ถ้าองค์การธุรกิจมีความรับผิดชอบและประสบความสำเร็จในการประกอบการ ก็จะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมหรือประเทศชาติ ในทางตรงกันข้ามถ้าองค์การธุรกิจประสบความล้มเหลวในการประกอบการก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำไปด้วย ดังนั้น เศรษฐกิจของประเทศจึงต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์การธุรกิจ







11. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจก้าวหน้า ประกอบด้วย

1. เงินทุน เป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้ธุรกิจสามารถเริ่มดำเนินงานได้ ถ้ามี ปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอ การดำเนินธุรกิจก็จะเกิดการหยุดชะงักซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นประเทศที่มีเงินทุนมากอย่างเพียงพอ ทำให้เศรษฐกิจ

ของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว

2. วัตถุดิบ เป็นปัจจัยที่นำมาใช้ในการแปรสภาพเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ ประเทศที่มีวัตถุดิบเองในประเทศจะได้เปรียบกว่าประเทศที่ต้องสั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและอาจเกิดปัญหาในด้านการขนส่งหากประเทศที่มีวัตถุดิบประสบปัญหาบางประการ เช่น ประเทศแถบตะวันออกกลางมีวัตถุดิบคือน้ำมัน การประกอบองค์การธุรกิจที่มีความต้องการน้ำมันเพื่อใช้ในการผลิตจะประสบปัญหาในช่วงเกิดสงครามในประเทศแถบตะวันออกกลางหรือใน

ช่วงที่ประเทศผู้ค้าน้ำมันร่วมมือกันขึ้นราคาน้ำมัน

3. ทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ ดังนั้นองค์การธุรกิจจะต้องทำการคัดเลือกคนที่มีความสามารถตรงกับความต้องการของสายงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตผลิตภัณฑ์

4. การจัดหา คือ การนำปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นทั้ง 3 ประการมาดำเนินการเพื่อให้มีคุณภาพสูงสุด โดยวางแผนการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ คือ การประกอบการธุรกิจนั่นเองจากปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าดังกล่าว ข้างต้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังค่อนข้างขาดแคลนปัจจัยสำคัญหลายประการจึงเป็นสาเหตุทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร



12. ปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจที่ประเทศไทยยังขาดแคลน

ปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางธุรกิจที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ได้แก่

1. เงินทุน เนื่องด้วยในภาวะเศรษฐกิจถอถอยเช่นในปัจจุบัน (ปี 2542) บุคคลที่มีเงินหรือทรัพย์สินแต่ไม่นำทรัพย์สินมาลงทุนเพราะความเสี่ยงในการลงทุนขณะนี้ สูงมากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ เพราะธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้เงินที่

รับฝากไว้มีจำนวนมากเกินความต้องการของธนาคาร ธนาคารจึงต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงมา เงินทุนจากต่างประเทศ ก็ไม่นิยมมาลงทุนในประเทศไทย เพราะนโยบายของรัฐไม่ค่อยแน่นอน เช่น การลงทุนบางประเภทได้รับอนุมัติตามขั้นตอนของรัฐถูกต้องแล้วแต่เมื่อมีกลุ่มบุคคลรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลก็จะให้หยุดการดำเนินการ เพื่อทำการหาข้อมูลมาพิจารณา ทำให้เกิดความเสียหายในการดำเนินธุรกิจ

2. พลังงาน ในการดำเนินการธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม หรือากรขนส่งจำเป็นต้องใช้พลังงานในการผลิต พลังงานที่สำคัญที่สุดคือน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นพลังงานที่ประเทศไทยยังขาดแคลน ในแต่ละปีประเทศไทยเสียเงินเป็นจำนวนมาก

เพื่อซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศผู้ค้าน้ำมันรวมตัวกันขึ้นค่าน้ำมัน ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในทุกด้าน ไม่เฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมหรือการขนส่งเท่านั้นค่าครองชีพของประชาชนก็สูงขึ้นด้วย

เพราะเกิดภาวะการปรับขึ้นราคาของสินค้า

3. ผู้ประกอบการขาดความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะการประกอบการองค์การธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจ้างบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเรื่องมาทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจ้างชาวต่างประเทศ

4. การส่งออกมีมูลค่าต่ำ เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์ส่งออกของประเทศไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตผลทางการเกษตร แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสูงกว่า

มูลค่าการส่งออก


แบบฝึกหัด ยังไม่ได้ อัฟโหลดนะลืมครับคืนนี้จะ อัฟโหลดให้ ขอบคุณที่โทรบอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น