หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ตอนที่4

ระบบการแลกเปลี่ยน


ความหมายของการแลกเปลี่ยน

การแลกเปลี่ยน (Exchange) คือ การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินค้าสิ่งของและบริการ โดยอาจจะนำมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือวิธีการใด ๆ ก็ได้



ความสำคัญของระบบการแลกเปลี่ยน

เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีความชำนาญเฉพาะอย่าง ที่ไม่เหมือนกัน และทรัพยากรในแต่ละถิ่นฐานต่างกัน เช่น บางคนมีความชำนาญในด้านการเพราะปลูกและถิ่นที่อยู่อาศัยอุดมสมบูรณ์ทำให้สามารถผลิตพืชผลได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่บางคนมีความชำนาญในด้านการจับสัตว์น้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้ทะเล ทำให้สามารถจับสัตว์น้ำได้เป็นจำนวนมาก แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด คนที่ผลิตพืชผลได้ก็มีความต้องการสิ่งอื่นนอกจากพืชที่ตัวเองผลิตได้ ส่วนคนที่จับสัตว์น้ำได้ก็มีความต้องการสิ่งอื่นนอกจากสัตว์น้ำที่ตนเองจับได้ จึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้นเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการสนองต่อความต้องการของมนุษย์มากที่สุด



วิวัฒนาการของระบบการแลกเปลี่ยน

วิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยนแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ

3.1 การแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ

ในสมัยโบราณการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคแรกๆ อาศัยการล่าสัตว์เก็บผลไม้และอาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ละคนแต่ละครอบครัวทำทุกอย่างด้วยตนเองต่อมาสังคมมนุษย์ขยายใหญ่ขึ้นมนุษย์เริ่มรู้จักทำการเพาะปลูก จับสัตว์มาเลี้ยง และสร้างที่อยู่อาศัย จึงเริ่มมีการแบ่งหน้าที่ทำตามความถนัดของแต่ละคน และนำของที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวผลิตได้มาแลกกันเพื่อสนองความต้องการเช่น นายดำปลูกข้าวแต่มีความต้องการเนื้อไก่ นายแดงเลี้ยงไก่ แต่มีความต้องการข้าว ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนายดำกับนายแดงที่มีความต้องการตรงกัน แต่ระบบการแลกเปลี่ยนของแลกของ ในการปฎิบัติมี ความ

ยุ่งยากเกิดขึ้นหลายประการซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้

3.1.1 ความต้องการของแต่ละคนไม่ตรงกัน ในการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของนั้นความต้องการของทั้งสองฝ่ายจะต้องตรงกัน จึงจะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้เช่นนายขาวปลูกส้ม มีความต้องการเครื่องนุ่งห่ม นายเขียวทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่มมีความต้องการข้าว ดังนั้น นายขาวต้องการเครื่องนุ่งห่มจากนายเขียว แต่นายเขียวไม่มีความต้องการส้มของนายขาว การแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้นไม่ได้จนกว่าทั้งนายขาวและนายเขียวจะพบคนที่มีความต้องการและมีสิ่งของตรงตามที่ต้องการจึงแลกเปลี่ยนกันได้

3.1.2 เสียเวลาและมไม่สะดวกในการขนส่ง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ จำเป็นต้องขนของที่ตนเองมีอยู่เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องเดินทางไกล จนกว่าจะพบผู้ที่ต้องการตรงกัน ทำให้เสียเวลาในการขนส่งและถ้าของที่จะนำไปแลกเปลี่ยนนั้นเป็นของใหญ่ มีน้ำหนักมากจะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการขนส่งอีก

ด้วย

3.1.3 ของบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ของแต่ละอย่างมีอายุไม่เท่ากัน ของบางอย่างอายุยาวสามารถเก็บได้นาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม เสื้อ เครื่องมือเครื่องใช้แต่ของบางอย่างอายุสั้นไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ จึงไม่เหมาะสมสำหรับเก็บไว้เพื่อแลกเปลี่ยนในอนาคต เพราะของจะแปลสภาพ ทำให้มูลค่าของสิ่งของนั้นหมดไป



3.1.4 ของบางอย่างไม่สามารถแบ่งย่อยได้ การแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของไม่สะดวกในการแลกเปลี่ยนที่ไม่พอดีกันในปริมาณ เช่น นายแดงปลูกข้าวมีความต้องการเนื้อวัว 1 ขา นายขาวเลี้ยงวัวมีความต้องการข้าว 20 ถัง แลกกับวัว 1 ตัว แต่นายแดงต้องการวัวเพียง 1 ขา จึงต้องการแลกกับข้าว 5 ถัง ซึ่งนายขาวไม่สามารถแลกเปลี่ยนให้ได้ เพราะถ้าให้วัวนายแดง 1 ขา วัวส่วนที่เหลือจะเสียไป นายขาวจึงต้องหาคนที่มีความต้องการวัว และมีข้าวอีก 15 ถังมาแลกเปลี่ยน ดังนั้น การแลกเปลี่ยนระหว่างนายแดงและนายขาวจึงไม่เกิดขึ้น

3.2 การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง

เนื่องจากการแลกเปลี่ยน โดยใช้ของแลกของประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นมนุษย์จึงหาวิธีการแลกเปลี่ยนที่สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้ โดยการกำหนดสิ่งของบางอย่างขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยเรียกสิ่งนั้นว่า "เงิน"

เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมนั้นยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในขณะใดขณะหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งในแต่ละสังคมอาจจะใช้สิ่งใดแทนเป็นเงินก็ได้ โดยแต่ละสังคมอาจไม่เหมือนกัน สิ่งที่ใช้เป็นเงินตั้งแต่อดีต เช่น หนังสัตว์ เปลือกหอย อัญมณี ใบชา สัตว์ เกลือ เป็นต้น

เงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

3.2.1 เงินตราที่มีค่าสมบูรณ์ตามที่ตราไว้ คือ เงินตราที่มีค่าเท่ากับราคาของสิ่งที่นำมาทำเป็นเงินนั้น เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ค่าของเงิน 1 ดอลลาร์เทากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 23.22 เกรน และทองคำที่นำมาทำเหรียญดอลลาร์ ของสหรัฐอเมริกาในยุคแรกๆ ก็ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก 23.22 เกรน ดังนั้นไม่ว่าจะนำเงินตรา 1 ดอลลาร์ไปซื้อ

สินค้าหรือนำเหรียญมาหลอมนำออกขายก็จะได้มูลค่าเท่ากัน

3.2.2 เงินตราที่ใช้แทนเงินตราที่มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่กำหนดไว้ คือ เงินตราที่เป็นบัตรแทนเงิน โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ จะเป็นผู้ออกบัตร โดยผู้เป็นเจ้าของบัตรสามารถสลักหลังโอนบัตรให้แก่ผู้อื่นได้ จึงสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่เดิมผู้ซื้อจะต้องนำเงินตรามีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่ตราไว้ นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งไม่สะดวกในการขนย้ายและไม่ปลอดภัย

3.2.3 เงินเครดิต คือเงินตราชนิดใดก็ตามที่มีมูลค่าของเงินจะสูงกว่าค่าของวัสดุที่นำมาทำเงินนั้นโดยรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมกำหนดปริมารเงินเครดิตให้มีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งเงินประเภทนี้ไม่รวมถึงเงินตราที่ใช้แทนเงินตราที่มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่กำหนดไว้ เงินเครดิตแบ่งออกได้ ดังนี้

1. เหรียญกษาปณ์ คือ เงินตราที่ใช้โลหะในการผลิตโดยรัฐบาลเป็นผู้ออกกฎกำหนดราคาที่ตราไว้สูงกว่ามูลค่าของโลหะที่นำมาผลิตเหรียญ เช่น เหรียญ 5 บาท เมื่อนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจจะมีค่าเท่ากับ 5 บาท แต่เมื่อนำเหรียญมาหลอมนำออกขายจะได้ราคาต่ำกว่า 5 บาทปัจจุบัน

2. ธนบัตร คือ เงินตราที่ใช้กระดาษในการผลิต โดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศเป็นผู้ออกธนบัตร เพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ สามารถนำไปชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ปัจจุบันมีการนำวัสดุสังเคราะห์ประเภทพอลิเมอร์มาผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

3. เงินฝากเผื่อเรียก คือเงินฝากที่ประชาชนฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน สามารถใช้เช็คเป็นเครื่องมือในการถอนเงิน หรือโอนเงินเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่น ทำให้ผู้ฝากได้รับความสะดวก ความปลอดภัย และสามารถให้ผู้รับเงินตามเช็ค สลักชื่อไว้หลังเช็คเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินไว้ด้วย









หน้าที่ของเงิน สรุปได้ดังนี้

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เนื่องจากสังคมใหญ่ขึ้น มนุษย์มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดเมื่อผลิตสิ่งของได้ก็นำไปแลกกับเงิน และสามารถนำเงินที่ได้รับไปซื้อสิ่งของอื่นที่มีความต้องการแต่ผลิตเองไม่ได้ ทำให้การผลิตมีปริมาณมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์

2. เป็นมาตรฐานในการกำหนดมูลค่า การกำหนดมูลค่าของสินค้าหรือบริการเป็นหน่วยของเงินเรียกว่าราคา การใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจะทำให้สินค้นหรือบริการตีมูลค่าออกมาเป็นราคา เช่นข้าวเปล่า 1 จาน มีราคา 5 บาท ไข่ไก่ 1 ฟอง มีราคา 2.50 บาท หมู 1 ตัวราคา 5,000 บาท ทำให้การวัดค่าสิ่งต่างๆเป็นมาตรฐานเดียวกัน

3. เป็นมาตรฐานการจ่ายคืนในอนาคต การซื้อขายสินค้นหรือบริการในปัจจุบันมี 2 กรณี คือขายเป็นเงินสด คือ ชำระมูลค่า ณ วันที่ตกลงซื้อขาย และขายเป็นเชื่อ คือ ตกลงชำระมูลค่าในภายหน้าการที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้การชำระหนี้ในอนาคตมีความมั่งคงและแน่นอนในมูลค่า เช่นณ วันนี้ นายดำรงตกลงซื้อเสื้อ 1 ตัว ราคา 200 บาทโดยจะจ่ายชำระเงินให้นายสุชาติ อีก 1 เดือน นับจากวันนี้เมื่อครบกำหนด ระยะเวลา 1 เดือนนายดำรงก็จ่ายชำระเงินให้นายสุชาติ 200 บาทตามข้อตกลง

4. เป็นการสะสมมูลค่า เมื่อมนุษย์มีการติดต่อซื้อขายกัน จะได้เงินเนื่องจากการแลกเปลี่ยนหรือคนงานทำงานให้นายจ้างได้ผลตอบแทนเป็นเงิน มนุษย์จะมีการสะสมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในอนาคต คนที่มีการสะสมเงินไว้มากก็จะแสดงถึงความมั่นคงทางฐานะทางเศรษฐกิจ

3.3 การแลกเปลี่ยนโดยใช้เครดิต

เครดิต คือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ในระยะแรกๆ เครคิตเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ขายมีความเชื่อถือให้ผู้ซื้อนำสินค้าไปก่อน และจ่ายเงินในภายหลังต่อมาเครดิตก็มีการพัฒนาขึ้นโดยการซื้อขายเป็นเงินเชื่อ จนมีการใช้เอกสารเครดิตเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลักฐานประกอบด้วย เช่น บัตรเครดิต ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรหุ้นกู้ และมีการพัฒนาเครดิตจากการขายเชื่อเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว

3.3.1 ประเภทของบัตรเครดิต

1. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้เครดิต

1.1 เครดิตเพื่อการลงทุน ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือ ผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี และเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูงต้องการใช้เงินเป็นจำนวนมาก เช่นซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร

1.2 เครดิตเพื่อการพาณิชย์ ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือผู้ที่ต้องการซื้อเชื่อสินค้าหรือบริการ โดยกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ ภายในระยะเวลาสั้นๆเช่น จ่ายชำระหนี้ภายใน30 วัน 60 วัน เป็นต้น

1.3 .เครดิตเพื่อการบริโภค ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้คือผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อหรือการผ่อนชำระซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินเชื่อและกำหนดระยะเวลาในการชำระเงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย เช่น กำหนดให้ชำระเงินภายใน 30 วัน 45 วัน ถ้าชำระเร็วผู้ขายก็อาจจะมีการกำหนดให้ส่วนลด ปัจจุบันเครดิตเพื่อการบริโภคได้พัฒนาเป็นบัตรเครดิต โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินจะออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้นจะทำข้อตกลงกับธุรกิจผู้ขายสินค้นหรือบริการ ให้ลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตได้ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ โดยผู้ขายสินค้าหรือบริการจะส่งในเสร็จไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากสถาบันการเงินหรือธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต หลังจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้จ่ายเงินแทนลูกค้าไปแล้ว ก็จะเรียกเก็บเงินหรือหักยอดบัญชีของลูกค้า โดยปกติระยะเวลาการเรียกเก็บเงินจะเป็นวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน



2. แบ่งตามลักษณะของผู้ใช้เครดิต

2.1 รัฐบาลเป็นลูกหนี้ ในขณะที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐมีความต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบริหารประเทศ แต่รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายมากกกว่าภาษีที่จัดเก็บได้จากประชาชน รัฐบาลก็สามารถจัดหาเงินได้จากการกู้ยืมจากธนาคารกลาง กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อเป็นดอกเบี้ย

2.2 เอกชนเป็นลูกหนี้ เอกชนได้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงินซึ่งในขณะนั้นมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้เครดิตที่ได้รับจะเป็นเครดิตที่มีสถาบันการเงินออกให้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาที่มีหลักประกันที่มั่นคง หรือเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคาร

3. แบ่งตามระยะเวลาของการไถ่ถอน (ชำระคืน)

3.1 เครดิตชนิดเรียกเงินคืนได้ทันที่ต้องการ การให้เครดิตประเภทนี้ จะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน คือเจ้าหนี้ต้องแจ้งการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ทราบก่อนสามารถชำระหนี้ได้ทันทีที่ต้องการ

3.2 เครดิตระยะสั้น การใช้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 1 ปี คือลูกหนี้จะต้องนะเงินมาชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี

3.3 เครดิตระยะปานกลาง การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี คือลูกหนี้จะต้องนำเงินมาชำระให้เจ้าหนี้เมื่อระยะเวลากู้เกิน 1 ปี และต้องชำระให้หมดไม่เกิน 5 ปี

3.4 เครดิตระยะยาว การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน5 ปี ขึ้นไป สถาบันการเงินออกเครดิตประเภทนี้ให้กับลูกค้าที่มีหลักประกันเป็นที่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการเกิดหนี้สูญ เพราะเครดิตประเภทนี้ จำนวนที่กู้ยืมจะสูงหรือใช้ระยะเวลาในการไถ่ถอนนาน ผู้ให้เครดิตจึงมีความเสี่ยงสูงถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

3.3.2 เอกสารเครดิต คือเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐาน แสดงการเป็นหนี้ และระยะเวลาที่ต้องชำระหนี้ได้แก่

1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 982 บัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือ ตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ”ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายได้แก่ ผู้ออกตั๋ว มีสถาพเป็นลูกหนี้ และ ผู้รับเงิน มีสภาพเป็นเจ้าหนี้ ข้อความที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วย

1.1 คำว่า “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน

1.2 มีข้อความเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนโดยปราศจากเงื่อนไข

1.3 วันและสถานที่ออกตั๋ว

1.4 กำหนดระยะเวลา หรือวันที่กำหนดใช้เงิน

1.5 สถานที่ใช้เงิน

1.6 ชื่อยี่ห้อของผู้รับเงิน

1.7 ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

2. ตั๋วแลกเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 908บัญญัติไว้ว่า “ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายได้แก่

1. ผู้สั่งจ่าย มีสภาพเป็นเจ้าหนี้

2. ผู้จ่าย มีสภาพเป็นลูกหนี้

3. ผู้รับเงิน อาจจะเป็นเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่เจ้าหนี้ระบุให้เป็นผู้รับเงิน



ข้อความที่ปรากฏในตั๋วแลกเงินประกอบด้วย

- คำว่า “ ตั๋วแลกเงิน ”

- มีข้อความเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวนที่แน่นอนโดยปราศจากเงื่อนไข

- วันและสถานที่ออกตั๋ว

3. พันธบัตร คือ ตราสาร ที่ผู้ออกตราสารสัญญาว่า จะคืนเงินต้นจำนวนแน่นอนและมีกำหนดเวลาชำระคืนเงินต้น

ที่แน่นอนให้แก่ผู้ซื้อตราสาร โดยผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ซื้อตราสารในรูปของดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุไว้หน้าตั๋ว

4. หุ้นสามัญ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกมาจำหน่ายเมื่อต้องการเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยตราสารนี้จะแสดงถึงความเป็นเจ้าของกิจการผู้ซื้อตราสารนี้ เรียกว่า ผู้ถือหุ้นโดยได้รับผลตอบแทน จากบริษัทผู้ออกตราสารคือ เงินปันผล จำนวนของเงินปันผลที่ได้รับขึ้นอยู่กับผลกำไรของบริษัทในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกกิจการ โดยได้คืนทุนเป็นกลุ่มสุดท้าย

5. หุ้นบุริมสิทธิ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกจำหน่ายเมื่อต้องการเงินเพื่อเป็นทุนของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นสามัญผลตอบแทนที่ได้รับ คือ เงินปันผล จะได้รับในอัตราที่แน่นอนถ้าบริษัทมีผลกำไร และได้รับก่อนหุ้นสามัญ และการได้รับคืนทุนจะได้รับก่อนหุ้นสามัญเมือบริษัทเลิกกิจการ

6. หุ้นกู้ คือ ตราสารที่องค์การธุรกิจเอกชนออกจำหน่าย เมื่อมีความประสงค์จะกู้เงินจากบุคคลภายนอกโดยกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ และจำนวนเงินต้นที่จ่ายคืนแน่นอนโดยผู้ซื้อตราสารจะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน

3.3.3 สถาบันที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน

1. ธนาคาร คือ สถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดนทำหน้าที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน

เช่น บริการโอนเงิน บริการให้กู้ยืม บริการรับฝากเงิน บริการเกี่ยวกับการค้ำประกัน บริการเกี่ยวกับการออกเอกสารเครดิตต่างๆ เป็นต้น

2. สถาบันการเงินอื่นๆ คือ สถาบันการเงินที่นอกเหนือจากธนาคาร เช่น บริษัท เงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเหล่านี้ให้บริการส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์

3. ผู้ค้าคนกลาง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ได้แก่ ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง จำทำหน้าที่นำสินค้าจากผู้ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องนำสินค้าหรือบริการมาจำหน่ายเองโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคก็เกิดความสะดวกในการซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต และไม่ต้องซื้อสินค้าหรือบริการครั้งละเป็นจำนวนมาก

4. ตลาด คือ สถานที่ที่ทำการติดต่อซื้อขายกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะติดต่อกันโดยตรง หรือติดต่อผ่านระบบการสื่อสารก็ได้

















แบบทดสอบที่4

คำสั่ง แบบทดสอบมี 10 ข้อ ให้คลิกเลือกข้อที่ถูกต้อง

1.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการแลกเปลี่ยน

ก. เกิดการแลกเปลี่ยนทุกครั้งที่ทำการแลกเปลี่ยน ข. ประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป

ค. มีการติดต่อสื่อสารและการส่งมอบ ง. มีสิ่งที่มีมูลค่าที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน

2. ข้อใดคือความหมายของคำว่า เงิน

ก. เหรียญผลิตโดยทองคำ ข. ธนบัตรที่ผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

ค. เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตโดยกระทรวงการคลัง ง.สิ่งใดก็ได้ที่คนในสังคมยอมรับและนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

3. เงินเครดิต หมายถึงข้อใด

ก. ธนบัตร ข. เหรียญกษาปณ์ ค. เงินฝากเผื่อเรียก ง. ถูกทุกข้อ

4. บัตรเครดิต (Credit Card) จัดเป็นเครดิตประเภทใด

ก. เครดิตเพื่อการลงทุน ข. เครดิตเพื่อการบริโภค

ค. เครดิตเพื่อการพาณิชย์ ง. ไม่มีข้อใดถูก

5. ระบบการแลกเปลี่ยนที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือข้อใด

ก. Barter System ข. Money System

ค. Credit System ง. Money System และ Credit System

6. ข้อใดคือเอกสารเครดิตที่ออกจำหน่ายเพื่อต้องการเงินสำหรับเป็นทุนของบริษัท

ก. หุ้นกู้ ข. พันธบัตร ค. หุ้นสามัญ ง. ตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. เครดิตประเภทใดที่มักชำระหนี้ในระยะเวลา 30-60 วัน โดยไม่มีเงื่อนไขอื่น

ก. เครดิตเพื่อการลงทุน ข. เครดิตระยะปานกลาง ค. เครดิตเพื่อการบริโภค ง. เครดิตเพื่อการพาณิชย์

8. เงินฝากธนาคารประเภทใดที่มีการเบิกจ่ายโดยผ่านเช็ค

ก. เงินฝากกระแสรายวัน ข. เงินฝากสะสมทรัพย์

ค. เงินฝากประจำ ง. เงินฝากเอื่ออาทร

9. เอกสารเครดิตประเภทใดที่เจ้าหนี้เป็นผู้จัดทำขึ้น

ก. ตั๋วแลกเงิน ข. ตั๋วสัญญาใช้เงิน

ค. เช็ค ง. บัตรเครดิต

10. ข้อใดไม่ใช่เงินทุนสำรองในการออกธนบัตร

ก. ทองคำ ข. เงินดอลลาร์สหรัฐ

ค. เงินยูโร ง. ข้าวสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น